Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3854
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรสุดา บุญยไวโรจน์-
dc.contributor.authorพรทิพย์ เหลี่ยมดี, 2514--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-08-24T08:18:30Z-
dc.date.available2007-08-24T08:18:30Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741313608-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3854-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียน สิ่งแวดล้อมศึกษาศึกษาดีเด่น ประจำปี 2541 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในด้านการจัดหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในบริเวณโรงเรียน และการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 130 คน ครูจำนวน 780 คน นักเรียน จำนวน 15 คน และบุคคลในชุมชน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ด้านการจัดหลักสูตร พบว่า โรงเรียนมีการจัดทำหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา มีนโยบายในการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา ครูมีการจัดทำแผนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยให้นักเรียนปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นกิจกรรมการสอนแบบบูรณาการ มีการใช้สื่อในการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา สำหรับการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา ให้นักเรียนวาดภาพ ระบายสีและแต่งคำขวัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม 3) ด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร พบว่า ผู้บริหารมีนโยบายในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา ผู้บริหารและครูเป็นผู้กำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติ มีการสนับสนุนการจัดกิจกรรมเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่จัดให้แก่นักเรียน คือ กิจกรรมสำรวจสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน มีการวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรม 4) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในบริเวณโรงเรียน พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในบริเวณโรงเรียน นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ครูนำกิจกรรมการพัฒนาสิ่งแวดล้อมบูรณาการกับการสอนกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต 5) ด้านการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชน พบว่า ผู้บริหาร ครูและนักเรียน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the instructional organizing of environmental education in outstanding schools on environmental education under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission. Areas being assessed were curriculum management, teaching method, outreach curriculum, school physical environment, and environmental activity with community. The samples were 130 schools' administrators, 780 teachers, 15 students and 15 people in the community. Data were collected through questionnaire, interview and the observation, and analyzed by simple descriptive statistics using percentage. The results of the research were at follows: 1. Curriculum management : It was found in the curriculum management that there were the instructional organizing of environment educational curriculum, the policy in environment educational teaching arrangement, and the teaching plan in teaching environmental education were inplaced in most schools. 2. Teaching method : The teaching methods were participatory, child centred and integration. Teaching evaluations were conducted through students' drawing and writing slogan about environment. 3. Outreach curriculum : Most schools had a policy of outreach curriculum in which students had an opportunity to participate in activities outside the schools. These activities provided students with more knowledge on environment support. They focus on surveys of environments within the schools as well as in community. Evaluation of participation with activities outside schools was generally conducted after completion of the activities. 4. School's physical environment : Most administrators had objective to set up school's physical environment. Students were involved in setting up school's physical environment. Teachers integrated environmental development activities with the implementation of life experiences subject. 5. Environmental activities with community : Schools' administrators, teachers, and students implemented environmental activities with communityen
dc.format.extent8673795 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสิ่งแวดล้อมศึกษาen
dc.titleการศึกษาการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาดีเด่น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติen
dc.title.alternativeA study of instructional organizing of environmental education in outstanding schools on environmental education under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commissionen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineประถมศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVorasuda.B@chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Porntip.pdf8.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.