Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3877
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวัชระ เพชรคุปต์-
dc.contributor.authorอรนุช เฉลิมสกุลรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-08-27T03:10:45Z-
dc.date.available2007-08-27T03:10:45Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743338217-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3877-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกของแบรกเกตเซรามิกที่มีการออกแบบฐานที่มีลักษณะการยึดติดแบบพันธะเชิงกลแตกต่างกัน 3 ชนิด (แบรกเกตเซรามิกรุ่น Transcend series 6000, แบรกเกตเซรามิกรุ่น 20/40m และแบรกเกตเซรามิก รุ่น Crytaline) เทียบกับแบรกเกตเหล็กกล้าไร้สนิมที่มีลักษณะของฐานแบรกเกตเป็นร่องในแนวนอนร่วมกับร่องรูปตัววี (Dyna-lock) และเพื่อเปรียบเทียบบริเวณที่เกิดความล้มเหลวในการยึดติดภายหลังการหลุดของแบรกเกตเซรามิกที่มีการออกแบบฐานแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ชิ้น ทำการติดแบรกเกตบนฟันกรามน้อยที่ถอนจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันทั้งหมด 120 ซี่ ด้วยวัสดุยึด Concise ชิ้นงานตัวอย่างถูกฝังลงในท่อพีวีซีด้วยอะคริลิกเรซิน และเก็บในน้ำที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ทำการทดสอบค่ากำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกด้วยเครื่องทดสอบแรงทั่วไป (Instron universal testing machine) และทำการตรวจสอบบริเวณที่เกิดความล้มเหลวในการยึดติดภายหลังการหลุดของแบรกเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์สามมิติ กำลังขยาย 30 เท่า วัดค่าการเหลืออยู่ของวัสดุยึดบนตัวฟันด้วยค่าดัชนีการเหลืออยู่ของวัสดุยึด (ARI) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทิศทางเดียว (One way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ถ้าผลของการวิเคราะห์มีความแตกต่างกัน ทดสอบความแตกต่างของแต่ละคู่ด้วยการทดสอบเชฟเฟ่ (Scheffe's test) และการทดสอบความแตกต่างของบริเวณที่เกิดความล้มเหลวในการยึดติดใช้สถิติการทดสอบของครัสคาล-วอลลิส (Kruskal-Wallis's test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยกำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกของแบรกเกตเซรามิกที่มีลักษณะการออกแบบฐานแตกต่างกัน โดยแบรกเกตเซรามิกรุ่น 20/40m ให้ค่ากำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกมากที่สุด รองลงมาคือ แบรกเกตเซรามิกรุ่น Crytaline และแบรกเกตเซรามิกรุ่น Transcend series 6000 ตามลำดับ โดยแบรกเกตเซรามิกทุกกลุ่มให้ค่ากำลังแรงยึดแบบเฉือน/ปอกที่เพียงพอสำหรับการใช้งานในคลินิก บริเวณที่เกิดความล้มเหลวในการยึดติดพบที่บริเวณระหว่างแบรกเกตและวัสดุยึดคิดเป็นร้อยละสูงสุดในแบรกเกตทุกกลุ่ม โดยไม่พบการแตกหักของผิวเคลือบฟันภายหลังการหลุดของแบรกเกตen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to compare the in vitro mean shear/peel bond strength and bond failure location of three different mechanical bond ceramic brackets (Transcend series 6000, 20/40 m, Crytaline) and an Integral base stainless steel bracket (Dyna-lock). By purposive sampling, thirty brackets of each type were bonded to 120 freshly extracted human premolar teeth with concise bonding adhesive. The samples were mounted with acrylic resin in PVC ring and incubated at 37 ํC for 24 hours. Shear/peel bond strength was tested by an Instron universal testing machine. After testing, the teeth and brackets were examined under 30x magnification. Any adhesive remaining after bracket removal was assessed with the Adhesive Remnant Index (ARI). An one way ANOVA and Scheffe's test were used to evaluate the mean shear/peel bond strength. The sites of bond failure were evaluated by Kruskal-Wallis's test. There is significant difference (p<0.05) in mean shear/peel bond strength among various bracket base designs. The 20/40 m brackets have a significantly highest bond strength, followed by Crytaline, and Transcend series 6000. All bracket-adhesive combinations tested provide clinically acceptable shear/peel bond strength. The bracket/adhesive interface is the major site of bond failure in all groups (p<0.05), and no enamel damage with any of the bracketsen
dc.format.extent8097545 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.379-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพอร์ซเลนทางทันตกรรมen
dc.subjectทันตกรรมจัดฟันen
dc.subjectแบรกเก็ตเซรามิกen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบแรงยึดเชิงกลของแบรกเกตเซรามิก 3 ชนิดที่มีลักษณะของฐานแตกต่างกันen
dc.title.alternativeomparative study of mechanical retention of 3 ceramic bracket base designsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineทันตกรรมจัดฟันen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVachara.Ph@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.379-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
oranuch.pdf5.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.