Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39555
Title: รำเหย่ย : การละเล่นพื้นบ้านสู่นาฏศิลป์ กรมศิลปากร
Other Titles: Rum Yey : a folk dance and the new work by The Fine Arts Department
Authors: วรรณวิภา มัธยมนันท์
Advisors: มาลินี อาชายุทธการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Malinee.A@Chula.ac.th
Subjects: กรมศิลปากร
การละเล่น -- ไทย -- กาญจนบุรี
การรำ -- ไทย -- กาญจนบุรี
นาฏศิลป์ -- ไทย
Fine Arts Department
Dance -- Thailand
Dance -- Thailand -- Kanchanaburi
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา พัฒนาการ องค์ประกอบ วิเคราะห์และเปรียบเทียบองค์ประกอบของการละเล่นพื้นบ้านรำเหย่ย จังหวัดกาญจนบุรีและรำเหย่ย กรมศิลปากร โดยดำเนินการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ นักแสดง นักดนตรี และวิทยากร เกี่ยวกับความเป็นมา พัฒนาการ และองค์ประกอบของรำเหย่ย ผู้วิจัยพบว่ารำเหย่ยเกิดขึ้นในจังหวัดกาญจนบุรี จากหลักฐานที่พบ ผู้วิจัยสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับการก่อตั้งตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วงและตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน ซึ่งมีการเล่นรำเหย่ยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อรำเหย่ยตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง เกิดซบเซาและได้รับความนิยมน้อยลง กรมศิลปากรจึงได้อนุรักษ์และนำไปสู่รำเหย่ยรูปแบบของกรมศิลปากร ผลการวิจัยพบว่าการละเล่นพื้นบ้านรำเหย่ย จังหวัดกาญจนบุรี พบใน 3 อำเภอ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1.รูปแบบดั้งเดิม เป็นการร้องรำเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง ผู้ร้องทำหน้าที่ พ่อเพลงแม่เพลง ส่วนผู้รำทำหน้าที่รำเท่านั้น นิยมเล่นเพื่อผ่อนคลายจากการทำไร่ทำนา ท่ารำที่พบ คือ ท่านอนวัน ท่าต้อน และท่ารำอิสระตามวิถีชาวบ้าน ผู้เล่นปรบมือประกอบจังหวะ ต่อมาเริ่มมีการนำเครื่องดนตรีมาใช้ในการแสดงและพัฒนาเป็นวงกลองยาว การแต่งกายแต่งแบบพื้นบ้านภาคกลาง 2.รูปแบบประยุกต์ เรียกว่า “รำคล้องผ้า” หรือ “รำพาดผ้า” มีรูปแบบมาจากรำเหย่ยแบบดั้งเดิมเพิ่มอุปกรณ์การแสดง คือ ผ้า ใช้เป็นสัญลักษณ์ของการจับจองระหว่างชายหญิง รำเหย่ย กรมศิลปากร ปรับปรุงกระบวน ท่ารำจากรำเหย่ยรูปแบบประยุกต์ของตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง กระบวนท่ารำนำท่ารำแม่บทเป็นท่ารำเฉพาะ เช่น ท่าสอดสร้อย ท่าผาลา ท่านางนอน เป็นต้น ใช้ผ้าเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง รำเหย่ยมีขั้นตอนการแสดงที่คล้ายคลึงกัน อาจแตกต่างกันบางขั้นตอนของแต่ละท้องถิ่น ขั้นตอนของการแสดง ได้แก่ 1.การประกอบพิธีไหว้ครู 2.การประโคมกลองยาว 3.การรำไหว้ครูกลองยาว 4.การแสดงของพ่อเพลง แม่เพลง และผู้รำ โดย พ่อเพลง แม่เพลงร้องโต้ตอบกัน การร้องเริ่มจากบทเกริ่น บทชมนาง บทลักหาพาหนี และบทลา ผู้รำฝ่ายชายและหญิง 1 คู่ รำเกี้ยวพาราสี ผู้รำมีอารมณ์สนุกสนาน เมื่อรำได้ระยะหนึ่งจึงเปลี่ยนคู่ต่อไป จนกระทั่งพ่อเพลง แม่เพลงร้องบทลาเป็นอันจบการแสดง เอกลักษณ์และคุณค่าของรำเหย่ย เอกลักษณ์ที่ปรากฏ ได้แก่ บทร้องลงท้ายด้วยคำว่า “เอย” ทุกวรรค การย่ำเท้าซ้ายนำเท้าขวาตลอดทั้งเพลงและการใช้ผ้าเป็นอุปกรณ์การแสดง คุณค่าของรำเหย่ย เป็นศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่า ควรแก่การสืบทอดและอนุรักษ์ เพราะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งก่อให้เกิดความบันเทิง ความสามัคคี ทราบถึง วิถีชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกาย ประเพณี วัฒนธรรม และภาษา ซึ่งบรรพชนได้รังสรรค์ไว้ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน
Other Abstract: The objective of this thesis is to study the background, the development, and the elements of Rum Yey and to analyze and compare the elements of Rum Yey folk play of Kanchanaburi with Rum Yey dance of Fine Arts Department. The methods used in the research include studying from the documents and related researches, interviewing the experts, the performers, the musicians and the lecturer about the background, the development, and the elements of Rum Yey. It was found that Rum Yey originated from Kanchanaburi. From the evidence, it can be surmised that Rum Yey first appeared in Ayutthaya period together with the settlements of Ban Kao, Muang district, Nong Kao, Tha Muong dictrict, Nong Rong, Phanom Thuan district, where Rum Yey folk play has existed until today. As Rum Yey of Ban Kao, Muang district was dull and less popular, Fine Arts Department then try to conserve and adapt it as Fine Art Department style. The research found that Rum Yey folk plays in 3 districts of Kanchanaburi can be divided into two styles; 1) the original style which is the way to court with song and dance. The singers which are called Pho Pleang Mae Pleang will sing to lead other people and the dancers only take charge of dancing not singing. People play Rum Yey to relax from the farm works. The dance patterns used in include Norn Wan, Ton and other postures in villagers’ style. The performers clap the hands following the rhythm. Later, the musical instruments have been brought to accompany the play then developed to the tom-tom band. For the costume, they dress like the central folk people. 2) the applied style called “Rum Klong Pha” or “Rum Pad Pha” which came from the original “Rum Yey” but added the fabric as a symbol of engagement between lovers. Rum Yey of Fine Arts Department was adapted the dance patterns from the applied Rum Yey of Ban Kao, Muang district. It used the original dance patterns as a particular style such as Sod Soi, Pala, Nang Non. The fabric is also used as the performance’s element. Rum Yey’s steps are resemble in general but have some different steps depending on each region. The steps include 1) Wai Khru ceremony 2) tom-tom prelude 3) Rum Wai Khru accompanied by tom-tom3) Pho Pleang Mae Pleang (singers) and dancers’ performance. The singers debate to each other by singing. The repertoire starts with Bot Kreun (the introduction), Bot Chom Nang (admiring the lady), Bot Lak Ha Pa Nee (running away together) and Bot La (the farewell). A couple dances and joyfully pays court to each other then changes a partner after a while. The performance finishes when the singers sing the farewell song “Bot La”. The identity and value of Rum Yey include the song that ends every paragraph with the word “Oei”, tramping with the left foot before the right foot all over the song and using the fabric as the performance’s equipment. Rum Yey is the precious art and culture worth succeeding and conservation as it is useful to the society and can produce the entertainment, the harmony, and convey the lifestyle, costume, tradition, culture and language that the ancients created since the past till the present.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39555
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.477
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.477
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanwipa_ma.pdf9.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.