Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40634
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญเรือง เนียมหอม-
dc.contributor.authorประพรรธน์ พละชีวะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-03-14T04:49:04Z-
dc.date.available2014-03-14T04:49:04Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40634-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้วิธีการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้วิธีการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์และการแก้ปัญหา ก่อนและหลังการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทราจำนวน 37 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้วิธีการเรียนรู้ร่วมกันในการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นรูปแบบการเรียนที่ผสมกันระหว่างการเรียนบนเว็บ 5 คาบเรียน และ ในชั้นเรียนปกติ 5 คาบเรียน ผู้เรียนจะเรียนร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย ผู้สอนมอบหมายภาระหน้าที่ให้ผู้เรียนแต่ละคนอย่างชัดเจนผู้เรียนร่วมกันอภิปรายและร่วมกันทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ของโครงงานวิทยาศาสตร์ซึ่งแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ การตั้งปัญหา การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์และจัดกระทำข้อมูล และการสรุปผล 2. รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันในโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับการฝึกแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) แผนการสอนจำนวน 8 แผนการสอนใช้เวลา 10 คาบเรียน เรียนในชั้นเรียนปกติจำนวน 5 คาบเรียนและบนเว็บ 5 คาบเรียน 2) องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน 9 องค์ประกอบ ได้แก่ จุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน ลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิธีการปฏิสัมพันธ์บนเว็บ บทบาทผู้เรียน บทบาทผู้ดำเนินการสอน บทบาทของผู้เชี่ยวชาญและผู้สนับสนุนการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียนรู้ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันในโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับการฝึกแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้พัฒนาขึ้นพบว่า ผู้เรียนที่ได้เรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to 1) study the opinion of panel experts on the appropriate Blended Learning model with collaborative learning in Science projects ; 2) develop Blended Learning model with collaborative learning in Science projects to practice seventh grade students’ problem solving; and 3) compare students pre- and post- learning achievement after learning from The Blended Learning model with collaborative learning in Science projects to practice seventh grade students’ problem solving. The samples in this research consisted of 1) seven experts in Science instruction and five experts in web-based instructional design; 2) 37 seventh grade students in second semester 0f the 2007 academic year from Pramochvitharamindra school. The research revealed that: 1. The Blended Learning model with collaborative learning in Science projects to practice seventh grade students’ problem solving was combination of five online and five traditional classroom periods. Giving clear task to each student by teacher, discussing and small group working to gain objectives of Science projects, consisted of 5 steps : 1) Presenting problems 2) Proposing hypothesis 3) Designing experiment 4) Analyzing and data processing and 5) summarizing 2. The Blended Learning model with collaborative learning in Science projects to practice seventh grade students’ problem solving consisted of 1) eight lesson plans, comprised of 10 periods (five online and five traditional classroom periods); 2) nine components : objective, instructional activities, types of instruction, computer and internet system, interactive method, student’s role, teacher’s role, expert and facilitator’s role, and learning evaluation 3. When the Blended Learning model with collaborative learning in Science projects was implemented with the sample, It was found that the post-test learning achievement scores of the sample were significantly higher than the pre-test scores at the .05 level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1189-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการแก้ปัญหาen_US
dc.subjectการเรียนรู้ร่วมกันen_US
dc.subjectนักเรียนประถมศึกษาen_US
dc.subjectการศึกษาขั้นประถมen_US
dc.subjectโครงงานวิทยาศาสตร์en_US
dc.subjectScience projectsen_US
dc.subjectProblem solvingen_US
dc.subjectCollaborative learningen_US
dc.subjectEducation, Elementaryen_US
dc.titleการนำเสนอรูปแบบการเรียนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันในโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับการฝึกแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1en_US
dc.title.alternativeProposed blended learning model with collaborative learning in science projects to practice seventh grade students' problem solvingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorBoonruang.N@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1189-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapat_Ph.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.