Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41450
Title: การใช้กำลังอำนาจทางทะเลของไทย ระหว่าง ค.ศ. 1977 ถึง ค.ศ. 1988 : ศึกษาเปรียบเทียบกับเครื่องมืออื่นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
Other Titles: The Use of Thailand's Sea Power From 1977 to 1988 : A Comparative Case Study with Other Foreign Policy Instruments
Authors: วชิรพร วงศ์นครสว่าง
Advisors: ปณิธาน วัฒนายากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาให้ทราบถึง สภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคง เครื่องมือดำเนินนโยบายต่างประเทศ และกำลังอำนาจทางทะเลของประเทศไทยในช่วงเวลาที่ศึกษาวิจัย เพื่อวิเคราะห์หาผลลัพธ์ที่เกิดจากการใช้เครื่องมือดำเนินนโยบายต่างประเทศเปรียบเทียบกับการใช้กำลังอำนาจทางทะเลในการดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อต้านภัยคุกคามความมั่นคงในช่วงเวลาที่ศึกษาวิจัย ซึ่งจะนำไปสู่การตอบคำถามวิจัยว่า เพราะเหตุใดประเทศไทยจึงให้ความสำคัญต่อการใช้เครื่องมืออื่นมากกว่ากำลังอำนาจทางทะเลในการดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อต่อต้านภัยคุกคามความมั่นคงระหว่างช่วงเวลาที่ศึกษาวิจัย การศึกษาวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาตั้งแต่ ปีที่รัฐบาลของ พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เข้ารับหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน และผ่านไปจนถึงปีที่รัฐบาลของ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เข้ารับหน้าที่เป็นปีแรก เนื่องจากในช่วงระยะเวลาดังกล่าวประเทศไทยต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากประเทศคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวียดนามซึ่งได้เข้ายึดครองกัมพูชาใน ค.ศ. 1979 และมีทหารประจำการอยู่ในกัมพูชามากถึง 160,000 คน ทหารเหล่านั้นบางส่วนได้รุกล้ำเข้ามาในเขตแดนไทยเพื่อปรามปรามกองกำลังเขมรฝ่ายต่อต้านหลายครั้ง ทำให้ผู้นำของไทยกังวลว่าเวียดนามจะรุกรานประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ ผลการศึกษาวิจัยแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ซึ่งเก็บและรวบรวมข้อมูลจาก ตำรา เอกสารทางวิชาการ และการสัมภาษณ์ผู้เคยปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ทราบว่าสาเหตุของการให้ความสำคัญต่อการใช้เครื่องมืออื่นๆมากกว่ากำลังอำนาจทางทะเลประกอบด้วย ความเร่งด่วนของภัยคุกคามที่ประเทศไทยต้องรีบดำเนินการตอบโต้และป้องกันมาจากกำลังทางบกของเวียดนาม ซึ่งเครื่องมือที่มีความเหมาะสมในการใช้มากที่สุดก็คือกำลังทางบกและกำลังทางอากาศ อีกทั้งเครื่องมือทางการทูตก็เป็นเครื่องมือที่มีค่าใช้จ่ายต่ำและมีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องมือใดๆ นอกจากนี้การพัฒนากำลังอำนาจทะเลของประเทศไทยก็ยังขาดความต่อเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างเหล่าทัพ การพึ่งพิงความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐฯมากเกินไป และการขาดเทคโนโลยีทางเรือที่ทันสมัย
Other Abstract: The aim of this thesis is to study international security environment, Thai geopolitics, and Thai foreign policy instruments as well as Thai sea power from 1977 to 1988. The study is to analyze and find outcomes from the use of various foreign policy instruments compared to the use of sea power against external threat during that period which finally lead to reasons why Thailand gave more importance to the use of another foreign policy instruments rather than the use of sea power. The scope of the thesis starts from studying and analyzing root causes of the research problems and concentrates on the period when General Kriangsak Chamanant took power as Prime Minister of Thailand followed by General Prem Tinnasulanont then General Chatchai Choonhawan during his first year in power. During that period Thailand had directly encountered threat from communist countries in Indochina, particularly Vietnam when it occupied Cambodia in 1979 and deployed 160,000 troops there. Some of them were deployed along Thai – Cambodian border and encroached Thai border several times to suppress Cambodian resistance fractions. Such action made Thai leaders concern about possibility of Vietnam’s invasion. The thesis found that the reasons why Thailand gave more importance to the use of another foreign policy instruments rather than the use of sea power to counter against Vietnamese threat are: the necessity to counter immediate threat from Vietnamese land forces which was appropriate to be done by land forces and air forces; the use of diplomatic instrument gave more effectiveness than any other instruments; the discontinuity in sea power’s development due to intra-military services conflict; the dependence on the U.S. military assistance; and the obsolete of naval technology.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41450
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.386
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.386
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wachiraporn_wo_front.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Wachiraporn_wo_ch1.pdf7.95 MBAdobe PDFView/Open
Wachiraporn_wo_ch2.pdf12.15 MBAdobe PDFView/Open
Wachiraporn_wo_ch3.pdf14.84 MBAdobe PDFView/Open
Wachiraporn_wo_ch4.pdf6.51 MBAdobe PDFView/Open
Wachiraporn_wo_ch5.pdf7.11 MBAdobe PDFView/Open
Wachiraporn_wo_ch6.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open
Wachiraporn_wo_back.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.