Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41574
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตน์ศิริ ทาโต-
dc.contributor.advisorประนอม รอดคำดี-
dc.contributor.authorอัศรีย์ พิชัยรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-03-21T05:59:31Z-
dc.date.available2014-03-21T05:59:31Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41574-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพของ Funnell (1995) กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน อายุ 10-12 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 25 คน โดยจับคู่ด้านเพศและชั้นปีการศึกษา กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพ กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมการพยาบาลตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพ ที่ประกอบด้วย 5 กระบวนการ คือ 1) การสร้างข้อตกลง 2) การมีส่วนร่วมของชุมชน 3) การสื่อสาร 4) การทำงานร่วมกัน และ 5) ความรับผิดชอบเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคและแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย มีค่า CVI เท่ากับ .93, .80 และความเที่ยงเท่ากับ .83, .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=4.965, df =24,p<.01และ t=5.075,df=24,p<.01) 2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=3.779,df=48,p<.01 และt=4.738,df=48,p<.01)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to investigate the effect of health alliance nursing program on food consumption and exercise behaviors in obese school age children. The health alliance theory of Funnel (1995) was used as a framework for this study. Subjects of the study were obese school age children, 10-12 years old, studying in a primary school in Trang province. The subjects were 50 obese students, 25 per group. They were matched by gender and grade level. The experimental group received health alliance nursing program whereas, the control group received usual care. The intervention consisted of 5 processes: 1) Commitment, 2) Community involvement, 3) Communication, 4) Joint working, and 5) Accountability. Data were collected using a set of questionnaires on food consumption behavior and exercise behavior. They were tested for content validity with CVI at .93 and .80. Their Cronbach ,s alpha coefficients were .83 and .87, respectively. Data were analysed using descriptive statistics and t-test. The study results were as follow: 1. The mean score of food consumption behavior and exercise behavior of obese school age children after receiving health alliance nursing program were significantly higher than before receiving the program (t=4.965,df=24,p<.01and t=5.075, df=24,p<.01). 2. The mean score of food consumption behavior and exercise behavior of obese school age children after receiving health alliance nursing program were significantly higher than those of the control group (t=3.779,df=48,p<.01and t=4.738, df=48,p<.01).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1215-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectโรคอ้วนในเด็ก -- การป้องกันen_US
dc.subjectเด็กน้ำหนักเกิน -- การดูแลen_US
dc.subjectHealth promotionen_US
dc.subjectObesity in children -- Preventionen_US
dc.subjectOverweight children -- Careen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการพยาบาลตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกาย ของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินen_US
dc.title.alternativeEffects of health alliance nursing program on food consumption and exercise behaviors in obese school age childrenen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsathja_thato@hotmail.com-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1215-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aussaree_pi.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.