Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42087
Title: ผลของโคบอลต์คลอไรด์ต่อความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์เนื้อเยื่อในฟันแท้ของมนุษย์
Other Titles: Effect of cobalt chloride on stemness in human dental pulp cells
Authors: กัณฒพร ลักษณา
Advisors: วรรณธิดา ศรีอาจ
สิรีรัตน์ สูอำพัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เนื้อเยื่อฟัน
โคบอลต์
Dental pulp
Cobalt
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโคบอลต์คลอไรด์ต่อการแบ่งตัวของเซลล์ การแสดงออกของยีนที่แสดงความเป็นเซลล์ต้นกำเนิด และการแปรสภาพไปเป็นเซลล์สร้างเนื้อเยื่อแข็งของเซลล์เนื้อเยื่อในฟันแท้ของมนุษย์ วัสดุและวิธีการ นำเซลล์จากเนื้อเยื่อในฟันแท้มนุษย์มาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการโดยการเติมสารละลายโคบอลต์คลอไรด์ที่ความเข้มข้น 25 และ 50 ไมโครโมลาร์ในอาหารเลี้ยงเซลล์ ทำการศึกษาการเพิ่มจำนวนของเซลล์ด้วยเทคนิคเอ็มทีที ที่ระยะเวลา 1 วัน 3 วันและ 6 วัน การวิเคราะห์จำนวนเซลล์ที่มีการแสดงออกของโปรตีนสโตร-1 ด้วยเทคนิคโฟลวไซโตเมทรี ทำการศึกษาการแสดงออกของยีนที่แสดงความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดได้แก่ เร็กซ์-1 อ็อกท์-4 นาน็อก และซ็อกซ์-2 โดยการวัดระดับการแสดงออกของอาร์เอ็นเอนำรหัสใช้วิธีรีเวอร์ส ทรานสคิปชั่น โพลิเมอร์เลสเชน รีแอคชั่น (อาร์ที-พีซีอาร์) และทำศึกษาการแปรสภาพไปเป็นเซลล์สร้างเนื้อเยื่อแข็งโดยการวัดค่าการทำงานของเอนไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส และการหาปริมาณตะกอนแคลเซียมด้วยสีอลิซารินเรด เอส ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิธีทดสอบทีชนิดตัวอย่างอิสระ (p<0.05) ผลการศึกษา พบว่าเซลล์จากเนื้อเยื่อในฟันแท้ของมนุษย์ที่เพาะเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีโคบอลต์คลอไรด์สามารถเพิ่มสัดส่วนการแสดงออกของโปรตีนสโตร-1 และการแสดงออกของยีนที่แสดงความเป็นเซลล์ต้นกำเนิด ยับยั้งการแปรสภาพเซลล์ไปเป็นเซลล์สร้างเนื้อเยื่อแข็งได้ดีกว่าการเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเซลล์เพียงอย่างเดียว โดยพบว่าในความเข้มข้น 50 ไมโครโมลาร์แสดงผลชัดเจนกว่าความเข้มข้น 25 ไมโครโมลาร์ สรุป จากผลการศึกษาที่พบอาจสรุปได้ว่าโคบอลต์คลอไรด์ส่งเสริมความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์จากเนื้อเยื่อในฟันแท้ของมนุษย์ได้ โดยการเติมสารละลายโคบอลต์คลอไรด์ที่ความเข้มข้น 50 ไมโครโมลาร์ในอาหารเลี้ยงเซลล์ น่าจะเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดในห้องปฎิบัติการ
Other Abstract: Objective This study is to investigate the effect of cobolt chloride (CoCl2) on cell proliferation, the level of gene expression of stem cell markers, and the osteogenic differentiation of human dental pulp cells. Materials and mathod Human dental pulp cells (hDPCs) were cultured in the presence or absence of CoCl2 at the concentration of 25 and 50 μM, respectively. The 3-(4,5-dimethylthiazol-2-yl)-2,5-diphenyltetrazolium bromide (MTT) assay was used to determine cell proliferation at 1, 3 and 6 days of culture. The number of STRO-1+ cells was determined using flow cytometry. The level of mRNA expression of stem cell markers; Rex-1, Oct-4, Nanog and Sox-2 were examined by reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR). The osteogenic differentiation was assessed by alkaline phosphatase activity and alizarin red S staining. The data were analyzed by one way ANOVA and Independence sample t-test (p<0.05). Result The results showed that hDPCs treated with CoCl2 significantly increased STRO-1+ cells and the mRNA expression of stem cell markers, while inhibited osteogenic differentiation. In addition, potency of 50 μM of CoCl2 in maintaining stem cell is greater than that of 25 μM of CoCl2. Conclusion These findings suggests that cobalt chloride could enhance stemness of human dental pulp cells. The addition of 50 uM CoCl2 in the culture media might be the suitable condition for maintaining stem cells in the laboratory.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมสำหรับเด็ก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42087
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.618
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.618
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kantaporn_la.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.