Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42176
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจรูญศรี มาดิลกโกวิท-
dc.contributor.advisorโสมสกาว เพชรานนท์-
dc.contributor.authorอารีรัตน์ ภาคพิธเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-04-11T09:13:31Z-
dc.date.available2014-04-11T09:13:31Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42176-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการลงทุนและรูปแบบการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาในการจัดการขยะครัวเรือนขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ขนาดเล็ก 2) วิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาในการจัดการขยะครัวเรือนของ อบต.ขนาดเล็ก และ 3) นำเสนอแนวทางการลงทุนจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการขยะครัวเรือนของ อบต.ขนาดเล็ก ดำเนินงานวิจัยโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สร้างข้อสรุปอุปนัยสภาพการลงทุนและรูปแบบการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาในการจัดการขยะครัวเรือนของ อบต.ขนาดเล็ก และการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาในการจัดการขยะครัวเรือนของ อบต.ขนาดเล็ก ในพื้นที่กรณีศึกษา 4 พื้นที่ ได้แก่ 1) อบต.เกาะทวด จ.นครศรีธรรมราช 2) อบต.ถืมตอง จ.น่าน 3) อบต.สวนหลวง จ.สมุทรสงคราม และ 4) อบต.สลักได จ.สุรินทร์ ร่างแนวทางการลงทุนการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการขยะครัวเรือนของ อบต.ขนาดเล็ก และนำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาตรวจสอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) อบต.ขนาดเล็ก มีการนำทุนมนุษย์ ทุนทรัพยากร และทุนทางสังคม มาใช้เป็นทุนเพื่อเสริมสร้างข้อจำกัด โดยรูปแบบ การลงทุนจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาในการจัดการขยะครัวเรือน แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ 1.1) ร่วมลงทุนและร่วมขยายผล โดยการร่วมลงทุนมีลักษณะการลงทุนที่ อบต.ขนาดเล็กร่วมคิด ร่วมเตรียมคน ร่วมมือ ร่วมสนับสนุน และร่วมตรวจสอบแก้ไข ในส่วนของการร่วมขยายผล มีลักษณะการลงทุนที่ อบต.ขนาดเล็กร่วมต่อยอด และร่วมเป็นแม่ข่ายกับองค์กรท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานภาครัฐและประชาชนในชุมชน 1.2) รูปแบบการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาในการจัดการขยะครัวเรือน พบว่า มีจุดประสงค์เพื่อการสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้กับประชาชนในพื้นที่และการเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการจัดการขยะชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาคน สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และคุณภาพชีวิตที่ดี มีกลุ่มเป้าหมายของโครงการแตกต่างกันไปตามบริบทชุมชนและสภาพปัญหาในพื้นที่ ทั้งนี้กิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษามีลักษณะเพื่อการพัฒนา 5 ด้าน คือ (1) พัฒนาความคิด (2) พัฒนากระบวนการ (3) พัฒนาเพื่อปรับปรุง (4) พัฒนาต้นแบบ และ (5) พัฒนาต่อยอด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงทุนการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาในการจัดการขยะครัวเรือน มี 5 ด้าน คือ (1) ด้านแนวนโยบายที่เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา (2) ด้านแนวคิดผู้บริหารที่สามารถบูรณาการรูปแบบการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษา (3) ด้านบทบาทของ อบต. ที่สามารถลดข้อจำกัดศักยภาพโดยการเชื่อมต่อชุมชน (4) ด้านการดึงศักยภาพชุมชนมาปรับใช้หรือร่วมลงทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนร่วม และ (5) ด้านการเตรียมชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจ มีจิตสำนึกต่อส่วนร่วม และร่วมทำกิจกรรม 2) ในการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาในจัดการขยะครัวเรือนมีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยปัจจัยที่มีผลต่อความคุ้มค่าในการลงทุน ได้แก่ สภาพปัญหาขยะ ทุนทางสังคม การร่วมทุนที่หลากหลายและการร่วมขยายผล 3) งานวิจัยนี้ ได้นำเสนอแนวทางการลงทุนจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการขยะครัวเรือนของ อบต.ขนาดเล็ก ดังนี้ (1) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในชุมชน (2) พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน (3) จัดกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาในเชิงบูรณาการ (4) จัดสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน (5) ดึงศักยภาพชุมชนมาใช้ในการลงทุน (6) ใช้มาตรการต่างๆ ในการบริหารจัดการทุน (7) เชื่อมต่อกิจกรรมระหว่าง อบต. กับชุมชน (8) มีกลไกในการตรวจสอบและคืนข้อมูลจากการลงทุน และ (9) พัฒนารูปแบบการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อขยายผลการลงทุนen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to: 1) study the state of investment and the environmental education provision model for the household solid waste management (HSWM) of small subdistrict administrative organizations (SSAO); 2) analyze the investment returns on the environmental education provision in HSWM of SSAO; and 3) propose the investment guidelines on environmental education provision to strengthen the ability of SSAO in HSWM. The research studies are conducted by Content Analysis; Analytic Induction, the state of investment and the environmental education provision model for the HSWM of SSAO; and Analysis of the investment returns on the environmental education provision model for the HSWM of SSAO. The 4 sites of case study are: 1) Kohthuad in Nakorn Sri Dharmarah province, 2) Thuemtong in Nan province, 3) Suanluang in Samut Songkhram province, and 4) Salakdai in Surin Province. From the findings, the investment guidelines for environmental education provision to strengthen the ability of SSAO in HSWM can be drafted and proposed to the group of experts for consideration. The research results found that: 1) SSAO implemented the human capital, resources capital and social capital to be the capital for minimizing restrictions by the investment model of environmental education provision in HSWM of SSAO which was divided into 2 models: (1.1) joint investment and joint expansion. (1.1.1) joint investment was the type of investment which the SSAO were co-thinking, personnel co-planning, co-supporting and co-inspecting; and (1.1.2) joint expansion. SSAO were the co-extending and co-networking with the local districts, government organizations and people in the community; (1.2) The environmental education provision model in HSWM was building up the conscious mind and awareness of local people including to increase the mechanic effectiveness of the solid waste management in their community. The goal was to develop human, a better environment and quality of life. The project’s target groups differentiated according to the community context and problems on sites. Environmental education activities were 5 aspects of development: ideas, process, improving, model and extending. Factors effected to the investment for environmental education provision in HSWM were divided into 5 aspects: (1) Policies which emphasized the human centered development; (2) Administers’ concepts which were able to integrate the environmental education provision model; (3) Role of SSAO which could minimize the restricted ability by connecting to the communities; (4) The Applied Community Potentialities or the joint investment for being the highest mutual benefit; and (5) Community preparation for understanding, having co- conscious mind and joining the activities. 2) The investment returns analysis on the environmental education provision in HSWM were worthwhile. The factors, effected to the worthwhile investment, were the conditions of solid waste, social capital, various joint investment, and joint expansion. 3) This research proposed the investment guidelines for environmental education provision in HSWM of SSAO as follow: (1) developed the human resources in community; (2) developed the community participating process; (3) organized the integrated activities in environmental education; (4) organized the environmental for managing the community environment; (5) got the community potentialities; (6) used various methods in the capital management; (7) connected activities between the subdistrict administrative organizations and communities; (8) had the inspection process and data retrieval from the investment; and (9) developed the environmental education provision model for increasing the investment results.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.166-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectขยะen_US
dc.subjectการจัดการสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.subjectEnvironmental managementen_US
dc.subjectRefuse and refuse disposalen_US
dc.titleแนวทางการลงทุนการจัดสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการขยะครัวเรือนขององค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กen_US
dc.title.alternativeInvestment guidelines for environmental education provision to strengthen the ability of small subdistrict administrative organizations in household solid waste managementen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorCharoonsri.M@Chula.ac.th-
dc.email.advisorfecosob@ku.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.166-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
areerat _pa.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.