Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42178
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโชติกา ภาษีผล-
dc.contributor.authorเบญญาภา วงศ์ประยูร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-04-11T09:41:36Z-
dc.date.available2014-04-11T09:41:36Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42178-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาแบบการทบทวนบทเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้และสังกัดของโรงเรียน (2) เพื่อศึกษาสาเหตุในการเลือกแบบการทบทวนบทเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 (3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียนที่มีแบบการทบทวนบทเรียนที่ต่างกัน (4) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบบการทบทวนบทเรียนกับสังกัดของโรงเรียนที่มีผลต่อคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2555 จำนวน 404 คน และผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการทบทวนบทเรียนและแบบบันทึกการสนทนากลุ่มผู้ปกครองเกี่ยวกับสาเหตุในการเลือกใช้แบบการทบทวนบทเรียนในแต่ละรูปแบบให้นักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน สถิติChi-Square การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนส่วนใหญ่ที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ในภาคเรียนที่ 1 ใช้แบบการทบทวนบทเรียนด้วยการเรียนเพิ่มนอกเวลาในโรงเรียนที่เรียนอยู่โดยโรงเรียนเป็นผู้จัดเองและทบทวนด้วยตนเอง การทำแบบฝึกหัดจากหนังสือ และการอ่านหนังสือแบบเรียน ต่างจากภาคเรียนที่ 2 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้แบบการทบทวนบทเรียนด้วยการเรียนเพิ่มนอกเวลาในโรงเรียนที่เรียนอยู่โดยโรงเรียนเป็นผู้จัดเองและทบทวนด้วยตนเองทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ นักเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) ส่วนใหญ่ใช้แบบการทบทวนบทเรียนด้วยการเรียนเพิ่มนอกเวลาในโรงเรียนที่เรียนอยู่โดยโรงเรียนเป็นผู้จัดเองและทบทวนด้วยตนเองทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้ง 2 ภาคเรียน และนักเรียนสังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ส่วนใหญ่ใช้แบบการทบทวนบทเรียนด้วยการอ่านหนังสือแบบเรียน ยกเว้นกลุ่มสาระเรียนรู้คณิตศาสตร์นักเรียนส่วนใหญ่ใช้แบบการทบทวนบทเรียนด้วยการเรียนในสถาบันกวดวิชาที่เปิดสอนตลอดปีและทบทวนด้วยตนเอง 2. สาเหตุในการเลือกแบบการทบทวนบทเรียน มีดังนี้ นักเรียนที่ทบทวนบทเรียนด้วยการเรียนเพราะช่วยเพิ่มเติมความรู้นอกเหนือจากที่เรียนในห้องเรียน นักเรียนที่ทบทวนบทเรียนด้วยตนเองเพราะค้นหาความรู้ได้อย่างอิสระกว่าการทบทวนด้วยการเรียน และนักเรียนที่ทบทวนบทเรียนด้วยการเรียนและทบทวนด้วยตนเองเพราะเพิ่มความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนในการทบทวนบทเรียนด้วยการเรียน ส่วนสาเหตุที่ผู้ปกครองให้นักเรียนทบทวนบทเรียนด้วยการเรียนเพราะมีผู้สอนมาช่วยดูแลนักเรียนและทำให้นักเรียนมีความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น ผู้ปกครองให้นักเรียนทบทวนบทเรียนด้วยตนเองเพราะนักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนในชั้นเรียนปกติแล้วและผู้ปกครองสามารถดูแลนักเรียนได้ และผู้ปกครองให้นักเรียนทบทวนบทเรียนด้วยการเรียนและทบทวนด้วยตนเองเพราะช่วยเพิ่มความแม่นยำในเนื้อหาต่อจากการทบทวนบทเรียนด้วนการเรียน 3. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเมื่อจำแนกด้วยแบบการทบทวนบทเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกลุ่มที่ใช้แบบการทบทวนบทเรียนด้วยตนเองและกลุ่มที่ใช้แบบการทบทวนบทเรียนด้วยการเรียนและทบทวนตนเองมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ใช้แบบการทบทวนบทเรียนด้วยการเรียน 4. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบบการทบทวนบทเรียนกับสังกัดของโรงเรียนที่มีผลต่อคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to : 1) to study the lesson review style of sixth grade students in different subjects and schools 2) to study reason of lesson review style selecting 3)to compare achievement scores by students who have different lesson review style 4) to analyze interactions among lesson review style and school affect to achievement.The participants in this research were 404 sixth grade students in school under the authority of theOffice of Basic Education Commission, the Office of the Private Education Commission and the Office of the Higher Education Commission and 6 parent of sixth grade students. The data were collected by questionnaire and analyzed by using descriptive statistics, Chi-Square,one-way ANOVA, and two-way ANOVA. The research findings were as follows: 1. Most students in schools under the authority of the Office of Basic Education Commission Reviewed previous lessons taught in class by taking up extra classes which were provided by their schools and engaging in self-study in second semester like most student the Office of the Private Education Commission who revised this lesson review style both semester. While most students student in school under the authority of the Office of the Higher Education Commission did their revision by reading their text books 2. The reason of lesson review style selecting is they would like to understand the concept. 3. Acheivement scores of student who took up extra classes and did self-study after and who did self-study are greater than that of students who only took up extra classes. 4. There were interactions among lesson review style and school affect to achievement.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.707-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen_US
dc.subjectAcademic achievementen_US
dc.titleการวิเคราะห์และเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากแบบการทบทวนบทเรียนที่ต่างกันของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6en_US
dc.title.alternativeAn analysis and comparison of sixth grade students’ acheivement scores resulted from different lesson review stylesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisoraimornj@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.707-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
benyapa_wo.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.