Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42236
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์-
dc.contributor.advisorรังสิพันธุ์ แข็งขัน-
dc.contributor.authorมนธวัช จำปานิล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-04-28T01:43:25Z-
dc.date.available2014-04-28T01:43:25Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42236-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการสอนรายวิชาด้านสุนทรียศาสตร์ในบริบทของ ทัศนศิลป์ และดนตรีสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ในด้านจุดประสงค์ เนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ การสอน และการวัดผลประเมินผล งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านสุนทรียศาสตร์ซึ่งเป็นแกนหนึ่งในทฤษฎี การสอนศิลปศึกษา 4 แกนหรือ DBAE โดยเน้นสุนทรียศาสตร์ทางทัศนศิลป์และดนตรี ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างกับผู้สอนรายวิชาด้านสุนทรียศาสตร์ในบริบท ของทัศนศิลป์ และดนตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 24 คน และใช้ แบบสอบถามชนิดประเมินค่า 5 ช่วงคะแนนกับนักศึกษาปริญญาตรีจำนวน 300 คน นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์ มาวิเคราะห์เนื้อหา และคำนวณหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อสรุปข้อมูล และอภิปรายผลการวิจัย ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าแนวทางการสอนรายวิชาด้านสุนทรียศาสตร์ในบริบทของทัศนศิลป์ และดนตรี 1) จุดประสงค์ ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานของศิลปะแขนงต่างๆ โดยเน้นที่การรับรู้คุณค่าความงาม มีรสนิยมอันดี สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรประชุมวางแผนร่วมกันของ ทีมผู้สอนเพื่อกำหนดทิศทางการสอน 2) เนื้อหาประกอบด้วยพื้นฐานของศิลปะ การบูรณาการประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรบูรณาการศาสตร์ทั้ง 3 ด้านให้เป็นเนื้อเดียวกัน 3) กิจกรรมใช้แบบ บรรยายประกอบสื่อที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง ข้อเสนอแนะในประเด็นนี้ คือ ควรใช้วิธีการศึกษานอก สถานที่ การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองและใช้การสอนเป็นทีมชุดเดียวกัน 4) สื่อการสอน ควรใช้สื่อพื้นฐานที่ทำ ให้เกิดสุนทรียภาพต่อผู้เรียนมากที่สุด และควรใช้สื่อการสอนซึ่งมีการบูรณาการทางสุนทรียภาพเนื้อหาที่ครบ ทั้ง 3 ด้าน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรมีการปรับปรุงตำราและสื่อการสอนให้ทันสมัย มีความหลากหลายมาก ขึ้น 5) การวัดประเมินผล ควรเน้นการวัดด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัยและ ควรใช้เครื่องมือวัดผลหลายแบบร่วมกัน ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการวัดด้านจิตพิสัยผู้เรียน เกี่ยวกับความรู้สึก การเห็นคุณค่าความงามen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the study described here was to develop guidelines for teaching in the context of visual aesthetic and music for undergraduate students. The descriptive survey and Focus group method was chosen as an appropriate vehicle for conducting the study. This paper deals with the knowledge of Aesthetic, which is a past of the theories of DBAE art teaching, there are 4 axis or focusing on the Aesthetic of the visual arts and music. The study was conducted by interviewing the Focus group in this concern of the Aesthetic of the Visual art and Music. They were Aesthetic instructor and the expertise in Aesthetic in Visual Arts and Music area. Addition data were collected from 300 undergraduate students by using questionnaires. The obtain data were calculated into frequency, percentage , arithmetic mean, and standard deviation. Then the data were described in table forms the result reveal this following matter the guidelines for teaching Aesthetic courses in the contexts of Visual Arts and Music for undergraduate students.1) The objective the Aesthetic courses should provide variety of different Arts area, which emphasize in Aesthetic value, taste, and daily life appreciation. Suggestion: Planning meeting, the team should determine the direction of instruction 2) courses in content: the courses should consist of Arts basic which integrated with daily life appreciation. Suggestion: Should be integrate all three aspects as homogeneous. 3) The courses activity: The activity should be lecturing style by putting the student into directed Aesthetic experience. Suggestion: Should be used for field trips , study on your own and use the teaching team.4) Teaching media: The directed experience medias were the most preferable. Suggestion: Should be updated to modern textbooks and teaching materials and more variety. 5) The courses evaluation: Cognitive and effective evaluation mainly measurement with variety of measurement instrument. Suggestion: Should have measured the learners. emotional appreciating beauty.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.903-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสุนทรียศาสตร์ -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectทัศนศิลป์en_US
dc.subjectดนตรีen_US
dc.subjectAesthetics -- Study and teachingen_US
dc.subjectArten_US
dc.subjectMusicen_US
dc.titleแนวทางการสอนรายวิชาด้านสุนทรียศาสตร์ในบริบทของทัศนศิลป์และดนตรีสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีen_US
dc.title.alternativeGuidelines for teaching aesthetic courses in the contexts of visual arts and music for undergraduate studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorppoonara@chula.ac.th, ppoonara@yahoo.com-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.903-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mondhawat _Ju.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.