Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42350
Title: การศึกษาลีลาสตรีและบทบาทนางมณโฑในนาฎยศิลป์ไทยร่วมสมัย "นารายณ์อวตาร"
Other Titles: The anaytical study of female dance movement in contemporary Thai dance and the role of Montho in "Narai Avatara"
Authors: สมชาย โตวิทิตวงศ์
Advisors: วิชชุตา วุธาทิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vijjuta.V@Chula.ac.th
Subjects: นราพงษ์ จรัสศรี
รามเกียรติ์ -- ตัวละคร
ตัวละครและลักษณะนิสัยในวรรณคดี
สตรีในวรรณคดี
นาฏศิลป์ไทย
Narapong Jarassri
Characters and characteristics in literature
Women in literature
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาวิเคราะห์แนวคิด วิธีการสร้างสรรค์ลีลาสตรีและบทบาทนางมณโฑในนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย นารายณ์อวตาร องก์ที่ 3 ตอนลงกาและอโยธยา วิเคราะห์องค์ประกอบ ศึกษาพัฒนาการของลีลาจากเชียงใหม่สู่กรุงเทพฯ ตลอดจนวิเคราะห์บทบาทนางมณโฑกับบริบททางสังคม โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ สัมภาษณ์ สังเกตการณ์ และเป็นแบบให้ทดลองออกแบบด้วยตนเอง ผลการศึกษาพบว่า แนวคิด วิธีการสร้างสรรค์ลีลาสตรีของศาสตราจารย์ ดร.นราพงษ์ จรัสศรี ผ่านบทบาทนางมณโฑในนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย นารายณ์อวตาร องก์ที่ 3 ตอนลงกาและอโยธยา (อันเป็นตอนที่นางมณโฑได้กลิ่นข้าวทิพย์จากกรุงลงกา และอยากกินด้วยอาการเหมือนคนแพ้ท้อง นางจึงขอให้ทศกัณฐ์พระสวามีหาข้าวทิพย์มาให้) นั้นได้รับแรงบันดาลใจจากความงดงามในบทพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์รัชกาลที่ 1 และจิตรกรรมฝาผนังของไทย ผนวกกับการผสมผสานระหว่างนาฏยศิลป์ไทยและนาฏยศิลป์ตะวันตก เช่น กระดกเท้าหน้า (Flex) เหมือนในนาฏศิลป์ไทย แต่เท้าหลัง Point เหมือนนาฏยศิลป์ตะวันตก (Ballet) ท่า Arabesqueg (ยืดขาไปด้านหลัง) แสดงถึงความรู้สึกเริงร่า เบิกบาน ลีลาที่ได้รับมาจากวลี พันธุ์ไม้เลื้อย คือลีลานางมณโฑ จับแขน-บ่าทศกัณฐ์เปรียบเสมือนไม้เลื้อยที่เกี่ยวเกาะต้นไม้ใหญ่หรือท่าทอดกายกับพื้นเหมือนจะสิ้นสติ และยังพบลีลาจากประสบการณ์ทำงานและการชม เช่นท่าลูบไล้แขนจาก Ballet’ Sleeping Beauty ในท่อนที่ว่า ผิวพรรณผุดผ่องอำไพ นราพงษ์ จรัสศรี นำมาหลอมและตีความใหม่จนกลายเป็นลีลาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในด้านบริบททางสังคมนางมณโฑสะท้อนให้เห็นว่านางมีความโดดเด่นในการรักษาความดีงามตามแบบสตรีไทย อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นช้างเท้าหลังที่ดีของสามี อีกทั้งยังมีความเป็นมารดาและภรรยาในเวลาเดียวกันกล่าวคือ อาการไม่สมประดีอยากกินข้าวทิพย์เป็นอาการของผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ การเรียกร้องความสนใจตามปกตินิสัยของสตรีที่ต้องการความดูแลเอาใจใส่จากสามีสะท้อนภาพทั้ง 2 ด้านนั้นออกมา การศึกษาครั้งนี้ จึงทำให้เกิดองค์ความรู้ทั้งในแนวคิด วิธีการสร้างสรรค์ลีลาของผู้ออกแบบลีลา และยังทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของสตรีในสังคมไทยดียิ่งขึ้น อนึ่งยังสามารถนำความรู้มาเป็นต้นแบบในการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่สื่อถึงลีลาสตรีเพศอื่นๆ ได้อีกด้วย อันถือเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อการสืบทอดในสังคมต่อไป
Other Abstract: To study the concept, the female dance movement creation and the role of Montho in the contemporary Thai dance “Narai Avatara”: Act 3, Longka and Ayothaya, as well as to analyze the element and the development of the dance movement from Chiang Mai to Bangkok and the role of Montho in social context. The methods used in the study include collecting the information from academic documents, interviewing, observing and self-practicing as a model of the case study. The study found that the concept and the dance movement created by Prof. Dr Narapong Jarassri through the role of Montho in the contemporary Thai dance “Narai Avatara”: Act 3, Longka and Ayothaya (in this episode, Montho smelled the odor of the holy rice and wanted to taste it like a lady who has a morning sickness so she asked her husband, Tosakan to bring that rice back to her.) are inspired by the aesthetics of Ramakian, the piece of King Rama I and Thai style wall painting as well as the combination of Thai dance and western dance such as flexing the front foot as in Thai dance while pointing the back foot as in western dance, ballet’s arabesque posture showing the joyfulness and happiness. The movement from the phrase “Phan Mai Leuy (climber)” is the gesture Montho touched Toasakan’s arms and shoulders like a climber adhering to a big tree or stretching on the ground as if the unconscious person. In addition, there is a dance movement gained from the experience and the observation such as caressing the arms from the ballet of Sleeping Beauty. This movement was used in the phrase “Phew Phan Phud Phong Am Pai (beautiful skin)”. Prof. Dr Narapong Jarassri integrated and reintepreted it into the unique dance movement. From the role of Montho in the social context, it is obvious that she is an outstanding woman who can maintain the good characteristics of Thai woman who is humble, properly obey her husband and can be the mother and wife in the same time. Her nervous manner desiring to taste the holy rice just like the manner of pregnant women is the way to attract her husband’s interest which is the normal nature of women who need the carefulness from their husbands. This reflected two sides of women’s role in social context. In conclusion, this study built the gnostic idea regarding the concept and the method the chronographer created the dance movement and also produced the better awareness of women’s important role in Thailand. Moreover, the research also adapted the knowledge as a prototype to create contemporary Thai dance conveying the women’s dance movement which is considered to be a part of conservation of Rammakian, the valueable litterature worth to be succeeded in our society.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42350
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.658
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.658
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somchai_to.pdf5.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.