Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42462
Title: ผลของโอโซนต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของยางพารา Hevea brasiliensis Muell.Arg
Other Titles: Effects of ozone on photosynthesis of para rubber Hevea brasiliensis Muell.Arg
Authors: ครรชิต สอสิริกุล
Advisors: บุญธิดา โฆษิตทรัพย์
พูนพิภพ เกษมทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ยางพารา
โอโซน
การสังเคราะห์แสง
มลพิษทางอากาศ
Hevea
Ozone
Photosynthesis
Air -- Pollution
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสงของใบยางพาราที่ได้รับแก๊สโอโซนเข้มข้น 200 ppb เป็นเวลานาน 1 2 4 และ 6 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับอากาศปกติ ทำการวัด light response curve โดยใช้ non-rectangular hyperbola model ประเมินค่าความชันเริ่มต้น (α) ค่าควบคุมความโค้ง (θ) อัตราการสังเคราะห์แสงสูงสุด (Pmax) และอัตราการหายใจ (Rd) และ ทำการวัดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของที่ความเข้มแสงอิ่มตัว (Asat) การนำที่ปากใบ (gs) อัตราการคายน้ำ (T) และประสิทธิภาพการใช้น้ำ (WUE) ที่ความเข้มแสง 1400 µmol m-2 s-1 พบว่าค่าเฉลี่ยของ Rd LCP และ T ของใบที่ได้รับโอโซนเข้มข้น 200 ppb เป็นเวลานาน 2 ชั่วโมง มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับการศึกษาการสังเคราะห์ด้วยแสงของยางพาราที่ได้รับแก๊สโอโซนเข้มข้น 100 ppb เป็นเวลา 1 ชั่วโมง และที่ได้รับโอโซนความเข้มข้น ambient 100 300 600 900 และ 1200 ppb เป็นเวลานาน 2 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับอากาศปกติ โดยวัดค่า Asat gs T และ WUE พบว่าค่าเฉลี่ยของ Asat gs และ T ของยางพาราที่ได้รับโอโซนเข้มข้น 300-1200 ppb มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าค่า WUE ของใบยางพาราที่ได้รับแก๊สโอโซนเข้มข้น 300-900 ppb มีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ลักษณะของใบยางพาราภายหลังจากได้รับอากาศปกติ และโอโซนในทุกทรีตเม้นต์ทันที ไม่พบความเสียหายเกิดขึ้น แต่ใบยางพาราภายหลังได้รับแก๊สโอโซนเข้มข้น 900 และ 1200 ppb เป็นเวลา 3 วัน พบว่าใบเกิดเป็นแถบสีแดงบนแผ่นใบด้านบนและด้านล่าง
Other Abstract: Photosynthesis of rubber (Hevea brasiliensis) fumigated with ozone at concentration of 200 ppb for 1, 2, 4 and 6h and fumigated with ozone at concentration 100(1h), 300, 600, 900 and 1200 ppb for 2 h compared with ambient air was studied. Photosynthesis (Asat), stomatal conductance (gs), transpiration rate (T), water use efficiency (WUE), leaf greenness and leaf characteristics were measured at 1400 µmol m-2 s-1. Furthermore, light response curve of rubber leaves treated with ozone at concentration of 200 ppb for 1, 2, 4 and 6h compared with control were performed. The data of light response curve were fitted to a non-rectangular hyperbola model to estimate initial slope (α), convexity parameter (θ), maximum photosynthesis (Pmax), dark respiration (Rd), light compensation point (LCP) and light saturation point (LSP).The results showed that Rd, LCP and T of rubber leaves fumigated with ozone at concentration 200 ppb for 2 h significantly decreased. Similarly, Asat, gs and T of rubber leaves fumigated with ozone at concentration of 300-1200 ppb for 2 h significantly decreased. On the other hand, WUE of rubber leaves fumigated with ozone at concentration of 300-900 ppb for 2 h significantly increased. Moreover, rubber leaves treated with ozone at high concentration of 900 and 1200 ppb were injured as characterized by red stippling on adaxial and abaxial leaf surfaces.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42462
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.28
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.28
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanchit_so.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.