Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4246
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอำไพ ตีรณสาร-
dc.contributor.authorปวิดา ชื่นเชย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2007-09-26T07:37:54Z-
dc.date.available2007-09-26T07:37:54Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741311591-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4246-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการวาดภาพคนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 จำนวน 180 คน ภาคปลายปีการศึกษา 2543 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบการวาดคน และแบบตรวจให้คะแนนแบบทดสอบการวาดภาพคน DAP (Draw-A-Person : A Quantitative Scoring System) ของ นาเกลลิ (Naglieri, 1988) แปลโดย ดารณี อุทัยรัตนกิจ (2536) และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการวาดคน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าความถี่ ผลการวิจัยพบว่า 1) การวาดภาพคนของนักเรียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้คะแนนรวมในการวาดภาพคนมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามลำดับ 2) การวาดภาพคนรูปผู้ชาย รูปผู้หญิง และรูปตนเอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้คะแนนภาพวาดคนรูปผู้หญิงมากที่สุด รองลงมาได้แก่ภาพวาดรูปผู้ชาย และภาพวาดรูปตนเอง ตามลำดับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้คะแนนภาพวาดคนรูปผู้ชายมากที่สุด รองลงมาได้แก่ภาพวาดคนรูปตนเอง และภาพวาดคนรูปผู้หญิง ตามลำดับ ส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ได้คะแนนภาพวาดรูปผู้ชายมากที่สุด รองลงมาได้แก่ภาพวาดรูปตนเอง และภาพวาดรูปผู้หญิง ตามลำดับ 3) ลักษณะรายละเอียดของภาพคน ที่พบมากที่สุดในภาพวาดคนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้แก่การติดของร่างกาย (การวาดแขน, ขา) และลักษณะที่พบน้อยที่สุดได้แก่นิ้วมือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ลักษณะรายละเอียดของภาพคนที่พบมากที่สุดได้แก่ลำตัว และลักษณะที่พบน้อยที่สุดได้แก่นิ้วมือ และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ลักษณะรายละเอียดของภาพคนที่พบมากที่สุดได้แก่ลำตัว และลักษณะที่พบน้อยสุดได้แก่หู 4) ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการวาดภาพคน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ชอบวาดภาพ โดยนักเรียนชอบวาดภาพคนเกี่ยวกับจินตนาการมากที่สุด และท่าทางของภาพคนที่นักเรียนอยากวาดมากที่สุดมีใกล้เคียงกัน 2 ท่าทางคือ ท่ายืนและท่ากำลังเคลื่อนไหวลักษณะต่างๆ ในส่วนของการวาดภาพคน นักเรียนคิดว่าการวาดอวัยวะส่วนต่างๆ เช่น แขน ขา นิ้วมือ นิ้วเท้า เป็นสิ่งที่วาดยากที่สุด และนักเรียนอยากให้มีการสอนเกี่ยวกับ "การวาดภาพคน" เพิ่มเติมในส่วนวิธีการวาด "ท่าทางการเคลื่อนไหว" มากที่สุด นักเรียนคิดว่าการวาดภาพคนที่ยากที่สุด คือการวาดภาพจากคนจริง และสิ่งที่นักเรียนอยากนำมาใช้ในการวาดภาพคนมากที่สุดได้แก่ ดินสอนักเรียนส่วนมากมีความรู้สึกสนุกสนานในวิชาศิลปะ โดยกิจกรรมวาดภาพระบายสีเป็นกิจกรรมที่นักเรียนชอบมากที่สุดen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study of human figure drawing off prathomsuksa four to six in elementary school under the Bangkok Metropolitan Administration. The sample group included 180 students on the second semester of 2000 academic year. The instruments were 1) Human figure drawing test and check list scores human figure drawing test DAP (Draw-A-Person) developed by Naglieri (1988) and translated in Thai language by Daranee Utairhattanakit (1996) and 2) a set of questionnaires. The data were analyzed by using means, standard deviations, percentages, and frequencies. The findings were 1) The highest scored human figure drawings were of prothomsuksa five, prathomsuksa four and prathomsuksa six respectively. 2) In terms of 3 types of human figure drawing, man, woman and myself, prathomsuksa four students got the highest score on drawing woman, man and myself respectively, prathomsuksa five were man, myself and woman respectively. Finally, prathomsuksa six were man, myself and woman respectively. 3) The most of details shown in students human figure drawing of prathomsuksa four were the attachment of body (limbs) and the least of appeared were fingers. Finally, in prathomsuksa six the most of details shown were trunk and the least were ears. 4) The opinions of students concerning human figure drawing were as followed. They liked drawing human figure. Students enjoyed drawing human figure using imagination. For the drawings showing human action, students liked to draw a standing post and to drawing showing body movement. The most difficult parts of human body to draw were those of smaller organs such as arms, legs, fingers and toes. Additional human figure drawing lessons the students would like to have portrait drawing lessons. Students liked to draw human figure using pencils. Students enjoyed in period of art lesson and liked drawing and painting in art activities.en
dc.format.extent2252260 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.439-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการวาดภาพคนเหมือนen
dc.subjectศิลปะกับเด็กen
dc.subjectศิลปกรรมของเด็กen
dc.subjectศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)en
dc.titleการศึกษาการวาดภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativestudy of human figure drawing of prathom suksa four to six students in elementary schools under the Bangkok Metropolitan Administrationen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAmpai.Ti@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.439-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pavida.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.