Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4247
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนวลน้อย ตรีรัตน์-
dc.contributor.authorประวิทย์ โรจน์กังสดาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-09-27T03:00:26Z-
dc.date.available2007-09-27T03:00:26Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743345639-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4247-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงพฤติกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างระดับราคา กับระดับผลผลิตเปรียบเทียบในช่วงระยะสั้น และระยะยาว โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาสในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2539 อีกทั้งยังวิเคราะห์ผลกระทบจากอิทธิพลของวัฏจักรราคาที่เกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจ รวมไปถึงการศึกษาผลจากแนวนโยบายการเงิน และการคลังของรัฐต่อการเคลื่อนไหวของระดับราคา และระดับผลผลิต การวิเคราะห์เริ่มจากการหาความสัมพันธ์เบื้องต้นระหว่างระดับราคาและระดับผลผลิตที่แท้จริง โดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ร่วมของข้อมูลเฉลี่ยในแต่ละช่วงเวลา หลังจากนั้นจึงหาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว และสมการการปรับตัวในระยะสั้น โดยใช้วิธี Cointegration and Error Correction ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงของวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ และผลของวิกฤตการณ์ภายนอก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เบื้องต้น และความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวพบประเด็นที่สำคัญ 2 ประการคือ ประการแรก อิทธิพลของระดับราคาต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับผลผลิตที่แท้จริง มีมากกว่าผลของระดับผลผลิตที่แท้จริงที่มีต่อระดับราคา ประการที่สอง ความสัมพันธ์ระหว่างระดับราคาและระดับผลผลิตที่แท้จริงที่เกิดขึ้นในดุลยภาพสุดท้ายในระยะยาวมีทิศทางตรงกันข้าม สำหรับผลการวิเคราะห์ลักษณะการปรับตัวในระยะสั้น และการตอบสนองของระดับราคากับระดับผลผลิตที่แท้จริงจากวิกฤตการณ์ภายในจะสอดคล้องกันคือ ลักษณะการปรับตัวของระดับราคา กับระดับผลผลิตที่แท้จริงจะมีแนวโน้มเข้าสู่ดุลยภาพ แต่เคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้าม โดยผลของวิกฤตการณ์จากระดับราคาจะกระทบต่อตัวแปรในระบบมากกว่าผลของระดับผลผลิตที่แท้จริง ส่วนผลกระทบจากวิกฤตการณ์ภายนอกต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับราคา และระดับผลผลิตที่แท้จริงจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันในช่วงแรก แต่ผลในระยะยาวแล้วพบว่าทิศทาง และความรุนแรงของผลกระทบต่อระดับราคา และระดับผลผลิตที่แท้จริงจะต่างกัน กล่าวคือผลจากนโยบายการคลังที่เกิดขึ้นกับระดับราคาจะมีความรุนแรงกว่าผลของนโยบายการเงิน ในขณะที่ผลจากนโยบายการเงินที่เกิดขึ้นต่อระดับผลผลิตที่แท้จริงจะมีความรุนแรงกว่าผลจากนโยบายการคลัง จากพฤติกรรมความสัมพันธ์ของระดับราคาและระดับผลผลิตที่แท้จริง และลักษณะของผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอันเนื่องจากผลของวิกฤตการณ์ แสดงให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศต้องให้ความสำคัญกับขนาดและรูปแบบของการใช้นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง เพื่อจะนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เพื่อจะรักษาเสถียรภาพของระดับราคา และระดับผลผลิตที่แท้จริง ซึ่งจำนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to study the relationships between price level and output both in the short-run and long-run by using quarterly data during the period of 1980 to 1996, together with examining the effect of price cycle on the economy and how monetary and fiscal policies response to them. An analysis begins with finding cross correlation coefficient to explain the relationship between price level and real output. Thereafter, it will conduct long-run equilibrium relationship and short-run adjustment model by using advanced econometric techniques, namely cointegration and error correction mechanism. Two important points from the finding of correlation coefficient and long-run equilibrium relationship are as follows. First, responses of price level to changes of real output have more effects than those of real output to changes of price. Second, in the long-run equilibrium, the relationship between price level and real output are moving inversely. The results of the short-run adjustment and the responses of price level and real output from endogenous shock are consistency. Their fluctuation is mainly caused by price shock rather than real output shock. For exogenous variable, its effects on price level and real output are the same at the beginning but change over time. Fiscal policies result in more severe changes to price level than what monetary policies do, whereas the repurcussion from fiscal policies on real output is less than these of monetary policies. having explained the correlation between price level and real output and the consequences from different types of shock, it clearly indicates the significance of both fiscal and monetary policies. If they are well planned, their implementation stage would be easier. Such policies should therefore be scrutinized by policy makers, to maintain optimal price and output stability which will lead to the fostering of sustainable economic development of a country.en
dc.format.extent19471352 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.384-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการกำหนดราคาen
dc.subjectราคาen
dc.subjectนโยบายการเงินen
dc.titleการวิเคราะห์พฤติกรรมของวัฏจักรราคาen
dc.title.alternativeAn analysis of cyclical behavior of priceen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNualnoi.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.384-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prawit.pdf7.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.