Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42788
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรเนตร อารีโสภณพิเชฐen_US
dc.contributor.advisorอัจฉรา ไชยูปถัมภ์en_US
dc.contributor.authorเบญญาภา คงมาลัยen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:21:22Z
dc.date.available2015-06-24T06:21:22Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42788
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้ วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้ และพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การจัดการความรู้ในองค์กรและสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งสิ้น 14 คน (2) นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เปิดครบ 3 สาขาวิชาตามมาตรฐาน ISCED รวม 7 สถาบัน จำนวน 618 คน และ (3) นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมินและแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. สมรรถนะการจัดการความรู้ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ประกอบด้วย 9 สมรรถนะ ได้แก่ (1) มีความรู้ด้านหลักการจัดการความรู้ (2) มีความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (3) มีทักษะด้านการบ่งชี้ความรู้ (4) มีทักษะในการจัดการความรู้ (5) มีทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล (6) มีทักษะในการแบ่งปันความรู้ (7) มีทักษะการคิดและแก้ปัญหา (8) มีจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์ในการจัดการความรู้ และ (9) มีความรับผิดชอบในการแบ่งปันความรู้ 2. สรุปผลการประเมินสมรรถนะการจัดการความรู้ ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ทั้ง 9 สมรรถนะพบว่า สมรรถนะการจัดการความรู้ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.25) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า สมรรถนะที่ค่าเฉลี่ย ต่ำสุดคือ สมรรถนะด้านความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.89) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมรรถนะที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ สมรรถนะการมีจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 3.57) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การพัฒนารูปแบบสมรรถนะการจัดการความรู้ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดกิจกรรมและการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ กระบวนการจัดกิจกรรมแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ให้ความรู้และจัดกิจกรรมกระบวนการพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้ 27 ชั่วโมง ระยะที่ 2 ดำเนินโครงงานพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้และระยะที่ 3 ติดตามผลและประเมินสมรรถนะการจัดการความรู้ 9 ชั่วโมง รวมทั้งหมดเป็น 36 ชั่วโมง ประสิทธิผลของสมรรถนะการจัดการความรู้ของผู้เรียนพบว่า ผลการประเมินหลังการทดลองสูงกว่าผลการประเมินก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p= .018) โดยค่าเฉลี่ยสมรรถนะด้านการจัดการความรู้ในภาพรวมก่อนการทดลองอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.42) ค่าเฉลี่ยสมรรถนะด้านการจัดการความรู้หลังการทดลองอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 3.92)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to analyze and synthesize concepts concerning the process of knowledge management competency of undergraduate students, study current status, problems and obstacles of knowledge management competency, and develop forms of the knowledge management competency of undergraduate students. There were three groups of samples, consisting of 1) 14 experts having experiences of knowledge management in organizations and higher education institutes, 2) 618 undergraduate students of 7 government universities providing 3 majors following the ISCED standard, and 3) 30 undergraduate students studying in the first to fourth year at Chulalongkorn University. The instruments were the opened-end questions for in-depth interview, questionnaires, an assessment form and a record form, Data were analyzed by means of content analysis and descriptive statistics; mean, percentage, standard deviation, two-way ANOVA, and paired t-test. The results were as follows. 1. The knowledge management competency of undergraduate students consisted of 1) Contents of knowledge management 2) understanding about information technology 3) knowledge identification, 4) knowledge management skills 5) interpersonal communication 6) knowledge sharing 7) thinking and problem solving skills 8) knowledge management ethics and honesty, and 9) knowledge sharing responsibility. 2. The total mean of knowledge management competency of undergraduate students was at a medium level (mean = 3.25) at the statistical significance level of .05. When considering each aspect, understanding about information technology was found to be the lowest ranked competency, at a medium level (mean = 2.89) at the statistical significance level of .05, whereas consciousness on virtue, ethics and honesty in knowledge management had the highest mean, ranking at a good level (mean = 3.57) without the statistical significance level of .05. 3. For the model of knowledge management competency of undergraduate students consisted of principles, objectives, learning outcomes, learning contents and activity arrangement processes. The processes were 36 hours of activity arrangement divided into 3 phases: The results the post experiment were higher than pre-experience at the statistical significance level of .05 (p = .018). Overall of knowledge management competency of undergraduate students group before the experiment was at a medium level (mean = 3.42), whereas the result after the experiment was at a good level (mean = 3.92).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.267-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้
dc.subjectการศึกษาขั้นอุดมศึกษา
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.subjectKnowledge management
dc.subjectEducation, Higher
dc.titleรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการความรู้ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตen_US
dc.title.alternativeA MODEL OF KNOWLEDGE MANAGEMENT COMPETENCY DEVELOPMENT OF UNDERGRADUATE STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsornnate@gmail.comen_US
dc.email.advisorAtchara.C@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.267-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284466227.pdf8.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.