Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42829
Title: | การซ้อนนิทานในวรรณคดีชาดกของไทย |
Other Titles: | TALES WITHIN TALES IN THAI JATAKA LITERATURE |
Authors: | ทศพล ศรีพุ่ม |
Advisors: | อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | arthid_s@yahoo.com |
Subjects: | พุทธศาสนากับวรรณคดี การเล่าเรื่อง พระโพธิสัตว์ Buddhism and literature Narration (Rhetoric) Bodhisattvas |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการซ้อนนิทานในวรรณคดีชาดกของไทยจำนวน 9 เรื่อง ได้แก่ สรรพสิทธิชาดก ทุกัมมานิกชาดก สุรัพภชาดก ศรีวิชัยชาดก ธนัญชัยบัณฑิตชาดก ลิลิตศรีวิชัยชาดก นกกระจาบกลอนสวด สรรพสิทธิ์คำฉันท์ และปะทุมชาฎกว่าด้วยกลแห่งษัตรี เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและบทบาทของการซ้อนนิทานในวรรณคดีดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของการซ้อนนิทานในวรรณคดีชาดกของไทยสัมพันธ์กับโครงเรื่อง จำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ การซ้อนนิทานที่เป็นกลวิธีการเล่าเรื่องหลักซึ่งปรากฏในวรรณคดีชาดกที่มีโครงเรื่องไม่ซับซ้อน มีผลต่อการคลี่คลายปมปัญหาหลักของเรื่องทั้งยังช่วยนำเสนอแนวคิดหลักของเรื่องโดยตรง และการซ้อนนิทานที่เป็นกลวิธีการเล่าเรื่องเสริมซึ่งปรากฏในวรรณคดีที่มีโครงเรื่องซับซ้อน มีผลต่อการเล่าเรื่องในเหตุการณ์บางตอนและช่วยนำเสนอแนวคิดเสริมอื่นๆ การซ้อนนิทานในวรรณคดีชาดกมี 4 ประเภท ได้แก่ การซ้อนนิทานเพื่อตั้งคำถาม การซ้อนนิทานเพื่อเป็นอุทาหรณ์ การซ้อนนิทานเพื่ออธิบายเปรียบเทียบ และการซ้อนนิทานเพื่อแสดงอดีตชาติ ประเภทการซ้อนนิทานเหล่านี้ปรากฏอยู่ในแนวเรื่องที่แตกต่างกัน 3 แนวเรื่อง ได้แก่ แนวเรื่องทดสอบความสามารถเพื่อเลือกคู่จะใช้การซ้อนนิทานเพื่อตั้งคำถาม แนวเรื่องพระโพธิสัตว์ต้องโทษประหารจะใช้การซ้อนนิทานเพื่อเป็นอุทาหรณ์ และแนวเรื่องพระโพธิสัตว์แสดงคำสอนจะใช้การซ้อนนิทานเพื่อเป็นอุทาหรณ์ เพื่ออธิบายเปรียบเทียบ และเพื่อแสดงอดีตชาติ โดยมีจุดประสงค์ให้การเล่าเรื่องเพื่อนำเสนอแนวคิดเรื่องปัญญาและปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์ในวรรณคดีกลุ่มนี้ชัดเจนและน่าสนใจยิ่งขึ้น การซ้อนนิทานมีบทบาทในการนำเสนอปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถแก้ไขบททดสอบและสั่งสอนบุคคลต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่แยบคาย ทั้งยังทำให้ผู้อ่านเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เหมาะแก่การดำเนินชีวิตของบุคคลทั่วไป ได้แก่ หลักธรรมเรื่องปัญญา เรื่องการคบคน เรื่องวิบากกรรม เรื่องการบำเพ็ญจิต การซ้อนนิทานจึงเป็นกลวิธีที่ทำให้เกิดการตีความคำสอน และชักนำให้ผู้อ่านเห็นตัวอย่างที่หลากหลายของคำสอนแต่ละเรื่อง ทำให้ผู้อ่านได้วิเคราะห์ใคร่ครวญด้วยปัญญา อันเป็นพันธกิจของวรรณคดีกลุ่มนี้ที่มีบทบาทประการหนึ่งในการสร้างปัญญาให้แก่ผู้อ่าน ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นอัจฉริยภาพของกวีไทยในสมัยอยุธยาสืบต่อมาถึงกวีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่สามารถนำเรื่องราวและกลวิธีการประพันธ์ในวรรณคดีบาลีและวรรณคดีสันสกฤตมาปรับใช้ในการสร้างสรรค์วรรณคดีชาดกทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เพื่อมุ่งสื่อสาระธรรมเรื่อง “ปัญญา” ให้แก่คนไทย |
Other Abstract: | This dissertation aims to study the frame story technique in nine Thai Jātaka literatures: Sapphasit Chadok, Thukammanik Chadok, Surappha Chadok, Srivichai Chadok, Thananchai Bandit Chadok, Nok Krajab Klonsuat, Lilit Srivichai Chadok, Sapphasit Kamchan, and Pathum Chadok Waduay Kol Haeng Satri. The purpose is to analyze the characteristics and functions of this technique in these literatures. The study finds that the characteristics of the frame story technique are related to the plot structure. The technique can be classified into two types: main narrating technique and ancillary narrating technique. The frame story as a main narrating technique is used in the stories with a simple plot, triggering the end of the story and conveying the main theme. The frame story technique as an ancillary narrating technique is used in the stories with a complex plot, narrating only in some parts of the story and helping demonstrate the sub-themes. From these relationships, frame story technique can be categorized, by purpose of the tale-teller, into four types: frame story for questioning, for exemplification, for metaphorical-explanation, and for explanation of one’s past life. These four types of the technique are used in three different types of story. The first is the test for marriage type which uses the frame story for questioning. The second is the execution of the Bodhisattva type which uses the frame story for exemplification. And lastly, the teaching of the Bodhisattva type which uses the frame story for exemplification, the frame story for metaphorical-explanation, and the frame story for explanation of one’s past life. One of the main goals of these various uses is to make the storytelling complex and to convey the themes of wisdom and the perfection of wisdom. The analysis of function shows that the frame story technique demonstrates the cultivation of the perfection of wisdom, performed through Bodhisattva solving tests and teaching various audiences with subtlety. It also asserts four Buddhist worldly virtues which mainly mean to guide lay people in everyday life. The first two virtues are teaching of wisdom and teaching of companionship which appear as the main theme of the stories. The other two virtues are teaching of karma and of meditation which are asserted as sub-themes. The technique encourages the readers to interpret the teachings and illustrates varieties of them in the stories. This process brings the readers to contemplation which is one of the obligations of the Jātaka genre to engender wisdom to the readers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42829 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.301 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.301 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5380200022.pdf | 4.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.