Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42845
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร | en_US |
dc.contributor.author | ชมพูนุช ลลิตมงคล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:21:51Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:21:51Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42845 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาวะภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมตามการรับรู้ของเยาวชน 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพ ปัจจัยและเงื่อนไขในการเรียนรู้ของเยาวชนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม 3) เพื่อนำเสนอกระบวนการเรียนรู้ของเยาวชน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากเยาวชนอายุ 15-24 ปี ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 568 คน จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS FOR WINDOW นอกจากนี้ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม และผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและเยาวชนจำนวน 6 ท่าน สนทนากลุ่ม (focus group) ตัวแทนกลุ่มเยาวชน โรงเรียน ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 คน รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) ตัวแทนกลุ่มเยาวชน ครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน จำนวน 8 คน เพื่อนำผลมาวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปเป็นกระบวนการเรียนรู้ของเยาวชนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม ผลการวิเคราะห์พบว่า สภาวะภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมตามการรับรู้ของเยาวชนใน 4 ด้านดังนี้ 1) วัฒนธรรมการบริโภค พบว่าเยาวชนในกรุงเทพมหานครที่มีวัฒนธรรมการบริโภคแบบเน้นความสะดวกและรวดเร็วเป็นหลัก มีความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ด้วยการสนับสนุนอาหารไทยท้องถิ่นมากที่สุด และการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และสะอาด 2) วัฒนธรรมการแต่งกาย พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่นิยมแต่งกายตามแบบที่ตนเองชอบ มีแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์ว่าควรแต่งชุดไทยในโอกาสสำคัญ มีแนวทางการเลือกและปรับเปลี่ยนการแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อยและเหมาะสม 3) วัฒนธรรมการใช้ภาษา พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่ให้ความหมายของการอนุรักษ์ภาษาไทยคือ การฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง แนวทางการเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมและถูกกาลเทศะ และแนวทางปรับเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาที่หลากหลาย 4) วัฒนธรรมการแสดงออกทางเพศ พบว่าเยาวชนส่วนใหญ่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน และไม่เห็นด้วยกับการอยู่ก่อนแต่ง โดยเยาวชนให้ความหมายของการแสดงออกทางเพศที่เหมาะสมคือ แสดงออกให้ถูกที่ ถูกเวลา และเหมาะสม มีการปรับเปลี่ยนการแสดงออกไปตามยุคสมัยแต่อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ผลการวิเคราะห์สภาพ ปัจจัยและเงื่อนไขในการเรียนรู้ของเยาวชน พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่มีวิธีการเรียนรู้แบบเป็นระบบและต่อเนื่องมากที่สุดในวัฒนธรรมทุกด้าน ในขณะที่บ้านเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่สุดและครอบครัวเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมด้านการบริโภค และแสดงออกทางเพศ สถานศึกษาเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่สุดในวัฒนธรรมการใช้ภาษา และการแต่งกาย ดังนั้นแนวทางในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม ควรมีการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกันระหว่างครอบครัว ชุมชนและสถานศึกษา โดยบูรณาการเรื่องภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรมเข้ากับเนื้อหาวิชาเรียนในทุกกลุ่มสาระ พัฒนาบุคลากรในการให้ความรู้และจัดกิจกรรม ปรับปรุงสื่อและกิจกรรม และจัดหาแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้และได้ประโยชน์จากการเรียนรู้สูงสุด | en_US |
dc.description.abstractalternative | Abstract This research is a quantitative research and qualitative research. The objectives of this research were 1) to study cultural immunity state of youth base on their acknowledge 2) to analyze state factors and conditions of youth’s learning process for enhancing cultural immunity and 3) to propose guidelines for youth’s learning process for enhancing cultural immunity. The research sample comprised by collecting data from 568 youth with aged between 15-24 years in Bangkok, then analyzed statistical data by a computer program SPSS FOR WINDOW. In addition, the researchers interviewed of 6 experts in culture, children and youth professionals, focus group of 7 persons representing youth groups, families, communities and involved agencies, including In depth interview of 8 persons from representing youth groups, families, communities and involved agencies. The researchers will present the results of a questionnaire and interviews. The results of the study were as follows:- Cultural immunity of youth based on their perception in four aspects: 1) Cultural immunity in terms of consumer, most popular costume dress according to their own preferences. Conservation by supporting local Thai food, select cleans eating and useful. 2) Cultural immunity in terms of propriety of dress, most popular costume dress according to their own preferences. Conservation by wearing Thai dress only on occasion, selection of appropriate dress and modifying dressing modestly. 3) Culture immunity in terms of language, most Bangkok youth have meaning of conservation of Thai language to listen, speak, read and write correctly. Selection of the appropriate language and timely, and modifying by learning various languages. The majority of the youth never had sex in study age and disagree with premarital sex. Definition of sexual appropriate expression of youth is expression for the right time and right place. Modifying sexual expression with age, but is in reasonable limits. The analysis Factors and conditions in the learning of youth as follows, the majority of the youth think that a consecutive and systematic process is the most effective way of enhancing cultural immunity regarding language. While home is the most important learning resource and family is the most influential factor in determining cultural immunity regarding consumer culture, sexuality and propriety of dress. Therefore, the proposed guidelines for enhancing cultural immunity through the learning process consists of building relationships and partnerships between families communities and schools, the integration of cultural immunity into the content of all subjects, training personnel in imparting knowledge and managing activities, improving media and providing appropriate learning resources. These measures will improve the learning process and allow the youth to get the most out of learning. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.342 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การเรียนรู้แบบพินิจพิเคราะห์ | |
dc.subject | เยาวชน -- การดำเนินชีวิต | |
dc.subject | วัฒนธรรมไทย | |
dc.subject | Reflective learning | |
dc.subject | Youth -- Conduct of life | |
dc.title | กระบวนการเรียนรู้ของเยาวชนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม | en_US |
dc.title.alternative | THE LEARNING PROCESSES OF THE YOUTH FOR CULTURAL IMMUNITY ENHANCEMENT | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พัฒนศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ubonwan_h@yahoo.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.342 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5383325327.pdf | 10.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.