Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42865
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาชัญญา รัตนอุบล | en_US |
dc.contributor.advisor | ปาน กิมปี | en_US |
dc.contributor.author | ชนันภรณ์ อารีกุล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:22:01Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:22:01Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42865 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของทุนทางสังคมและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคมในสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคมเพื่อการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขของรูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคมเพื่อการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการศึกษาเอกสาร การสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน การศึกษาภาคสนามแบบพหุกรณีศึกษา การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต ประเด็นการสนทนากลุ่มและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา โดยผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของทุนทางสังคมในสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ได้แก่ บุคคล สถาบัน ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและกองทุนของชุมชน สำหรับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคมในสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคมและแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคม กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคม ได้แก่ การมีส่วนร่วมอย่างไว้วางใจในการศึกษาปัญหา การมีส่วนร่วมอย่างไว้วางใจในการวางแผน การมีส่วนร่วมอย่างไว้วางใจในการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมอย่างไว้วางใจในการรับผลประโยชน์และการมีส่วนร่วมอย่างไว้วางใจในการประเมินผล สำหรับแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคม ได้แก่ การเสริมสร้างการเรียนรู้ของชุมชน การสร้างเครือข่ายเข้มแข็ง การสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิดและการบริหารจัดการชุมชน 2) รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคมเพื่อการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1. แนวคิดพื้นฐานของรูปแบบ ได้แก่ แนวคิดการพึ่งตนเอง การมีส่วนร่วม การศึกษาตลอดชีวิต การสร้างความไว้วางใจและการยึดมั่นในหลักคุณธรรม 2. องค์ประกอบของทุนทางสังคม ได้แก่ บุคคล สถาบัน ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและกองทุนของชุมชน และ 3. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคม ได้แก่ กระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคมและแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคม 3) ปัจจัยของรูปแบบ ได้แก่ ปัจจัยภายในด้านบุคคลและปัจจัยภายในด้านบริบทชุมชน ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง การสนับสนุนจากภาครัฐและสถานการณ์ปัจจุบันของสังคมไทยและสังคมโลก สำหรับเงื่อนไขของรูปแบบ ได้แก่ ความตระหนักของคนในชุมชน การจัดการทุนทางสังคมและความเป็นพลวัตของการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคม | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to: 1) analyze and synthesize the components of social capital and strengthening social capital in a sustainable lifelong learning society, 2) develop a model of strengthening social capital for being a sustainable lifelong learning society, and 3) analyze the factors and conditions of a model of strengthening social capital for being a sustainable lifelong learning society. The research methodology was the qualitative research by documentary study, qualitative research synthesis (meta-ethnography), multiple fields study, focus group discussion, and in-depth interview. The research instruments consisted of a data analysis form, an interview form, an observation form, a focus group discussion guideline and an in-depth interview guideline. The qualitative data were analyzed and synthesized by using the content analysis. The results were as follow: 1) The components of social capital in a sustainable lifelong learning society comprised human, institution, wisdom knowledge and culture, natural resources, and community funds. The strengthening social capital in a sustainable lifelong learning society consisted of the strengthening process and the strengthening guidelines. The strengthening process comprised trusty participation in problem-studying, trusty participation in decision-making, trusty participation in implementation, trusty participation in benefits, and trusty participation in evaluation. The strengthening guidelines were enhancing the learning of community, building up the strong network, building up the proud consciousness of hometown, and managing the community. 2) The model of strengthening social capital for being a sustainable lifelong learning society consisted of 1. the primary concepts of model were self-reliance concept, participation concept, lifelong education concept, building trust concept, and integrity concept, 2. the components of social capital were human, institution, wisdom knowledge and culture, natural resources, and community funds, and 3. the strengthening social capital consisted of the strengthening process and the strengthening guidelines 3) The factors of a model were the internal factors of people and context of community. The external factors were strong network, supporting from government, and global and local social trends. The conditions of a model were awareness of people, social capital management, and dynamic of the strengthening social capital. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.360 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ทุนทางสังคม | |
dc.subject | การศึกษาต่อเนื่อง | |
dc.subject | การศึกษานอกระบบโรงเรียน | |
dc.subject | Social capital (Sociology) | |
dc.subject | Continuing education | |
dc.subject | Non-formal education | |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของทุนทางสังคมเพื่อการเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน | en_US |
dc.title.alternative | MODEL DEVELOPMENT FOR STRENGTHENING SOCIAL CAPITAL FOR BEING A SUSTAINABLE LIFELONG LEARNING SOCIETY | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | การศึกษานอกระบบโรงเรียน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | archanya@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | peterparnk@hotmail.com | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.360 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5384214527.pdf | 7.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.