Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42867
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนิตา รักษ์พลเมืองen_US
dc.contributor.advisorชนิศา ตันติเฉลิมen_US
dc.contributor.authorโสภณ ชัยวัฒนกุลวานิชen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:22:02Z
dc.date.available2015-06-24T06:22:02Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42867
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research หรือ PAR) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาทางเลือกเพื่อพัฒนาคุณภาพ: กรณีศึกษาเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต: กรณีศึกษาเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) รูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ด้านรูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือก มี 4 รูปแบบ คือสถานศึกษารูปแบบพิเศษ นวัตกรรมการศึกษา การจัดโปรแกรมพิเศษ และการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ด้านหลักสูตร มุ่งเน้นเนื้อหาวิชาการ การสร้างทักษะ และการเรียนรู้ที่หลากหลาย และการบำบัดรักษา ด้านหลักการสำคัญ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาศักยภาพนักเรียนเป็นรายบุคคล กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจและตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง การสร้างการเปลี่ยนแปลงผู้เรียนอย่างเป็นระบบ การกระจายโอกาสทางการศึกษา การร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม 2) สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาทางเลือก ประกอบด้วย สภาพการจัดการศึกษา 7 ประการ ดังนี้ 1.การบริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการระดับประเทศและระดับหน่วยงาน 2.การสนับสนุนในด้านนโยบาย วิชาการและทรัพยากร 3.นวัตกรรมการสอนแบบสองภาษาสำหรับเด็กหูหนวก ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟ 4.การฝึกอบรมครูที่เป็นระบบต่อเนื่องสม่ำเสมอ 5.เครือข่ายการดำเนินงานในรูปแบบการมีส่วนร่วม 6.การนิเทศ กำกับและติดตามที่เป็นระบบอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยใช้เทคนิคการนิเทศแบบเยี่ยมชั้นเรียน และการนิเทศแบบ Mentoring และ 7.การวิจัยประเมินผลมีการวิจัยประเมินผลทุกระยะทั้งระดับโรงเรียน ระดับโครงการและมีการเผยแพร่ผลงานวิจัย และสภาพปัญหา อัตรากำลังครูและงบประมาณดำเนินงานมีไม่เพียงพอ ความรู้และความสามารถของครูยังไม่พอ และนักเรียนมีความพิการซ้ำซ้อน 3) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า AVS Model ประกอบด้วย แนวการเรียนรู้ที่มีลักษณะยืดหยุ่น มีความเป็นอิสระและมีการบูรณาการเนื้อหา 3 ส่วนเข้าด้วยกันดังนี้ ทักษะทางวิชาการ ทักษะทางอาชีพ และทักษะทางสังคม โดยมีบริการสนับสนุน 6 บริการ ได้แก่ 1.การให้คำปรึกษา 2.การสนับสนุนการเรียนรู้ 3.การสอนและการเรียนรู้ 4.เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก 5.การบริการพิเศษ และ 6.การนิเทศ กำกับและติดตาม ทั้งนี้ต้องมีทัศนคติที่ดีและได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม โดยมีปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ คือ ความรู้ ความเข้มแข็ง ความร่วมมือและความชัดเจนen_US
dc.description.abstractalternativeThis research was a qualitative research using a documentary research and participatory action research or PAR with the aim 1) to analyze the models for alternative educational provisions to improve the quality of life for children with special needs, and, 2) to study the conditions and problems of alternative educational provision for children with special need in Thailand. This research employs a case study on the development of a model for alternative educational provisions to improve the quality of life of children hearing impairment. The results are as follow: 1) Models for alternative educational provisions to improve quality of life of children with special needs were categorized into 4 types: special schools, educational innovation, special programs, and communication technology. The course content focuses on academic contents, skill building and diverse learning, and treatment therapies. The important principle also emphasizes students centered and individual student development to the maximum capacity. Moreover, instructional management that provided students with self-awareness and self-esteem, focused on creating a systematic change in the learner, the distribution of educational opportunities and collaborative partnership networks, both in public, private and civil society. 2) The condition and management issues in alternative education had seven management conditions were 1.management in form of national and institute committee. 2.support in policies, academic, and resources. 3.Bilingual Waldorf inspired Education for the Deaf. 4.Training for teachers’ improvement must be consistently. 5.networks operating in the form of participation. 6.systematic supervision and monitoring conducted regularly and continuously by visiting classes and mentoring. 7.evaluation research and assessment in every levels; schools, projects, published research, staffing problems and operating budgets were inadequate, knowledge and competence of the teachers were not enough, moreover, the students were multiple disabilities. 3) Developed model was called the AVS Model consisted of flexible learning characteristics which were independent and integrating three contents into academic skill, professional skill and social skill and had six services support were 1.consulting support 2.learning support 3.teaching and learning support 4.technology support 5.service delivery support and 6.monitoring and evaluation support. Most importantly, they had to have a positive attitude and the cooperation from the networks: private sector, civil society also a fundamental knowledge of their knowledge, strength, collaboration also the clarity.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.362-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษาทางเลือก
dc.subjectความบกพร่องทางการได้ยิน
dc.subjectการพัฒนาการศึกษา
dc.subjectAlternative education
dc.subjectHearing impaired
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ: กรณีศึกษาเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF AN ALTERNATIVE EDUCATIONAL PROVISION MODEL TO IMPROVE QUALITY OF LIFE OF CHILDREN WITH SPECIAL NEEDS: A CASE STUDY OF HEARING IMPAIRED CHILDRENen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChanita.r@chula.ac.then_US
dc.email.advisordr.chanita@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.362-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384278727.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.