Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42997
Title: การสร้างโมเดลการตอบสนองรายข้อแบบพหุมิติ พหุระดับของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์กรของครู
Other Titles: MULTILEVEL- MULTIDIMENSIONAL ITEM RESPONSE MODELING OFTEACHERS’ ORGANIZATIONAL CITIZENSHIP BEHAVIORS
Authors: วนิดา ดีแป้น
Advisors: โชติกา ภาษีผล
ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: aimornj@hotmail.com
ssiridej@chula.ac.th
Subjects: การศึกษา -- การประเมิน
การศึกษา -- การวัดผล
ครู -- การประเมิน
Educational evaluation
Teachers -- Rating of
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างโมเดลการวัดและพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์กรแบบพหุมิติ พหุระดับ ของครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองรายข้อแบบพหุมิติ (MIRT) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ (MCFA) และ 3) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์กรและสร้างเกณฑ์ปกติของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์กร ของครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1,241 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Mplus 7.11 ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลการวัดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์กรแบบพหุมิติ พหุระดับของครู แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับบุคคลและระดับองค์กร ซึ่งในแต่ละระดับวัดจาก 7 องค์ประกอบ โดยที่ 4 องค์ประกอบแรก ได้แก่ การช่วยเหลือ ความมีน้ำใจนักกีฬา การริเริ่มส่วนบุคคล และการพัฒนาตนเอง แยกการวัดเป็น 3 ด้าน คือ พฤติกรรมของครูต่อนักเรียน พฤติกรรมของครูต่อเพื่อนครู/ทีม และพฤติกรรมของครูต่อโรงเรียนหรือองค์กร ส่วนอีก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความภักดีต่อองค์กร การยินยอมปฏิบัติตามองค์กร และคุณธรรมของพลเมือง วัดเพียงด้านเดียว คือ พฤติกรรมของครูต่อโรงเรียนหรือองค์กร 2. แบบวัดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์กรของครู มีความเที่ยงเท่ากับ .9606 มีความตรงเชิงโครงสร้างแบบพหุมิติ โดยมีความแตกต่างของค่าไคสแควร์เมื่อเทียบกับโมเดลแบบเอกมิติ เท่ากับ 1,502.333 (df = 21, p = .000) มีค่าพารามิเตอร์ความยากและอำนาจจำแนกแบบพหุมิติเป็นไปตามตามเกณฑ์ คือ มีค่า Threshold แบบเรียงลำดับ (β4>β3>β2>β1) และค่าอำนาจจำแนกแบบพหุมิติอยู่ระหว่าง 0.362-1.463 3. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับบ่งชี้ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์กรของครู โดยมีค่าไคสแควร์ เท่ากับ 174.701 (df = 161, p = 0.2178), CFI = 0.999, TLI = 0.998, RMSEA = 0.010, SRMRw = 0.012 และ SRMRb = 0.048 4. ครูมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์กรภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยองค์ประกอบที่มีระดับสูงที่สุด คือการยินยอมปฏิบัติตามองค์กร องค์ประกอบที่มีระดับต่ำที่สุด คือ การริเริ่มส่วนบุคคล ส่วนเกณฑ์ปกติระดับชาติมีช่วงคะแนนที ดังนี้ การช่วยเหลือ T17 – T74 (P0.04- P99.07) ความมีน้ำใจนักกีฬา T17 – T71 (P0.04- P98.03) การริเริ่มส่วนบุคคล T17 – T74 (P0.04- P99.19) การพัฒนาตนเอง T17 – T69 (P0.04- P97.18) ความภักดีต่อองค์กร T17 – T65 (P0.04- P93.43) การยินยอมปฏิบัติตามองค์กร T19 – T65 (P0.08- P92.47) คุณธรรมของพลเมือง T17 – T65 (P0.04- P93.39)
Other Abstract: This study aimed to 1) create a multilevel multidimensional item response model of teachers’ Organizational Citizenship Behavior (OCB) and develop a teachers’ OCB scale of the Office of the Basic Education Commission teachers, 2) test the psychometric properties of the scale applying Multidimensional Item Response Theory: MIRT and Multilevel Confirmatory Factor Analysis: MCFA and 3) determine teachers’ OCB level and construct the national norm for the Office of the Basic Education Commission teachers. Multi-stage random sampling was used to select the sample for 1,241 teachers of schools under the Office of the Basic Education Commission. The data was analyzed by Mplus 7.11. The result concluded that 1. The teachers’ OCB model consisted of two levels that were within level and between levels. There were 7 factors in each level (helping, sportsmanship, individual initiative, self-development, organizational loyalty, organizational compliance and civic virtue). The first four factors were measured by 3 target groups that were student group, teacher/team group and school/organization group. The rest of 3 factors were measured by school/organization group. 2. The scale had consistency in measurement with the reliability of .9606. In addition, the MIRT analysis indicate construct validity with difference chi square of 1,502.333 (df = 21, p = .000) when comparing to UIRT model. The multidimensional parameter supported the quality of the scale with ordering threshold (β4>β3>β2>β1) and 0.362-1.463 of discrimination parameter. 3. According to MCFA analysis, the scale had construct validity with chi square of 174.701 (df = 161, p = 0.2178), CFI = 0.999, TLI = 0.998, RMSEA = 0.010, SRMRw = 0.012 and SRMRb = 0.048) 4. The Basic Education Commission teachers had overall high level of OCB. Organizational compliance was the highest and individual initiative was the lowest. The national norms of teachers’ OCB were as follows: helping was T17 – T74 (P0.04- P99.07), sportsmanship was T17 – T71 (P0.04- P98.03), individual initiative was T17 – T74 (P0.04- P99.19), self-development was T17 – T69 (P0.04- P97.18), organizational loyalty was T17 – T65 (P0.04- P93.43), organizational compliance was T19 – T65 (P0.08- P92.47) and civic virtue was T17 – T65 (P0.04- P93.39).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42997
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.466
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.466
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484239327.pdf13.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.