Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43327
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศักดา ธนิตกุลen_US
dc.contributor.authorพลวิชช์ ฉัตรธนะกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.coverage.spatialไทย
dc.date.accessioned2015-06-24T06:37:12Z
dc.date.available2015-06-24T06:37:12Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43327
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractกิจการโทรคมนาคมเป็นกิจการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งได้มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดและมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นบริการพื้นฐานในชีวิตประจำวันของประชาชนโดยทั่วไป รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันไม่เพียงแต่ไว้สำหรับติดต่อสื่อสารระหว่างกันเท่านั้น อันส่งผลให้ในปัจจุบันโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน โดยที่การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องอาศัยคลื่นความถี่ซึ่งมีอยู่จำกัดในการให้บริการ จึงจำเป็นจะต้องมีการกำกับดูแลให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ในอัตราค่าบริการที่เหมาะสม ซึ่งการจะทำให้เกิดขึ้นได้ก็โดยอาศัยการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการ โดยที่การกำกับดูแลการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันมีทั้งลักษณะที่เป็นการกำกับดูแลเชิงเยียวยาและการกำกับดูแลเชิงป้องกัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงความเหมาะสมของลักษณะการกำกับดูแลการแข่งขันสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันว่ามีความเหมาะสมต่อสภาพการแข่งขันในปัจจุบันหรือไม่เพียงใด ผลการศึกษาพบว่าสภาพการแข่งขันในตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทยในปัจจุบันยังคงมีปัญหาทางด้านอุปสรรคการเข้าสู่ตลาดสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ แต่ในขณะเดียวกันสภาพการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการรายใหญทั้ง 3 รายซึ่งมีสภาพการแข่งขันที่รุนแรงทั้งในด้านของอัตราค่าบริการและการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ส่งผลให้ตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่การแข่งขันที่มีประสิทธิภาพได้ในอนาคต ดังนั้นผู้ศึกษาวิจัยจึงเสนอแนะว่าการกำกับดูแลของหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลจึงควรใช้ลักษณะการกำกับดูแลเชิงเยียวยาเป็นหลักโดยให้ระบบกลไกตลาดเป็นตัวกำหนดการแข่งขันเพื่อให้เกิดการแทรกแซงโดยหน่วยงานกำกับดูแลน้อยที่สุด และใช้ลักษณะการกำกับดูแลเชิงป้องกันเฉพาะในกรณีที่เป็นลักษณะเฉพาะของกิจการโทรคม เช่นในเรื่องของ การเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม การโรมมิ่ง และการให้บริการบนโครงข่ายเสมือน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยผู้ประกอบการรายใหม่ และการกำกับดูแลการควบรวมกิจการซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพการแข่งขันในเท่านั้นen_US
dc.description.abstractalternativeTelecommunications sector especially in mobile service sector, which has continuous growth with rapid expansion, is a crucial sector for developing an economic of a country until it turns out to be one of the fundamental services. Moreover, the rapid development of technology makes mobile telephone not only to use for communications between people, but also for data service. There is need scarce resource, spectrum, to operate mobile service to customer, so it is need to be regulated for allocative efficiency and to make customer can obtain the service at the reasonable cost. Nowadays, Thailand mobile sector has regulated by both Ex Ante and Ex Post regulations so this thesis is aim to study whether the regulation for mobile sector is appropriate for the competition in today’s market or not. From this study, the competition in mobile market sector in Thailand at present still have a problem in barrier to entry for new entrants. However, the competition among 3 dominant mobile operators are very competitive and tend to lead the market to effective competition in the future, so the regulator should focus mainly on Ex Post regulation which allows the market system to perform first and only regulate when it is need. While there is still need to use Ex Ante regulation in some specific issue of telecommunications sector such as interconnection, roaming and mobile virtual network operators (MVNOs) which will inspire new small entrants to compete in mobile sector and increase competition in mobile sector and for regulating merger & acquisition which can affect the competition in the market.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.775-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการกำกับดูแลกิจการ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
dc.subjectการแข่งขันทางการค้า -- ไทย
dc.subjectอุตสาหกรรมบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ -- ไทย
dc.subjectCorporate governance -- Law and legislation -- Thailand
dc.subjectCompetition -- Thailand
dc.subjectCellular telephone services industry -- Thailand
dc.titleแนวทางที่เหมาะสมในการกำกับดูแลการแข่งขันในกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของไทย : เชิงป้องกัน หรือ เชิงเยียวยาen_US
dc.title.alternativeTHE APPROPRIATE REGULATION FOR THAILAND MOBILÉ SECTOR : EX ANTE OR EX POSTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSakda.T@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.775-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5386028534.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.