Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43391
Title: ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอายุเกษียณเฉลี่ยที่แท้จริงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ: กรณีศึกษา ประเทศในกลุ่ม OECD
Other Titles: The Economic Effects of Effective Retirement Age on Economic Growth: A Case Study of OECD Countries
Authors: อาภากร นพรัตยาภรณ์
Advisors: วรเวศม์ สุวรรณระดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Worawet.S@Chula.ac.th
Subjects: การเกษียณอายุ
การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
Retirement
Economic impact analysis
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศส่วนใหญ่เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไปสู่สังคมสูงวัยซึ่งทำให้กำลังแรงงานของประเทศลดลง ส่งผลในทางลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลของประเทศต่างๆ จึงออกนโยบายขยายอายุเกษียณตามกฎหมายของแรงงานเพื่อที่จะบรรเทาปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในทางทฤษฏี การเพิ่มอายุเกษียณไม่ได้ทำให้กำลังแรงงานเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลทางลบต่อการออมและส่งผลในทางบวกต่อการตัดสินใจลงทุนในทุนมนุษย์ของแรงงานอีกด้วย ทำให้ยากจะคาดการณ์ได้ว่าสุดท้ายแล้ว การเพิ่มอายุเกษียณของแรงงานจะส่งผลอย่างไรต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในการศึกษานี้จึงต้องการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอายุเกษียณเฉลี่ยที่แท้จริงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านช่องทางกำลังแรงงาน การออม และการลงทุนในทุนมนุษย์ โดยใช้แบบจำลอง Panel SVAR และใช้ข้อมูลของประเทศในกลุ่ม OECD 26 ประเทศ ในปี ค.ศ. 1998-2010 ซึ่งพบว่า เมื่ออายุเกษียณเฉลี่ยที่แท้จริงเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศลดลง เนื่องจากผลกระทบทางลบจากอัตราการออม และการลงทุนในทุนมนุษย์ที่ลดลงนั้น มากกว่าผลกระทบทางบวกจากกำลังแรงงานที่เพิ่มขึ้น
Other Abstract: Nowadays, most countries are facing a structural demographic change toward aging societies which cause labor force to decrease and has negative impacts on economic growth. So, governments in many countries have begun to set policies to increase the normal retirement age in an attempt to moderate the problems. In theory, however, an increase in retirement age does not only increase labor force but also decrease saving rate and increase human capital investment. Therefore, it is difficult to predict how increasing in retirement age will affect economic growth. Consequently, this study aims to investigate the impacts the change in effective retirement age has on economic growth through labor force, saving, and human capital investment channels by using the Panel SVAR model and the empirical data from 26 OECD countries during 1998-2010. It has been found that an increase in effective retirement age will decrease economic growth, as the negative effects of the decreased saving rate and human capital investment are greater than the positive effect of increased labor force.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43391
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.857
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.857
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5485166329.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.