Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43415
Title: ข้อขัดข้องในการเลือกผู้ทำแผนและการพ้นจากตำแหน่งของผู้ทำแผน
Other Titles: THE PROBLEMS OF PLANNER APPOINTMENT AND PLANNER TERMINATION
Authors: ธีระวัฒน์ เรืองอยู่
Advisors: ศักดา ธนิตกุล
วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: tsakda@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การฟื้นฟูบริษัท
การฟื้นฟูบริษัท -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Corporate reorganizations
Corporate reorganizations -- Law and legislation
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การฟื้นฟูกิจการเป็นกระบวนการที่มีวัตถุประสงค์ในการทำให้ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินกลับมามีสถานะทางการเงินสู่สภาพเดิม การฟื้นฟูกิจการต้องปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการ ที่ถูกจัดทำขึ้นโดยผู้ทำแผน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดในการฟื้นฟูกิจการ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและกระบวนการของกฎหมายที่เกี่ยวกับกลไกการเลือกผู้ทำแผน และหลักเกณฑ์การเปลี่ยนตัวผู้ทำแผน โดยศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับกลไกการเลือกผู้ทำแผนและหลักเกณฑ์การเปลี่ยนตัวผู้ทำแผนของไทยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 กับบทบัญญัติเกี่ยวกับกลไกการเลือกผู้ทำแผนและหลักเกณฑ์การเปลี่ยนตัวผู้ทำแผนตามกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งจากการศึกษาพบว่า กฎหมายฟื้นฟูกิจการของไทยในส่วนที่กล่าวมายังขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายฟื้นฟูกิจการ ไม่เอื้อให้การฟื้นฟูกิจการบรรลุวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย และยังก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นบทบัญญัติเรื่องกระบวนการเลือกผู้ทำแผน และการพ้นจากตำแหน่งของผู้ทำแผน ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการเสนอแนวทางในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ให้ครอบคลุมหลักการดังต่อไปนี้ 1. กำหนดให้ลูกหนี้เป็นผู้ทำแผน และกำหนดให้มีการเปลี่ยนผู้ทำแผนคนใหม่ได้โดยที่ประชุมเจ้าหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สมควรเป็นผู้ทำแผน โดยให้มีการเลือกผู้ทำแผนคนใหม่โดยที่ประชุมเจ้าหนี้ไปในคราวเดียวกัน 2. กำหนดหลักเกณฑ์ในการพ้นจากตำแหน่งของผู้ทำแผน ในกรณีที่ผู้ทำแผนเป็นลูกหนี้ 3. กำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ผู้ทำแผนลาออกให้ชัดเจน โดยให้ศาลเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาตและพิจารณาค่าเสียหายจากการลาออก ของผู้ทำแผนดังกล่าว
Other Abstract: Business Reorganization is the process of solving companies’ financial problem. Business Reorganization is managed under the plan made by the planner, who is the most important person in this process. The purpose of this thesis is to study the regulation of business reorganization law, especially the regulation on planner appointment and planner termination and other provision concerning planner, in comparision to Thailand Bankruptcy Act B.E. 2483 (A.D. 1940). The finding of this thesis is that the Thai Bankruptcy Act has problems in the process of planner appointment. Beside, the provision of the act on covering in case of a debtor is appointed. As a result of the foregoing problems, this thesis proposes suggestions for amendment of the Bankruptcy Act B.E. 2483 (1940) in order to deal with the following topics. 1. Adding a provision concerning appointment of a debtors as planners and and adding a provision concerning the removal of planner, which is voted by a creditor meeting. 2. Adding a provision concerning planner removal planners removal in case of the debtor is appointed into the Bankruptcy Act B.E. 2483 (1940). 3. Adding a provision concerning planner resignation by authorize the court to approve such resignation and fix the amount of damages for such resignation.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายการเงินและภาษีอากร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43415
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.883
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.883
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5486222034.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.