Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43536
Title: ประสิทธิภาพในการห้ามเลือดของกาวไฟบรินจากเลือดแกะในการทำศัลยกรรมตัดชิ้นเนื้อตับในสุกร
Other Titles: THE HEMOSTATIC EFFICACY OF SHEEP-DERIVED FIBRIN GLUE FOR LIVER BIOPSY IN SWINE
Authors: ศิริลักษณ์ ลัคนหัสพร
Advisors: สุมิตร ดุรงค์พงษ์ธร
ธีรวัฒน์ ธาราศานิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sumit.D@chula.ac.th
theerawat.t@chula.ac.th
Subjects: อุปกรณ์และเครื่องมือศัลยกรรม
สุกร -- การตัดเนื้อตรวจ
Surgical instruments and apparatus
Swine -- Biopsy
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กาวไฟบรินถูกใช้ในการทำศัลยกรรมอย่างกว้างขวาง เพื่อช่วยห้ามเลือดและประสานเนื้อเยื่อ การศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 การตรวจสอบผลของวงรอบการเป็นสัดต่อระดับไฟบริโนเจนในแกะ โดยใช้แกะเพศเมียจำนวน 10 ตัว ในการเปรียบเทียบระดับไฟบริโนเจนระยะเป็นสัดและระยะไดเอสตรัส ผลการศึกษาไม่พบความแตกต่างกันของระดับไฟบริโนเจนอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) ดังนั้นสามารถพัฒนากาวไฟบรินได้จากแกะทุกช่วงของระยะการเป็นสัด การทดลองที่ 2 ศึกษาประสิทธิภาพของกาวไฟบรินจากเลือดแกะในการห้ามเลือดทั้งภายนอกและภายในร่างกายของสุกรจำนวน 6 ตัว ผลการศึกษาภายนอกร่างกายพบว่าระยะเวลาที่เลือดเริ่มแข็งตัวบนแผ่นสไลด์ในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเป็น 201.1±90.47 และ 4.43±3.73 วินาที และเลือดแข็งตัวโดยสมบูรณ์ที่ 447.83±63.77 และ 31.93±4.28 วินาทีตามลำดับ ผลการศึกษาประสิทธิภาพของกาวไฟบรินภายในร่างกายสุกรโดยการห้ามเลือดที่ตับระหว่างการทำศัลยกรรมตัดชิ้นเนื้อตับเพื่อตรวจ พบว่าปริมาตรการตกเลือดซึ่งวิเคราะห์จากน้ำหนักกระดาษกรองที่เพิ่มขึ้นจากการซับเลือดภายหลังการตัดชิ้นเนื้อตับมีค่า 0.94±0.38 และ 0.1±0.12 กรัม และระยะเวลาตกเลือดเท่ากับ 175.18±11.80 และ 68.08±28.84 วินาที ในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองตามลำดับ โดยระยะเวลาที่เลือดแข็งตัวนอกร่างกาย ปริมาตรการตกเลือด และระยะเวลาตกเลือดระหว่างศัลยกรรมตัดชิ้นเนื้อตับเพื่อตรวจในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01) จากการศึกษานี้สรุปได้ว่ากาวไฟบรินจากเลือดแกะมี ประสิทธิภาพในการห้ามเลือดระหว่างการศัลยกรรมตัดชิ้นเนื้อตับเพื่อตรวจในสุกร
Other Abstract: Fibrin glue has been widely used for controlling hemorrhage and sealing tissue in surgery. This study was divided into 2 parts. Part 1 determined the effect of the estrous cycle on fibrinogen levels in ewes. Blood samples were collected either from estrus or from diestrus ewes (n=10) in order to compare the fibrinogen levels. There was no statistically significant difference of fibrinogen levels in the estrus and diestrus ewes (p>0.05). Therefore, fibrin glue could be prepared from sheep at any stages of cycle. Part 2 evaluated hemostatic efficacy of sheep-derived fibrin glue in pigs (n=6). Blood clotting time on a glass slide in control and treatment groups was started at 201.10±90.47 and 4.43±3.73 seconds, and was completed at 447.83±63.77 and 31.93±4.28 seconds, respectively. Bleeding quantities by mean of weight, which was estimated by the increment of filter paper weight after blood absorption from biopsy sites, were 0.94±0.38 and 0.10±0.12 g and bleeding times were 175.18±11.80 and 68.08±28.84 seconds during liver biopsy in control and treatment groups, respectively. Whole blood clotting time in vitro, bleeding quantity, and bleeding time during liver biopsy in the treatment group were significantly less than those of the control group (p< 0.01). In conclusion, sheep - derived fibrin glue is an effective hemostatic agent for controlling hemorrhage during liver biopsy in swine.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43536
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1008
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1008
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5575319531.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.