Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43650
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จินตวีร์ คล้ายสังข์ | en_US |
dc.contributor.advisor | ใจทิพย์ ณ สงขลา | en_US |
dc.contributor.author | ธนัทณัฏฐ์ ฉัตรภัครัตน์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:43:38Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:43:38Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43650 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการสอนเสริมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่ใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยแบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและความต้องการการสอนเสริมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบการสอนเสริมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่ใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2) สร้างต้นแบบระบบการสอนเสริมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก 3) ทดลองใช้ระบบการสอนเสริมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก และ 4) รับรองและนำเสนอระบบการสอนเสริมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 31 คน ระยะเวลาในการทดลอง 7 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระบบการสอนเสริมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่ใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า 7 ปัจจัย ได้แก่ 1) บุคลากรการสอนสอนทางไกล 2) สถานการณ์ปัญหา 3) กิจกรรมการเรียนการสอน 4) สื่อการเรียนการสอน 5) ระบบสนับสนุนผู้เรียน 6) การประเมินผล และ 7) ผู้เรียนทางไกล กระบวนการของระบบการสอนเสริมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้นมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการก่อนการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อยคือ (1) ประชาสัมพันธ์ (2) ปฐมนิเทศ (3) ฝึกอบรม (4) แบ่งกลุ่มผู้เรียน และ (5) ทดสอบก่อนเรียน 2) ขั้นดำเนินการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนย่อย คือ (1) ศึกษาเนื้อหา (2) นำเสนอสถานการณ์ปัญหาและระบุปัญหาร่วมกัน (3) วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ตั้งสมมติฐาน จัดลำดับและคัดเลือกสมมติฐานร่วมกัน (4) สร้างวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ร่วมกัน (5) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลร่วมกัน (6) สังเคราะห์ข้อมูลและตรวจสอบสมมติฐานร่วมกัน (7) นำเสนอแนวทางหรือวิธีการแก้ปัญหาร่วมกัน และ (8) สรุปหลักการแนวคิดจากการแก้ปัญหาและการประยุกต์ใช้ร่วมกัน และ 3) ขั้นประเมินผลการเรียนการสอน ผลลัพธ์ของระบบคือ ความสามารถในการแก้ปัญหา 2. ผลของการจัดการเรียนการสอนเสริมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่ใช้ปัญหาเป็นหลักสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พบว่ากลุ่มทดลองที่เรียนตามระบบการสอนเสริมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น มีความสามารถในการแก้ปัญหาสูงขึ้นก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นต่อระบบการสอนเสริมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสอนทางไกลตามแผน มสธ. 2543 (STOU PLAN 2000) และระบบการเรียนการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to develop an interactive e-tutorial system using a collaborative PBL approach to develop problem-solving ability for undergraduate students at Sukhothai Thammathirat Open University. The research and development (R&D) procedure were divided into four phases. The first phase was to study the conditions and needs of the interactive e-tutorial system from instructors and students and to collect opinions from specialists concerning the interactive e-tutorial system using a collaborative PBL approach to develop problem-solving ability. The second phase was to create the interactive e-tutorial system. The third phase was to test the effect of the interactive e-tutorial system. And the last phase was to get approval and implement the interactive e-tutorial system. The sample group in this study consisted of undergraduate students at the school of agriculture and cooperatives, Sukhothai Thammathirat Open University. Students studied the interactive e-tutorial system via the internet for seven weeks. Data were analyzed by using frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and t-test Dependent The results of this research were as follows: 1. The interactive e-tutorial system using a collaborative PBL approach to develop problem-solving ability consisted of seven components as follows: 1) personnel, 2) problem scenarios, 3) instructional activities, 4) instructional media, 5) learner support system, 6) evaluations, and 7) learners. The process of the interactive e-tutorial system included three phases: 1) instructional preparation has five steps: (1) public relations (2) orientation (3) training (4) group splitting and (5) pre-testing. 2) Instruction consisted eight steps: (1) studying content (2) presenting and identifying problem scenarios (3) analyzing problems, hypothesizing, and prioritizing hypotheses (4) identifying learning objectives (5) studying and collecting data (6) synthesizing data and testing hypotheses (7) presenting problem solving guidelines and (8) summarizing problem solving and implementation. 3) Instructional evaluation: the output of the interactive e-tutorial system was that the learners have improved problem solving ability. 2. The undergraduate students at Sukhothai Thammathirat Open University who completed the interactive e-tutorial system had statistically higher problem solving ability at .05 significant level. 3. The specialists have agreed that the interactive e-tutorial system is highly appropriate and able to be implemented as a part of long-distance learning system STOU PLAN 2000 and other plans of Sukhothai Thammathirat Open University. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1113 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กลยุทธ์การเรียนรู้ | |
dc.subject | โทรคมนาคมเพื่อการศึกษา | |
dc.subject | Learning strategies | |
dc.subject | Telecommunication in education | |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.title | การพัฒนาระบบการสอนเสริมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | en_US |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF AN INTERACTIVE E-TUTORIAL SYSTEM TO DEVELOP PROBLEM-SOLVING ABILITY FOR UNDERGRADUATE STUDENTS IN SUKHOTHAI THAMMATHIRAT OPEN UNIVERSITY | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | jinmonsakul@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | jaitip@gmail.com | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1113 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5284219627.pdf | 11.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.