Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43652
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อลิศรา ชูชาติ | en_US |
dc.contributor.advisor | พิมพันธ์ เดชะคุปต์ | en_US |
dc.contributor.author | พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-06-24T06:43:40Z | |
dc.date.available | 2015-06-24T06:43:40Z | |
dc.date.issued | 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43652 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการรูปแบบการสืบสอบแบบโต้แย้ง และแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการรู้วิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ศึกษาประสิทธิผลโดยการนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร แต่ละโรงเรียนแบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ใช้เวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดสมรรถนะการรู้วิทยาศาสตร์ แบบวัดความมีเหตุผล และแบบสังเกตพฤติกรรมความมีเหตุผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม และการทดสอบด้วยสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการรู้วิทยาศาสตร์และความมีเหตุผล โดยมีหลักการ 2 ประการ ได้แก่ (1) การใช้แบบจำลองจะช่วยส่งเสริมศักยภาพในการโต้แย้งโดยใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างมีเหตุผล (2) การนำแบบจำลองประกอบการโต้แย้งจะช่วยให้การโต้แย้งมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นแนวทางในการตรวจสอบข้อโต้แย้ง ข้อสรุป และความมีเหตุผลได้ง่าย การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 6 ขั้น ได้แก่ (1) ขั้นตั้งประเด็นคำถาม (2) ขั้นสร้างแบบจำลองเบื้องต้น (3) ขั้นสำรวจตรวจสอบแบบจำลอง (4) ขั้นปรับปรุงแบบจำลอง (5) ขั้นสร้างข้อสรุปและคำอธิบาย และ (6) ขั้นขยายความรู้ โดยมีการอภิปรายโต้แย้งอยู่ในทุกๆ ขั้น 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน ผลจากการทดลองใช้ พบว่า 2.1 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการรู้วิทยาศาสตร์ร้อยละ 60.23 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ร้อยละ 70 อย่างไรก็ตามคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการรู้วิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสูงกว่ากลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยความมีเหตุผลสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยความมีเหตุผลระหว่างนักเรียนกลุ่มโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่แตกต่างกัน และผลการสังเกตพฤติกรรมความมีเหตุผลระหว่างเรียน พบว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นแสดงพฤติกรรมความมีเหตุผลสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 9 พฤติกรรม จาก 10 พฤติกรรม | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research was a research and development with purposes to (1) develop instructional model by integrating the argument-driven inquiry model and model-based learning approach to promote scientific literacy competencies and rationality of lower secondary school, and (2) evaluate the effectiveness of the developed instructional model. This research evaluated the effectiveness of an instructional model through experimenting with the sample group, mattayom suksa II students of Demonstration Secondary School group under the Office of the Higher Education Commission and School group under of the Office of Basic Education Commission in Bangkok Metropolis. In each school, students were divided into 2 groups, including an experimental group and a controlled group. The duration of experiment was 10 weeks with research instruments, including scientific competency test and rationality test, and rationality observation form. The data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, t-test, ANCOVA, and Chi-square statistical test. The research results could be summarized as follows:- 1. The instructional model developed with an aim to promote scientific literacy competencies and rationality under 2 principles, namely (1) the use of model will help enhance competency in arguing by using information and empirical evidence to explain natural events rationally, (2) the use of model as a part of argument will make the argument clear and concrete which is a guidance to verify argument, conclusion, and rationality easily. The instructional management consisted of 6 key stages, including (1) identifying issue, (2) construct an initial model, (3) model investigation, (4) model improvement, (5) constructing conclusion and explanation, and (6) elaboration. 2. The effectiveness of the instructional model after implementation, it was found that; 2.1 After experiment, students studying with developed instructional model had mean score of scientific literacy competency at 60.23 percent, lower than the determined criteria at 70 percent. However, their mean score of scientific literacy competency is higher than that of before experiment and higher than that of students studying traditionally at .05 level of significance. The mean score of scientific literacy competency of students in the demonstration school group under the Office of Higher Education Commission was higher than that of the schools under the Office of the Basic Education Commission at .05 level of significance. 2.2 After experiment, students studying with developed instructional model had mean score of rationality higher than that before experiment and that of students studying traditionally at .05 level of significance. The mean score of rationality of students in the demonstration school group under the Office of Higher Education Commission was indifferent from that of the schools under the Office of the Basic Education Commission at .05 level of significance. According to rationality behavior observation during experiment, it was found that students studying with developed instructional model had higher rationality behavior than students studying traditionally at .05 level of significance for 9 out of 10 behaviors. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1115 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน | |
dc.subject | การศึกษา -- การจำลองระบบ | |
dc.subject | Science -- Study and teaching | |
dc.subject | Education -- Simulation methods | |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการรูปแบบการสืบสอบแบบโต้แย้งและแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการรู้วิทยาศาสตร์และความมีเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น | en_US |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL BY INTEGRATING THE ARGUMENT-DRIVEN INQUIRY MODEL AND MODEL-BASED LEARNING APPROACH TO PROMOTE SCIENTIFIC LITERACY COMPETENCIES AND RATIONALITY OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | หลักสูตรและการสอน | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Alisara.C@chula.ac.th | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1115 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5284234027.pdf | 5.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.