Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43765
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนาen_US
dc.contributor.advisorภัทรพล มหาขันธ์en_US
dc.contributor.authorนพรัตน์ ศรีแปดริ้วen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:44:36Z
dc.date.available2015-06-24T06:44:36Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43765
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวชี้วัดลักษณะความเป็นไทย 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมลักษณะความเป็นไทยอย่างยั่งยืน และ 3) ศึกษาผลของการทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมลักษณะความเป็นไทยอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียนในกรุงเทพมหานครจำนวน 542 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจลักษณะความเป็นไทยอย่างยั่งยืน แบบประเมินรูปแบบ แบบประเมินตนเอง แบบวัดความรู้ แบบวัดเจตคติ และแบบวัดความพึงพอใจเกี่ยวกับลักษณะความเป็นไทยอย่างยั่งยืน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การทดสอบค่าที (Paired-samples t – test) และการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Exploratory Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวชี้วัดของลักษณะความเป็นไทยของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียนมีจำนวนรวม 68 ตัวชี้วัด จัดเป็นกลุ่มองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน ได้แก่ องค์ประกอบด้านองค์ประกอบ 1) ด้านความภาคภูมิใจไทยมี 34 ตัวชี้วัด 2) ด้านความศรัทธาไทยมี 15 ตัวชี้วัด 3) ด้านมารยาทอย่างไทยมี 13 ตัวชี้วัด และ 4) ด้านวัฒนธรรมไทยมี 6 ตัวชี้วัด 2. รูปแบบการส่งเสริมลักษณะความเป็นไทยอย่างยั่งยืนของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ที่พัฒนาขึ้นใช้ชื่อว่า “รูปแบบฝึกฟื้นใจไทย (Sustainable Thainess’s Resurrection Model)” ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นไทยอย่างยั่งยืน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกระตุ้นการเรียนรู้ 2) การปรับเปลี่ยนความคิด 3) การกระทำ 4) การทบทวน และแนวทางการส่งเสริมลักษณะความเป็นไทยอย่างยั่งยืน ได้แก่ ความเชื่อพื้นฐาน/หลักการ วิธีการในการส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เกี่ยวข้อง/บทบาท และปัจจัยเงื่อนไขของการส่งเสริมลักษณะความเป็นไทยอย่างยั่งยืน 3. การศึกษาผลของการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า รูปแบบการส่งเสริมลักษณะความเป็นไทยอย่างยั่งยืนที่พัฒนาขึ้นนั้นมีความเหมาะสม รูปแบบการส่งเสริมลักษณะความเป็นไทยอย่างยั่งยืนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์นักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่เข้าร่วมในการใช้รูปแบบมีพัฒนาการด้านความรู้ เจตคติ และพฤติกรรม ของลักษณะความเป็นไทยอย่างยั่งยืน เพิ่มขึ้นร้อยละ 73 และมีความพึงพอใจในรูปแบบอยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.11 SD = 0.35) และจากการการติดตามความยั่งยืนของลักษณะความเป็นไทยของนักศึกษาหลังจากเสร็จสิ้นการทดลองเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่า นักศึกษายังคงมีลักษณะความเป็นไทยอย่างยั่งยืนอยู่ จากการจัดกลุ่มสนทนาได้ให้ข้อเสนอแนะว่า 1) ในการนำรูปแบบที่พัฒนาไปใช้งานจริงควรคำนึงถึงการวางแผนกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทของนักศึกษาและพื้นที่ใช้งาน 2) ควรคำนึงถึงความสอดคล้องของกิจกรรมในรูปแบบเพื่อให้การบูรณาการเข้ากับวิถีชีวิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 3) ปัญหาและอุปสรรคของการใช้รูปแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมลักษณะความเป็นไทยอย่างยั่งยืน ได้แก่ ด้านบุคลากร เครือข่าย และทรัพยากรการเรียนรู้en_US
dc.description.abstractalternativeThis present research was a mixed method which aimed to 1) study the characteristic indicator of Thainess. 2) develop the model of promoting sustainable Thainess 3) study the result of the experiment by using the model of promoting sustainable Thainess. The sample were 542 non-formal education students in Bangkok. The research instruments consisted of the sustainable Thainess assessment form, a model assessment form, self-evaluation form, attitude test, and satisfaction form of sustainable Thainess learning programs. The data were analyzed and synthesized by using mean, standard deviation, item – objective congruency index, content analysis, paired-samples t–test and exploratory factor analysis. The research results revealed that : 1. Totally the Thainess characters of non-formal education students were 68 indicators which classified into groups within 4 major factors - 1) Proundness in Thai consisted of 34 indicators, 2) Trusted in Thai consisted of 15 indicators, 3) Thai manners consisted of 13 indicators, and 4) Thai culture consisted of 6 indicators. 2. The promoting sustainable Thainess model of non-formal education students were named “Sustainable Thainess’s Resurrection Model”. This Model were comprised of 4 stages of learning process : 1) stimulate learning 2) modifying ideas 3) Action and 4) Review, and it also includes guideline of promoting sustainable Thainess consisted of fundamental beliefs / principles, way of supporting to learner, stakeholders / role and the conditional factors which affect the sustainable Thainess promoting. 3. The results of model using experiment found that the developed model was suitable. This model efficiency met the criteria. The non – formal education students who participated in using the model made progress in their knowledge, attitudes, and behaviors as the characteristics of sustainable Thainess, increased 73 percents. Their satisfactions in the model were at high level (xˉ = 4.11 SD = 0.35). After the experiment ended for 3 months the follow up in characteristics of sustainable of Thainess of students found that they still had these characteristics. According to the group discussion, they suggested that : 1) to apply the developed model into the real work, the user should consider suitable activities planning for the context of students and field work area. 2) Activities within the model should be considered in order to efficiently integrate with life ways. 3) Problems and obstacles of employing activities model for enhancing the characteristics of sustainable Thainess ; - personnel, networks, and learning resources.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1222-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียน
dc.subjectการเรียนรู้แบบพินิจพิเคราะห์
dc.subjectNon-formal education
dc.subjectReflective learning
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมลักษณะความเป็นไทยอย่างยั่งยืนของนักศึกษาการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF PROMOTING SUSTAINABLE THAINESS MODEL OF NON-FORMAL EDUCATION STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwirathep.p@chula.ac.then_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1222-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384225427.pdf8.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.