Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43930
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจิตรา สื่อประสารen_US
dc.contributor.authorณัฏฐ์ ทองคำen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:45:51Z
dc.date.available2015-06-24T06:45:51Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43930
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractดวงตราไปรษณียากรเป็นสุดยอดของสะสมที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง ด้วยความสวยงามและคุณค่าที่มีในตัว ความชอบต่อภาพดวงตราไปรษณียากรของแต่ละบุคคลนั้นเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ซึ่งงานวิจัยนี้ศึกษาผลจากการปรับความเปรียบต่างของค่าความอิ่มตัวสีและความสว่างสีของดวงตราไปรษณียากรด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน 5 วิธี ได้แก่ การปรับด้วยฟังก์ชันเชิงเส้นความชัน 0.8 และ 1.2 การปรับด้วยฟังก์ชันซิกมอยด์ 2 แบบ และการปรับด้วยฟังก์ชันกำลัง ให้ผู้สังเกตเปรียบเทียบภาพที่ปรับทีละคู่ เพื่อเลือกภาพที่รับรู้ความเปรียบต่างได้มากกว่าและภาพที่ชอบมากกว่า และให้ผู้สังเกตเปรียบเทียบภาพทั้งหมดพร้อมกัน เพื่อเลือกภาพที่ต้องการจะซื้อพร้อมกับให้เหตุผลในการตัดสินใจ พบว่า การปรับความอิ่มตัวสีส่งผลต่อการรับรู้ความเปรียบต่างและความชอบของผู้สังเกตมากกว่าการปรับความสว่างสี โดยวิธีการปรับความอิ่มตัวสีด้วยฟังก์ชันกำลังเป็นวิธีที่ผู้สังเกตรับรู้ความเปรียบต่างได้มากที่สุด ในขณะที่วิธีการปรับความอิ่มตัวสีด้วยฟังก์ชันเชิงเส้นแบบเพิ่มขึ้นเป็นวิธีที่ผู้สังเกตชอบมากที่สุด และเหตุผลในการตัดสินใจเลือกซื้อที่ผู้สังเกตระบุมากที่สุดคือ สีสด ซึ่งปัจจัยที่นำมาใช้พิจารณาผลการปรับความเปรียบต่างของภาพ อันได้แก่ การรับรู้ความเปรียบต่าง ความชอบ และการตัดสินใจเลือกซื้อ ต่างก็มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง สะท้อนให้เห็นว่าทุกปัจจัยต่างก็ส่งผลซึ่งกันและกัน ทั้งนี้วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการปรับภาพจะขึ้นอยู่กับแนวภาพที่เลือกมาใช้ในการปรับภาพ เพราะแนวภาพจะส่งผลต่อวิธีการปรับความเปรียบต่างที่ผู้สังเกตชอบ ภาพที่มีองค์ประกอบน้อย วิธีการปรับที่ทำให้ภาพมีสีสดขึ้นทั้งภาพจะเป็นที่ชื่นชอบมากกว่าวิธีการอื่น ภาพที่ไม่ค่อยมีสีสัน วิธีการปรับที่ให้รายละเอียดต่าง ๆ ในภาพชัดเจนขึ้นเป็นที่นิยมมากกว่า ซึ่งลักษณะโดยรวมของภาพดวงตราไปรษณียากรที่คนส่วนใหญ่ชอบคือภาพที่มีการปรับให้สีสดเพิ่มมากขึ้นทั้งภาพหรือภาพที่มีการปรับให้ช่วงของความสว่างสีต่างกันมากยิ่งขึ้น เพราะทำให้ความเปรียบต่างของภาพเพิ่มมากขึ้น มีส่วนช่วยในการแยกแยะรายละเอียดและความแตกต่างขององค์ประกอบภาพได้ดีขึ้น มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้ความชอบภาพดวงตราไปรษณียากรของผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativePostage stamps are one of the most sought-after collectibles due to their aesthetics and value. A preference for postage stamps varies from person to person, depending on various factors. This study investigated effects of chroma and lightness contrast adjustments on preference of stamps. Five contrast-adjustment methods were studied: two linear functions with a slope of 0.8, and 1.2, two sigmoid functions with different slopes and a power function. Five test images with the good coverage of themes and design of stamps in use were selected. A series of pairs of images were displayed on a computer screen under a controlled lighting condition. Two groups of observers, i.e. stamp collectors and general stamp users, participated in the visual experiments. The observers chose the image with higher perceived image contrast, and the image that they preferred. To investigate buying decisions, all images were shown at once. The observers chose stamps they wanted to buy and gave the reasons for the decisions. The results from two observer groups were not different. It was found that the adjustment of chroma had more effect on perceived image contrast and preference than the lightness adjustment. Adjusting chroma by the power function gave the highest perceived image contrast, while the increase linear function produced the most preferred images. Most observers stated that saturated colour was the reason of buying. The factors of perceived image contrast, preference and buying decision were highly correlated. Moreover, the adjustment methods were image dependent. The method that increased colour saturation of the entire images was more preferred for images with a few elements. For images with low colourfulness, the method that increased perceived image contrast was more preferred.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1381-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตราไปรษณียากร -- การสะสมและการอนุรักษ์
dc.subjectภาพ
dc.subjectPostage stamps -- Collection and preservation
dc.subjectPictures
dc.titleผลของความเปรียบต่างของความอิ่มตัวสีและความสว่างสีต่อความชอบดวงตราไปรษณียากรen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF CHROMA AND LIGHTNESS CONTRAST ON POSTAGE STAMP PREFERENCEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีทางภาพen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsuchitra.s@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1381-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5571966823.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.