Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44100
Title: ผลของโปรแกรมการเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกเพื่อคลายเครียด ต่อผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
Other Titles: Effects of the consciousness transformation program on patients with HIV/AIDS
Authors: อาทิตา ปัณณานุสรณ์
Advisors: พรรทิพา ศักดิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Phantipa.S@chula.ac.th
Subjects: การบริหารความเครียด
เภสัชกรกับผู้ป่วย
โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย
ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
สารต้านไวรัส -- การใช้รักษา
Stress management
Pharmacist and patient
AIDS (Disease) -- Patients
HIV-positive persons
Antiviral agents -- Therapeutic use
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกเพื่อคลายเครียดที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัส คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ อาการของเอชไอวี ความเครียด ความผาสุกด้านจิตวิญญาณ และระดับของสติ เป็นการวิจัยทางคลินิกแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม เก็บข้อมูลและติดตามผล ณ สถาบันบำราศนราดูร ระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคม 2555 ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีจำนวนทั้งสิ้น 107 คนได้รับการสุ่มเป็นกลุ่มที่ได้เข้าโปรแกรมเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกเพื่อคลายเครียดจำนวน 41 คน และกลุ่มที่ได้รับการดูแลปกติตามมาตรฐานของโรงพยาบาล จำนวน 66 คน เก็บข้อมูลโดยใช้จากแบบสอบถามเกี่ยวกับความร่วมมือในการใช้ยาต้านไวรัส ได้แก่ การรายงานโดยผู้ป่วย แบบประเมิน Simplified Medication Adherence Questionnaire (SMAQ) แบบประเมิน Visual analog scale (VAS) คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ (EQ-5D) อาการของเอชไอวี (HIV-related symptoms) แบบประเมินความเครียดฉบับศรีธัญญา (ST-5) ความผาสุกด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยเอดส์ (Spiritual well being scale of the AIDS patients) และระดับของสติ (Philadelphia Mindfulness Scale: PHLMS) ประเมินก่อนและหลังการให้โปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measure ANOVA) พบว่าโปรแกรมเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกเพื่อคลายเครียดสามารถเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา เพิ่มระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มความผาสุกด้านจิตวิญญาณ เพิ่มระดับสติ และลดความถี่ของอาการของไอวีมากกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่พบความแตกต่างของระดับความเครียด
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the effects of the consciousness transformation program for stress management (CTMS) on antiretroviral therapy (ART) adherence, health related quality of life, HIV-related symptoms, symptoms of stress, Spiritual well-being and mindfulness. A randomized controlled trial was conducted with enrollment and follow-up at Bamrasnaradura Infectious Disease Institute between March and October 2012. One hundred and seven people living with HIV, forty-one subjects were randomly assigned to CTMS and 66 subjects in the treatment as usual (TAU) standard care condition group. Thai version questionnaires included ART adherence such as Self-report, Simplified Medication Adherence Questionnaire (SMAQ), Visual Analog Scale (VAS), health-related quality of life (EQ-5D), HIV-related symptoms, Srithanya test (ST-5), Spiritual well being scale of the AIDS patients and Philadelphia Mindfulness Scale (PHLMS) were admistered pre-, post-intervention. Data were analyzed with repeated measure ANOVA. An intent-to-treat analysis found significant benefits of CTMS. Participants in CTMS group showed improvement in ART adherence, quality of life, Spiritual well being scale and mindfulness. The frequency of HIV-related symptoms reduced significantly in CTMS group compared to the TAU group. There were no significant differences in symptoms of stress.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44100
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.110
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.110
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Atita_pa.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.