Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4412
Title: แบบการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตามรูปแบบของเฟลเดอร์และโซโลแมน
Other Titles: Learning style of Suranaree University of Technology students according to Felder and Soloman's model
Authors: กาญจนา พันธ์โยธี
Advisors: พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pansak.P@chula.ac.th
Subjects: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
การเรียนรู้
ระบบการเรียนการสอน
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแบบการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตามรูปแบบของเฟลเดอร์และโซโลแมน และเพื่อเปรียบเทียบแบบการเรียนของ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตามรูปแบบของเฟลเดอร์และโซโลแมน จำแนกตาม เพศ ภูมิลำเนา ระดับชั้นปี กลุ่มสาขาวิชา ประเภทของการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลพัฒนาจากดัชนีวัดแบบการเรียน (Index of Learning Styles Questionnaire) ของเฟลเดอร์และโซโลแมน (Felder and Soloman) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2541 จำนวน 718 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าไคสแควร์และค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ Cramer's (V) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีแบบการเรียน แบบการมองในมิติด้านการนำเข้าข้อมูลมากที่สุด รองลงมาคือแบบประสาทสัมผัสในมิติด้านการรับรู้ ส่วนแบบการเรียนที่พบน้อยที่สุดคือ แบบถ้อยคำภาษาในมิติด้านการนำเข้าข้อมูล เมื่อจำแนกเป็นรายมิติพบว่า ด้านการรับรู้ นักศึกษามีแบบการเรียนประสาทสัมผัสมากว่าญาณหยั่งรู้ ด้านการนำเข้าข้อมูล นักศึกษามีแบบการเรียนแบบการมองมากกว่าแบบถ้อยคำภาษา ด้านการจัดกระทำข้อมูล นักศึกษามีแบบการเรียนแบบปฏิบัติมากกว่าแบบไตร่ตรอง ด้านการทำความเข้าใจข้อมูล นักศึกษามีแบบการเรียนแบบองค์รวมมากกว่าแบบเป็นขั้นเป็นตอน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างแบบการเรียนกับเพศ ภูมิลำเนา ระดับชั้นปี กลุ่มสาขาวิชา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และประเภทของการเข้าศึกษา พบว่า เพศ และกลุ่มสาขาวิชามีความสัมพันธ์กับแบบการเรียน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีระดับความสัมพันธ์ระหว่าง .01 ถึง .25 ซึ่งแสดงว่าสัมพันธ์กันบ้างเล็กน้อย (weak association) โดยที่เพศชายมีแบบการเรียนแบบการมอง ในมิติด้านการนำเข้าข้อมูลมากกว่าเพศหญิง ขณะที่เพศหญิงมีแบบการเรียนแบบประสาทสัมผัสในมิติด้านการรับรู้ มากกว่าเพศชาย สำหรับนักศึกษากลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มีแบบการเรียนแบบประสาทสัมผัสในมิติด้านการรับรู้สูงสุด ส่วนนักศึกษากลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มีแบบการเรียนแบบการมองในมิติด้านการนำเข้าข้อมูลสูงที่สุด แต่ไม่พบความสัมพันธ์กันระหว่างภูมิลำเนา ระดับชั้นปี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และประเภทของการเข้าศึกษากับแบบการเรียน
Other Abstract: To investigate the learning style of Suranaree University of Technology students according to Felder and Soloman's model and to compare the learning style by sex, background, class level, field of study, academic achievement and type of university entrance. The questionnaire was adapted from index of learning styles questionnaire of Felder and Soloman and collected data from 718 students who enrolled in the third trimester of academic year 1998. Percentage, Chi-square test and cramer's (V) were used for data analysis. It was found that most of students were visual learner in input dimension, sensing learner in perception dimension respectively. Verbal learner in input dimension was ranked the last. Concerning to perception, students were sensing rather than intuitive. Input dimension, they were visual learner rather than verbal learning. According to processing dimension, they were found active rather than reflective. Due to understanding dimension, they were global rather than sequential. Comparing learning style by sex, background, class level, field of study, academic achievement and type of university entrance, sex and field of study were significantly associated with learning style at .05 level. The values of correlation coefficient are .01 to .25 indicating weak association. Male was visual rather than female while female was sensing rather than male. Information Technology and Agricultural Technology students were sensing in input dimension while Engineering students were visual in input dimension. There were no significant association in learning style among different background, class level, academic achievement and type of university entrance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4412
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.452
ISBN: 9743348964
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.452
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanchana.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.