Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44177
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมทางวัตถุและความพึงพอใจในชีวิตโดยมีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นตัวแปรกำกับ
Other Titles: Relationship between materialism and life satisfaction : the moderating effect of socio-economic status
Authors: ฐานิดา ชีวเลิศสกุล
พลอยพิสุทธิ์ ทิมขลิบ
อินทุอร อินทชูติ
Advisors: อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: apitchaya.c@chula.ac.th
Subjects: วัตถุนิยม
ความพอใจ
ค่าครองชีพและมาตรฐานการครองชีพ
Materialism
Satisfaction
Cost and standard of living
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมทางวัตถุและความพึงพอใจใน ชีวิตในกลุ่มนิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมเป็น ตัวแปรกำกับ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 130 คน (เพศชาย 78 คน เพศหญิง 52 คน) โดยกลุ่มตัวอย่างตอบมาตร วัดค่านิยมทางวัตถุ มาตรวัดความพึงพอใจในชีวิตโดยรวม มาตรวัดความพึงพอใจในชีวิตในด้านย่อย 3 ด้าน คือ ความพึงพอใจในตนเอง ความพึงพอใจในความสัมพันธ์ทางสังคม และความพึงพอใจใน มาตรฐานการครองชีพ ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่า มีสหสัมพันธ์ทางลบระหว่างค่านิยมทาง วัตถุและความพึงพอใจในมาตรฐานการครองชีพ (r = -.298, p < .01) และพบว่าสถานภาพทางเศรษฐกิจ และสังคมมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในมาตรฐานการครองชีพ ( r = .382, p < .001) แต่ไม ่พบสหสัมพันธ์ในความพึงพอใจโดยรวมและด้านย่อยอีก 2 ด้าน ในการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรกำกับ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ในตัวแปรที่พบสหสัมพันธ์ นั่นคือ ความพึงพอใจในมาตรฐานการครองชีพ โดยทำ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเชิงช้ัน พบว่า ผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมทางวัตถุและสถานภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคม ไม่สามารถทำนายความพึงพอใจในมาตรฐานการครองชีพได้อย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: This research examined the moderating effect of socio-economic status on the association between materialism and life satisfaction. One hundred thirty Chulalongkorn University students, 78 males and 52 females, completed measures of Materialism Scale, the Overall Life Satisfaction, and the three measures of the Life Satisfaction Scale, (i.e. self-satisfaction, social relationship satisfaction and standard of living satisfaction). Results of the Pearson's correlation analyses indicate a negative correlation between materialism and satisfaction in their standard of living (r = -.298, p < .01), and positive correlation between socio-economic status and standard of living satisfaction (r = .382, p < .001). However, there are no significant correlations between materialism and overall satisfaction, including two other measures of life satisfaction. A hierarchical regression analysis indicates no interaction between materialism and socio-economic status in predicting satisfaction with standard of living.
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2013
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44177
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thanida_ch.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.