Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44258
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กาญจน์พิมล ฤทธิเดช | - |
dc.contributor.advisor | กิติยศ ยศสมบัติ | - |
dc.contributor.author | ฐาปนา แก้วเกิด | - |
dc.contributor.author | ชานนทื นวไพบูลย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-08-12T13:53:59Z | - |
dc.date.available | 2015-08-12T13:53:59Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.other | Sepr 13/55 ค2.14 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44258 | - |
dc.description.abstract | สารสกัดบัวบกที่ใช้ทางยามีคุณสมบัติหนึ่งที่สำคัญคือกระตุ้นกระบวนการสมานแผลและลดรอยแผลเป็น แต่สูตรตำรับครีมหรือเจลยังมีข้อด้อยด้านระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์บริเวณแผลเป็นสั้น หากจะให้ได้ผลการรักษาที่ดีต้องบริหารยาถี่ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรตำรับแผ่นแปะผิวหนังเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ที่บริเวณแผลเป็นได้นานขึ้น ซึ่งพอลิเมอร์ที่ใช้คือไคโตซานที่มีคุณสมบัติยึดเกาะผิวหนังดีผสมกับซิลิโคนที่ช่วยยึดเกาะและกดทับแผลให้หายเร็วขึ้น โดยศึกษาผลของชนิดและปริมาณสารต่างๆในสูตรตำรับ ประเมินจากคุณลักษณะทางกายภาพที่ดีของแผ่นแปะได้แก่ความใส ความหนา ความยืดหยุ่นและความสามารถในการยึดติดผิวหนัง คัดเลือกสูตรตำรับที่เหมาะสม ประเมินการปลดปล่อยสารสำคัญและการซึมผ่านผิวหนังภายในระยะเวลา 20 ชั่วโมงด้วย Franz Diffusion Cells โดยใช้คราบงูแทนผิวหนังและวิเคราะห์ด้วยวิธี HPLCประเมินคุณลักษณะทางกายภาพรวมถึงอาการแพ้ในอาสาสมัครผลการวิจัยพบว่า สูตรตำรับที่เหมาะสมคือ ใช้ไคโตซานมวลโมเลกุลห้าหมื่น 1.2% w/w เป็นพอลิเมอร์ ละลายในตัวทำละลายน้ำซึ่งมีความเป็นกรดด่างอยู่ที่ 3-5 โดยใช้กรดแลคติก 2% w/w ปรับความเป็นกรดด่าง, ผสมเมทิลซิลานอล 2% w/w และใช้สารเพิ่มความยืดหยุ่นคือกลีเซอรีน 0.4% w/w เปรียบเทียบสูตรตำรับที่ใส่สารสกัดบัวบก 5% w/w กับสูตรที่ใส่ Scagel®complex 20% w/w ประเมินการปลดปล่อยพบว่า ยาเริ่มปลดปล่อยที่เวลาครึ่งชั่วโมงในสูตรสารสกัดบัวบกและหนึ่งชั่วโมงในสูตรสกาเจล โดยทั้งสองสูตรสามารถปลดปล่อยได้นานมากกว่า20 ชั่วโมง ลักษณะทางกายภาพได้แก่ความยืดหยุ่นวัดด้วยเครื่อง Universal Testing Machine พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับ Actewound®Silicone Gel Sheet (p<0.05) วัดความหนาด้วย Vernier Calipers Digitalมีความบางกว่า Actewound®สำหรับการประเมินในอาสาสมัคร19 คน (N=38 ชิ้นตัวอย่าง) พบว่า มีความพึงพอใจมากกว่าการใช้สูตรตำรับครีมหรือเจล โดยสูตรตำรับสารสกัดบัวบกสามารถยึดติดผิวหนังได้ครบตามเวลาที่กำหนดคือ 8 ชั่วโมง และพบผื่นแพ้ประมาณ 1.32% จากประชากรตัวอย่างทั้งหมด | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | แผลเป็น -- การรักษา | en_US |
dc.subject | การรักษาผ่านผิวหนัง | en_US |
dc.subject | บัวบก | en_US |
dc.title | การพัฒนาแผ่นแปะลดรอยแผลเป็นที่ประกอบด้วยสารสกัดบัวบกและส่วนผสมของซิลิโคนและไบโอพอลิเมอร์ | en_US |
dc.title.alternative | Development of scar sheet containing centella asiatica extract with combination of silicone and biopolymer | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Pharm - Senior projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thapana_ka.pdf | 2.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.