Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44269
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรสมา ภู่สุนทรธรรม-
dc.contributor.advisorชาญณรงค์ รอดคำ-
dc.contributor.authorยงยุทธ พงษ์ประภาชื่น-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-08-14T06:33:53Z-
dc.date.available2015-08-14T06:33:53Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44269-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ศึกษาหาชนิดของยีนที่อาจเกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อทางเดินปัสสาวะของ uropathogenic Escherichia coli (uropathogenic E. coli, UPEC) และความสัมพันธ์ของยีนดังกล่าวกับอาการปัสสาวะเป็นเลือด หาความชุกของการติดเชื้อ UPEC และหาความไวรับต่อยาต้านจุลชีพของ UPEC ในสุนัขที่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ทำการศึกษาโดยเก็บตัวอย่างปัสสาวะจากสุนัขที่เข้ารับการรักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 105 ตัว ทำการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ เพาะเชื้อปัสสาวะ ทำการหาชนิดของยีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อทางเดินปัสสาวะด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่โพลิเมอร์เรส แบบมัลติเพลกซ์ และทำการทดสอบความไวรับต่อยาต้านจุลชีพโดยวิธี agar dilution ผลการศึกษาพบว่า สุนัขเพศเมียที่ได้รับการทำหมันมีการติดเชื้อ E. coli ในทางเดินปัสสาวะมากที่สุด สุนัขป่วยจะแสดงอาการผิดปกติคือ ปัสสาวะเป็นเลือด สุนัขที่มีการติดเชื้อ E. coli ในทางเดินปัสสาวะมีค่าเฉลี่ยของความถ่วงจำเพาะ กลูโคส เลือด และระดับเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะสูงกว่าสุนัขที่ไม่มีการติดเชื้อ E. coli ในทางเดินปัสสาวะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อทำการเพาะเชื้อปัสสาวะพบ UPEC 21 ไอโซเลท ทุกไอโซเลทมียีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อทางเดินปัสสาวะอย่างน้อย 1 ชนิด และพบว่ายีน aer มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ E. coli ในทางเดินปัสสาวะอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อทำการทดสอบความไวรับต่อยาต้านจุลชีพ โดยการหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของยาต้านจุลชีพที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ พบว่า UPEC มีความไวต่อ amikacin (ร้อยละ 100) และ ceftriazone (ร้อยละ 42.9) ตามลำดับ และดื้อต่อ amoxicillin และ ampicillin มากที่สุดคือ ร้อยละ 100 อันดับถัดมาได้แก่ trimethoprim/sulphamethoxazole (ร้อยละ 81), doxycycline (ร้อยละ 76.2), enrofloxacin (ร้อยละ 71.4), cephazolin (ร้อยละ 66.7), norfloxacin (ร้อยละ 61.9) และ gentamicin (ร้อยละ 52.4) ตามลำดับ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า UPEC เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ โดยยีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อทางเดินปัสสาวะ เช่น ยีน aer, cnf, pap และ sfa บ่งบอกการแสดงออกของ pathogenicity islands (PAIs) และอาจมีส่วนเพิ่มความรุนแรงของการติดเชื้อ UPECen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to determine the existance of urovirulence associated genes of uropathogenic Escherichia coli (uropathogenic E. coli, UPEC) and determine its association with hematuria, to study the prevalence of UPEC infection and to identify the antimicrobial susceptibitity in canine urinary tract infections. Urine samples were collected via cystocentesis or urethral catheterization from 105 dogs with urinary tract infections presented to Small Animal Hospital, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University. The samples were subjected to urinalysis, urine culture, determination of the urovirulence associated gene by the multiplex polymerase chain reaction (multiplex PCR) and antimicrobial susceptibility testing (agar dilution technique). The results revealed that spay females dogs with hematuria had highest prevalence to have E. coli urinary tract infection. Dogs who suffered form E. coli infection had significantly higher levels of means urine specific gravity, glucose, blood’s levels and white blood cell in urine than uninfected groups (p<0.05). Twenty-one isolates of UPEC were obtained and at least one urovirulence associated gene was found in each isolate. The aer gene found in UPEC isolates had the significant correlation with E. coli urinary tract infection in dogs (p<0.05). The antimicrobial susceptibility reveals that UPEC was susceptible to amikacin (100%) and ceftriazone (42.9%) and resisted to amoxicillin and ampicillin (100%), trimethoprim/sulphamethoxazole (81%), doxycycline (76.2%), enrofloxacin (71.4%), cephazolin (66.7%), norfloxacin (61.9%) and gentamicin (52.4%). These results indicated that UPEC was the most common in canine urinary tract infection. The particular urovirulence associated genes (aer, cnf, pap and sfa) appear frequently in combination with canine UTI E. coli strains. The simultaneous presence of these genes points to the presence of pathogenicity islands (PAIs) that may play an important role in enhancement of the virulence of UPEC.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.621-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสุนัขen_US
dc.subjectทางเดินปัสสาวะติดเชื้อen_US
dc.subjectเอสเซอริเซีย โคไลen_US
dc.subjectDogsen_US
dc.subjectUrinary tract infectionsen_US
dc.titleความสัมพันธ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงและอาการปัสสาวะเป็นเลือดของสุนัขที่มีการติดเชื้อ เอสเชอริเชีย โคไล ในระบบทางเดินปัสสาวะen_US
dc.title.alternativeThe Correlation Between Urovirulence Associated Genes and Hematuria in Escherichia coli Infected Urinary Tract of Dogsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์สัตวแพทย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRosama.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorchannarong.r@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.621-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yongyut_Po.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.