Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44282
Title: ผลของการใช้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบสอบที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผล และการสื่อสารทางคณิตศาสตร์
Other Titles: Effects of using think-talk-write technique in organizing mathematics learning activities based on inquiry model on mathematical reasoning and communication abilities
Authors: สุดารัตน์ ภิรมย์ราช
Advisors: อัมพร ม้าคนอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aumporn.M@chula.ac.th
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน -- กิจกรรมการเรียนการสอน
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
ความสามารถทางคณิตศาสตร์
Mathematics -- Study and teaching -- Activity programs
Inquiry-based learning
Mathematical ability
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนจากการใช้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบสอบ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนจากการใช้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบสอบ กับการเรียนแบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนจากการใช้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบสอบ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนจากการใช้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบสอบ กับการเรียนแบบปกติ 5) เพื่อศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการให้เหตุผล และการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนจากการใช้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบสอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนราชินีบนจำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบสอบ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) สรุปผลการวิจัย 1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบสอบมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบสอบมีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)นักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบสอบมีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบสอบมีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) หลังจากนักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบสืบสอบ พบว่า พัฒนาการของความสามารถในการให้เหตุผล และการสื่อสารทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นอย่างเป็นลำดับ นักเรียนสามารถวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของแนวคิด แสดงข้อสรุปของข้อมูล ใช้ข้อสรุปที่เป็นกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์มาอธิบายเพื่อยืนยันหรือคัดค้านได้อย่างสมเหตุสมผล ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อสื่อความหมาย และแสดงแนวคิดและนำเสนอแนวคิดทางคณิตศาสตร์ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to compare mathematical reasoning abilities between before and after using Think-Talk-Write technique in organizing mathematics learning activities based on inquiry model 2) to compare mathematical reasoning abilities between students learning by using Think-Talk-Write technique in organizing mathematics learning activities based on inquiry model and by conventional approach 3) to compare mathematical communication abilities between before and after using Think-Talk-Write technique in organizing mathematics learning activities based on inquiry model 4) to compare mathematical communication abilities between students learning by using Think-Talk-Write technique in organizing mathematics learning activities based on inquiry model and by conventional approach 5) to study development of mathematical reasoning and communication abilities of students learning by Think-Talk-Write technique in organizing mathematics learning activities based on inquiry model This research was conducted with 80 tenth grade students in academic year 2012 of Rajinibon School. They were divided into two groups, one experimental group with 40 students and one controlled group with 40 students. This instruments for this research consisted of lesson plans for mathematics learning activities using Think-Talk-Write technique based on inquiry model, conventional lesson plans, pretest and posttest for mathematical reasoning ability, pretest and posttest for mathematical communication ability. The data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation and t-test. The research results were revealed that: 1) Mathematics reasoning abilities of students after learning by using Think-Talk-Write technique in organizing mathematics learning activities based on inquiry model were higher than those before at the .05 level of significance. 2) Mathematics reasoning abilities of students after learning by using Think-Talk-Write technique in organizing mathematics learning activities based on inquiry model were higher than those of students learning by using conventional approach at the .05 level of significance. 3) Mathematics communication abilities of students after learning by using Think-Talk-Write technique in organizing mathematics learning activities based on inquiry model were higher than those before at the .05 level of significance. 4) Mathematics communication abilities of students after learning by using Think-Talk-Write technique in organizing mathematics learning activities based on inquiry model were higher than those of students learning by using conventional approach at the .05 level of significance. 5) After students learning by using Think-Talk-Write technique in organizing mathematics learning activities based on inquiry model, their mathematical reasoning and communication abilities were gradually developed. The students were able to analyze the relations of data, conclude, use conclusion to reasonably agree or disagree, use mathematical language to communicate, and present mathematical idea to others.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาคณิตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44282
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.201
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.201
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudarat_ph.pdf11.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.