Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44309
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชลัยพร อมรวัฒนา-
dc.contributor.authorกีรติ หล่อโลหการ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-08-14T10:26:56Z-
dc.date.available2015-08-14T10:26:56Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44309-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractปัจจุบัน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) เข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะ SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยการนำผลผลิตจากภาคการเกษตร อาทิ ผลผลิตจากพืช ปศุสัตว์ และประมง มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต แต่ในการดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนด้านต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินได้อย่างราบรื่น โดยปัจจัยที่มีความสำคัญต่อธุรกิจมากที่สุด คือ เงินทุน ซึ่งเป็นปัญหาหลักด้านการเงินของ SMEs การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินนโยบายส่งเสริมด้านการเงินให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลแบบ Pooled Cross section Data ซึ่งใช้ข้อมูลรายปีตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ถึง 2554 และประมาณสมการโดยวิธี OLS (Ordinary Least Square) ผลจากการศึกษา พบว่า การสนับสนุนด้านการเงินให้กับ SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารจะช่วยให้มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจดีขึ้น แต่เนื่องจากปัญหาด้านโครงสร้างของภาครัฐ ประกอบกับ การขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนปัญหาด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่งผลให้การสนับสนุนด้านการเงินของภาครัฐผ่านสถาบันการเงินไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร โดยสอดคล้องกับผลการศึกษาจากแบบจำลองทางเศรษฐมิติ กล่าวคือ ปริมาณสินเชื่อที่รัฐให้การสนับสนุนแก่ธุรกิจ อายุการดำเนินงานของธุรกิจ ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ส่งผลต่อศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า รัฐควรคัดกรองธุรกิจที่จะให้สินเชื่อ และมีมาตรการเฉพาะในการส่งเสริม SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อาทิ การเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำหรือการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นและเพื่อให้ SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เป็นภาคการผลิตที่สำคัญต่อประเทศไทยในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeFor many decades, Small and Medium Enterprises (SMEs) have gradually become an important sector in Thailand, especially SMEs in Food sector. The food SMEs are the backbone of Thai economy because their productions mainly rely on raw materials from domestic upstream sectors: agriculture, fishery and livestock. However, these SMEs still require some financial supports from government in order to expand their business and to sustain their growth. This study was focused on how successful was the government financial support to SMEs in Food sector through Small and Medium Enterprise Development Bank of Thailand (SME bank). The study employed the Ordinary Least Square (OLS) method in order to analyze the affect of the government financial support, and its timeframe is from 2001 to 2011. The result of the study was quite surprising; it point out that the financial support to SMEs in food and beverage sector increase the effectiveness. According to OLS model, the amount of supporting loan, business age and minimum wage were factors that significantly affected on SMEs' profitability. This finding from the model suggests that the government need to provide criterion for screening SMEs before loan approval, and impose some specific supporting policies (such as loan availability extension, soft loan provision, and SMEs coaching and training program) in order to improve the effectiveness.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.555-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสินเชื่อen_US
dc.subjectธุรกิจขนาดย่อม -- การเงินen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมอาหารen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมอาหาร -- นโยบายของรัฐen_US
dc.subjectCrediten_US
dc.subjectSmall business -- Financeen_US
dc.subjectFood industry and tradeen_US
dc.subjectFood industry and trade -- Government policyen_US
dc.titleการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีศึกษาการให้สินเชื่ออุตสาหกรรมอาหารen_US
dc.title.alternativeAn evaluation of the small and medium enterprises promotion policy : the case of loan provision to food industryen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChalaiporn.A@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.555-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kerati_lo.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.