Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44401
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรเนตร อารีโสภณพิเชฐen_US
dc.contributor.advisorอัจฉรา ไชยูปถัมภ์en_US
dc.contributor.authorวชิราภรณ์ สุรธนะสกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:28:26Z-
dc.date.available2015-08-21T09:28:26Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44401-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรคและบทบาทในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยวิทยาลัยชุมชน เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด และองค์ประกอบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยวิทยาลัยชุมชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยวิทยาลัยชุมชน ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ ประกอบด้วย ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยชุมชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ผู้บริหารของวิทยาลัยชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและผู้นำชุมชน จำนวน 51 คน และกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยชุมชน จำนวน 233 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ปัจจุบันวิทยาลัยชุมชนมี 20 แห่ง มีเป้าหมายในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการองค์ความรู้ของชุมชน ใช้สอนคนในชุมชน โดยคนภายในชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกชุมชน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คือ การจัดการศึกษาอบรมระยะสั้น การจัดการศึกษาระดับอนุปริญญา และการทำโครงการวิจัยและบริการทางวิชาการเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยมีโครงสร้างการบริหารงาน 2 ระดับ คือ ระดับนโยบายและอำนวยการ และระดับกำกับดูแลการปฏิบัติงาน มีบุคลากรในระบบวิทยาลัยชุมชน 3 กลุ่ม คือ คณะกรรมการ บุคลากรประจำ และอาจารย์พิเศษ ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 50–59 ปี ผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยวิทยาลัยชุมชนอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกลุ่ม และบุคลากรส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาในระดับสูงแต่ขาดความรู้และทักษะที่เพียงพอต่อการทำโครงการวิจัยและบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชน รวมทั้งความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในด้านการวิจัยและด้านการบริหารโครงการ ทำให้วิทยาลัยชุมชนไม่สามารถขยายผลการดำเนินงานในวงกว้างและดำเนินงานได้อย่างจำกัด และมีอุปสรรคในการบริการชุมชนและการฝึกอบรมที่ต้องพึ่งพาเครือข่าย ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน ซึ่งหากส่วนราชการ องค์กรส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่เข้าใจหรือไม่ให้ความร่วมมือก็จะไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ บทบาทการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยวิทยาลัยชุมชน 3 ลักษณะ คือ (1) บทบาทตามเป้าหมาย ได้แก่ การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาเพื่อความเสมอภาค การศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ และการศึกษา เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (2) บทบาทตามพันธกิจ ได้แก่ การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชน การบริการทางวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน และการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของชุมชนให้ยั่งยืน และ (3) บทบาทตามรูปแบบการจัดการศึกษา ได้แก่ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน การจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ และการจัดการศึกษาเพื่ออนุปริญญา 2. องค์ประกอบของการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยวิทยาลัยชุมชน ได้แก่ การมีเป้าหมายร่วมกัน การเรียนรู้ของชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน เครือข่ายความร่วมมือ ศักยภาพของชุมชน ทุนภูมิสังคม และการบริหารจัดการชุมชน 3. รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยวิทยาลัยชุมชน มีโครงสร้างสำคัญ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) องค์ประกอบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยวิทยาลัยชุมชน (4) บทบาทการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยวิทยาลัยชุมชน (5) หลักการดำเนินงาน ได้แก่ รู้จัก – เข้าใจ – เข้าถึง – พัฒนา และ (6) เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ จิตสำนึก ความเป็นนิติบุคคล ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study and analyze the current status, obstacle and role of enhancing the strength of community by the college community, to analyze the synthetic concept and elements of enhancing the community strength by community colleges, in the country and abroad, and to present a model for enhancing the community strength by community colleges. The informants consisted of 51 people covering the community college founders in 2001, executives of the community colleges, village philosophers, and community leaders. The samples were 233 people who concerned the community colleges. The instrument used in this study consisted of a content analysis, interview and questionnaire. The data analysis was the content analysis and descriptive statistic such as Mean, Percentage and Standard Deviation. The findings were summarized as follows: 1. There were 20 community collages with the goal of providing education to meet the needs of the communities, served as the knowledge provider of the communities, taught the communities by the qualified persons within the communities and outside the communities for the purpose of community development, arranged teaching activities such as managed short-term training, provided the diploma education, and conducted research projects and academic services to meet the needs of the communities which consist two levels of management structures: policy and administer level and practical regulatory level. There were three groups of people in the community college system: the committee, permanent personals and special lecturers, which were aged between 50-59 years and all related groups have opinions about the current status of the enhancing the strength of the community college at the highest level; most personals were high academic qualifications but lack of sufficient knowledge and skills to do the research and academic service to develop communities, including knowledge, skill and experience in research and project management which caused the community college cannot expand the operations broadly and found the limitation of operations and encountered the obstacles in community services and training that rely on the networks both public and private sectors, if both public and private sectors do not understand or do not cooperate, they cannot be successfully implemented. The role of enhancing the community strength by community colleges had three characteristics as followed: (1) the character of the goals of the educational role of community colleges to enhance the strength of the community, including education for life, education for equality, education for professionals and education for sustainable development; (2) the character of the role of university's mission such as providing education to enhance the strength the community, researching to develop the potential of the community, providing the academic services that meet the needs of the community and preserving and descending the cultural heritage of the community for sustainability; and (3) the role of a model of the educational management of the community colleges such as providing the education for community development, education for professionals and education for diploma. 2. The compositions of enhancing the strength of communities by community colleges such as the common goal, the community learning, the participation of the community, the cooperation network, the community capacity, capital, geo-social and community management. 3. The models of enhancing the strength of communities by community colleges had the main structure as follows: (1) the principle, (2) the purpose, (3) the elements of enhancing the strength of the communities through community college, (4) the role of enhancing the strength of the communities through community college, (5) The operated principles such as be acquainted with – to comprehend – to be accessible – to develop, and (6) the conditions of success such as the conscious mind, juristic person, leader of change and continuous improvement.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยวิทยาลัยชุมชนen_US
dc.title.alternativeA PROPOSED COMMUNITY STRENGTHS ENHANCEMENT MODELBY COMMUNITY COLLEGESen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSornnate.A@Chula.ac.th,sornnate@gmail.com,sornnate@gmail.comen_US
dc.email.advisorAtchara.C@Chula.ac.th,atchara_cu@yahoo.comen_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284287227.pdf23.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.