Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44519
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์ | en_US |
dc.contributor.author | เกริกเกียรติ ไพบูลย์ศิลป | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-08-21T09:29:33Z | |
dc.date.available | 2015-08-21T09:29:33Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44519 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้วิเคราะห์และอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทยในการสร้างเสริมพระราชอำนาจ พระบรมเดชาบารมี และความชอบธรรมเพื่อส่งเสริมอำนาจการปกครอง โดยศึกษาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินจนสิ้นสุดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นระยะเวลาที่สังคมไทยกำลังเปลี่ยนผ่านจากสังคมแบบจารีตเดิมที่สืบทอดต่อมาจากสมัยอยุธยาตอนปลายและได้เริ่มเข้าสู่ยุคสมัยที่รับอิทธิพลจากตะวันตกซึ่งกำลังแผ่เข้าสู่สยาม จากการศึกษาพบว่าแม้ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นพระมหากษัตริย์ไทยจะทรงสร้างบ้านเมืองโดยใช้แบบแผนสังคมในสมัยอยุธยาตอนปลายเป็นต้นแบบ แต่ด้วยบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้พระมหากษัตริย์ในแต่ละรัชกาลทรงเลือกเน้นกรอบคิดทางพระพุทธศาสนาเพื่อทรงใช้ในการเชิดชูพระราชอำนาจ พระบรมเดชาบารมี และสร้างความชอบธรรมในการปกครองที่แตกต่างกันตามปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในแต่ละรัชกาล โดยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงแสดงพระองค์เป็นผู้นำทางศาสนาเทียบเคียงกับการเป็นพระพุทธเจ้าบนโลกมนุษย์ผ่านการสร้างบารมีเฉพาะพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงแสดงพระราชฐานะผู้ทรงอุปถัมภ์สูงสุดของพระรัตนตรัยซึ่งทรงสถาปนาขึ้นใหม่ในรัชสมัย รวมทั้งทรงสร้างระเบียบเพื่อควบคุมพระสงฆ์บุคลากรทางพุทธศาสนาให้อยู่ในมาตรฐานของรัฐ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อยกพระราชฐานะและพระบารมีให้โดดเด่นเหนือกว่าพระมหากษัตริย์ชาวพุทธอื่นใดในภูมิภาค ส่วนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระพุทธรูป วัดรวมทั้งพุทธสัญลักษณ์ที่มีความพิเศษทั้งในเชิงปริมาณและขนาด เพื่อสร้างความชอบธรรมจากปัญหาพระชาติกำเนิดที่บั่นทอนพระบรมเดชาบารมี | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis will analyze and explain the relation between Buddhism and Thai Monarchs that gives the importance to show authority, legitimacy and virtue. This thesis will focus in the period from King Taksin to King Rama III which is the time that Thai society changes from late Ayutthaya mores to the modern society with the emergence of western influence. Although Thai Monarchs in that time want to make the glorious of Thonburi and Rattanakosin to similar with Ayutthaya, but the social context has changed and makes a difference in the development of Thonburi and Early Rattanakosin, especially the relation between Buddhism and Thai Monarchs. King Taksin acts as the supreme leader of sangha, as living Buddha. King Rama I shows his authority, legitimacy and virtue not only via the status of supreme patron of triratna which is created in his reign but also sangha control by his law and order. King Rama II raises his status to be the most conspicuous Buddhist monarch in the region by his support in Buddhist Affair. King Rama III shows his authority, legitimacy and virtue via the great number of religious edifice construction because of his mother was a commoner. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.537 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ตากสินมหาราช, สมเด็จพระเจ้า, 2277-2325 | |
dc.subject | พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, พระบาทสมเด็จพระ, 2279-2352 | |
dc.subject | พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ, 2310-2367 | |
dc.subject | นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2330-2394 | |
dc.subject | พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ -- ไทย | |
dc.subject | พุทธศาสนา -- ไทย | |
dc.subject | ราชาธิปไตย -- ไทย | |
dc.subject | พระราชอำนาจ -- ไทย | |
dc.subject | กษัตริย์และผู้ครองนคร -- ไทย | |
dc.subject | ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงธนบุรี, 2310-2325 | |
dc.subject | ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2326-2405 | |
dc.subject | Buddhism -- Thailand | |
dc.subject | Monarchy -- Thailand | |
dc.subject | Prerogative, Royal -- Thailand | |
dc.subject | Kings and rulers -- Thailand | |
dc.subject | Thailand -- History -- Thonburi period, 2310-2325 | |
dc.subject | Thailand -- History -- Rattanakosin period, 1782-1851 | |
dc.title | พุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย พ.ศ. 2310-2394 | en_US |
dc.title.alternative | BUDDHISM AND THAI MONARCHS 1767-1851 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ประวัติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Julispong.C@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.537 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5480111922.pdf | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.