Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44569
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนพิชา ศรีสะอาดen_US
dc.contributor.authorขนิษฐา คนหาญen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:30:00Z-
dc.date.available2015-08-21T09:30:00Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44569-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้เทคนิคคะพิลลารีอิเล็กโทรฟิรีซิส (Capillary electrophoresis, CE) สำหรับการเพิ่มปริมาณแบบออนไลน์และการตรวจวัดปริมาณออกซาเลตและซิเทรต เทคนิคการเพิ่มสารตัวอย่างแบบออนไลน์จะใช้วิธีการบรรจุสารตัวอย่างในปริมาณมากพร้อมกับการกำจัดเมทริกซ์ออกโดยอาศัย electro-osmotic flow (EOF) เพื่อช่วยเพิ่มสภาพไวของเทคนิค CE ในการทดลองนี้ใช้คะพิลลารีซิลิกาที่ปราศจากการเคลือบภายใน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 50 ไมโครเมตร ความยาว 40.2 เซนติเมตร (30 เซนติเมตร ถึงเครื่องตรวจวัด) ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ใช้ในการแยกเท่ากับ -15 กิโลโวลต์ โดยใช้ฟอสเฟตบัฟเฟอร์ความเข้มข้น 200 มิลลิโมลาร์ ที่ pH 8.0 และระยะเวลาที่ใช้ในการบรรจุสารตัวอย่างในช่วง 10-90 วินาที ผลการวิเคราะห์พบว่าเมื่อใช้เวลาในการบรรจุสารตัวอย่าง 90 วินาที ขีดจำกัดของการตรวจวัดด้วยเครื่องมือ (Limit of detection, LOD) ของออกซาเลตและซิเทรต เท่ากับ 0.003 ppm และ 0.013 ppm ตามลำดับ และขีดจำกัดการวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยเครื่องมือ (Limit of quantitation, LOQ) สำหรับออกซาเลตและซิเทรตเท่ากับ 0.013 ppm และ 0.033 ppm ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับการบรรจุสารตัวอย่างตามระยะเวลาปกติ (10 วินาที) พบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัดออกซาเลตและซิเทรตได้ถึง 200 เท่าทั้งออกซาเลตและซิเทรต การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์โดยการทดสอบความแม่นพบว่ามีร้อยละของการคืนกลับอยู่ในช่วง 98-108% สำหรับออกซาเลตและซิเทรตและมี %RSD<5 สำหรับทั้งไมเกรชันไทม์ (tm) และพื้นที่ใต้พีคแก้ไข (Acorr) เมื่อเปรียบเทียบความเที่ยงระหว่างวันและภายในวันเดียวกันพบว่ามี %RSD<5 สำหรับทั้ง tm และ Acorr วิธีที่พัฒนาขึ้นจึงสามารถนำไปใช้ในการหาปริมาณออกซาเลตและซิเทรตในปัสสาวะ และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการตรวจวัดออกซาเลตและซิเทรตที่ได้จากวิธีที่พัฒนาขึ้นกับวิธีมาตรฐานโดยใช้เทคนิคทางเอนไซม์ (enzymatic method) โดยการทดสอบแบบ t-test พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผลการวิเคราะห์ของทั้งสองวิธี นอกจากนี้ยังสามารถยืนยันความน่าเชื่อถือของวิธีที่พัฒนาขึ้นว่ามีความถูกต้อง โดยนำผลการวิเคราะห์จากทั้งสองวิธีมาสร้างกราฟเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสองวิธี พบว่ามีความสัมพันธ์เป็นเส้นตรงและมีค่า intraclass correlation coefficient อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากสำหรับออกซาเลตและซิเทรต คือเท่ากับ 0.977 และ 0.970 ตามลำดับ ดังนั้นวิธีที่พัฒนาขึ้นจึงเหมาะที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจวัดปริมาณออกซาเลตและซิเทรตในปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนิ่วไต เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการเกิดโรคนิ่วไตในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeIn this work, online preconcentration and determination of oxalate and citrate using capillary electrophoresis (CE) was presented. A preconcentration technique exploiting large volume sample injection together with matrix removal using an electro-osmotic flow (EOF) pump was employed to improve the sensitivity of the CE method. The migration of analytes was achieved using an uncoated fused silica capillary column of 40.2 cm (30 cm to detector) &times; 50 &micro;m i.d. and an applied voltage of -15 kV. A background electrolyte (BGE) was 200 mM phosphate buffer (pH 8.0) with injection times of 10-90 seconds. Results showed that when using an injection time of 90 s, limit of detections (Limit of detection, LODs) were 0.003 ppm and 0.013 ppm and limit of quantifications (Limit of quantitation, LOQs) were 0.013 ppm and 0.033 ppm for oxalate and citrate, respectively. When compared with a normal injection time of 10 s, 90 s injection time could improve the sensitivity of the CE method for approximately 200 times. Recoveries of the method were in the range of 98-108% for oxalate and citrate with the relative standard deviation (%RSD) values<5% for corrected peak area (Acorr) and %RSD<5 for migration time (tm). Inter-day and intra-day precisions evaluated using %RSD were found to be less than 5% for both corrected peak area and migration time. The CE method was further applied to quantitatively determine the amounts of oxalate and citrate in urine samples. Results obtained from the CE method were compared with those from the standard method (enzymatic assays) using the student t-test. It was found that no significant difference between the results obtained from both methods. In addition, results obtained from the CE method and enzymatic assays were plotted to determine a relationship between the two methods. It was found that linear relationships were obtained from both oxalate and citrate results with intraclass correlation coefficient (R2) values equal to 0.977 and 0.970 for oxalate and citrate, respectively. This also confirms the accuracy and reliability of the proposed CE method. Therefore, the proposed CE method could be applied for determination of oxalate and citrate in urine of patients with kidney stones for diagnostics medical treatment and prevention of the disease in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการเพิ่มความเข้มข้นแบบออนไลน์และการตรวจวัดออกซาเลตและซิเทรตโดยใช้คะพิลลารีอิเล็กโทรฟอรีซิสen_US
dc.title.alternativeON-LINE PRECONCENTRATION AND DETERMINATION OF OXALATE AND CITRATE USING CAPILLARY ELECTROPHORESISen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีชีวภาพen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorMonpichar.S@Chula.ac.th,Monpichar.S@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5571925023.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.