Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44604
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณทิพา ศักดิ์ทองen_US
dc.contributor.authorภัทราภา สุขสง่าen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:30:22Z
dc.date.available2015-08-21T09:30:22Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44604
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อตรวจสอบความตรงทางเนื้อหาและคุณสมบัติทางด้านจิตวิทยาโดยเบื้องต้นของแบบประเมินผลลัพธ์ด้านการรักษาด้วยการใช้ยาที่ได้จากการรายงานของผู้ป่วยสำหรับคุณภาพชีวิตด้านยา (PROMPT-QoL) วิธีการศึกษา: ผู้วิจัยนำ PROMPT-QoL ซึ่งมีข้อคำถามจำนวน 43 ข้อ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 ท่าน ประเมินความสอดคล้องของข้อคำถามกับมิติของคำถาม เพื่อนำข้อมูลมาคำนวณค่าดัชนีความตรงทางเนื้อหา หลังจากนั้นผู้วิจัยนำ PROMPT-QoL ไปตรวจสอบความตรงทางเนื้อหากับอาสาสมัครซึ่งเป็นผู้ป่วยนอกจำนวน 60 คน ที่มีการใช้ยาต่อเนื่องกันเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้เทคนิคสัมภาษณ์เชิงปัญญาจำนวน 6 รอบ ๆ ละ 10 คน และตรวจสอบคุณสมบัติทางด้านจิตวิทยาโดยเบื้องต้นของ PROMPT-QoL โดยใช้ทฤษฎีทดสอบแบบดั้งเดิมและราสซ์โมเดล ผลการศึกษา: ข้อคำถามทุกข้อใน PROMPT-QoL มีค่าดัชนีความตรงทางเนื้อหาของคำถามแต่ละข้อตั้งแต่ 0.80 เป็นต้นไป และมีค่าดัชนีความตรงทางเนื้อหาของคำถามในแต่ละมิติตั้งแต่ 0.90 เป็นต้นไป ปัญหาของ PROMPT-QoL ที่พบมากที่สุดจากการสัมภาษณ์เชิงปัญญา ได้แก่ อาสาสมัครไม่แน่ใจว่าผลกระทบต่อร่างกายและสังคมที่ได้รับเกิดจากการใช้ยาและอาการข้างเคียงของยา หรือเกิดจากโรค/อายุ/หรือการรักษาโดยวิธีอื่น พบมิติของคำถามจำนวน 2 มิติ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาต่ำกว่า 0.70 และมีมิติของคำถามจำนวน 5 มิติ ที่มีค่า person reliability ต่ำกว่า 0.80 จากข้อคำถามจำนวน 42 ข้อ พบข้อคำถามจำนวน 8 ข้อ ที่มีค่า infit mean-squares และ/หรือค่า outfit mean-squares ต่ำกว่า 0.70 หรือมากกว่า 1.30 สรุป: ข้อคำถามทุกข้อใน PROMPT-QoL ซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญมีความตรงทางเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ข้อคำถามโดยส่วนใหญ่มีความเหมาะสมของข้อคำถามสอดคล้องกับราสซ์โมเดล แต่อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพื่อทดสอบคุณสมบัติทางด้านจิตวิทยาโดยสมบูรณ์ของ PROMPT-QoL ในผู้ป่วยจำนวนมากเป็นลำดับต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeObjective: The purpose of this study was to examine the content validity and preliminary psychometric properties of the Patient-Reported Outcome Measure of Pharmaceutical Therapy for Quality of Life (PROMPT-QoL). Method: Fifteen experts rated the item relevance of the forty-three items of PROMPT-QoL for computing content validity index (CVI). Sixty outpatients using medications at least 3 months at King Chulalongkorn Memorial Hospital were included for examining the content validity and preliminary psychometric properties of PROMPT-QoL. Six rounds of the cognitive interviewing were conducted to explore the content validity of PROMPT-QoL. Classical test theory and Rasch model were used to examine the preliminary psychometric properties of PROMPT-QoL Results: All items of the PROMPT-QoL had item-CVI above 0.80. All domains provided scale-CVI above 0.90. According to the cognitive interviewing, indecision about the cause of impacts of medicines and side-effects was the most common problems of PROMPT-QoL. From nine domains, two domains had alpha coefficients less than 0.70 and five domains had person reliabilities below 0.80. Eight items out of forty-two items had infit mean-squares and/or outfit mean-squares below 0.70 or above 1.30. Conclusion: All items of the PROMPT-QoL examined by experts had good content validity. Almost all the items of PROMPT-QoL had acceptable fit to the Rasch model. Further studies in large patient groups are required to test its completed psychometric properties.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.753-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแบบสอบถาม
dc.subjectคุณภาพชีวิต
dc.subjectการวัดทางจิตวิทยา
dc.subjectการรักษาด้วยยา
dc.subjectQuestionnaires
dc.subjectQuality of life
dc.subjectPsychometrics
dc.titleการพัฒนาเครื่องมือประเมินผลลัพธ์ด้านการรักษาด้วยการใช้ยาที่ได้จากการรายงานของผู้ป่วย: คุณภาพชีวิตด้านยาen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF THE PATIENT-REPORTED OUTCOME MEASURE OF PHARMACEUTICAL THERAPY: QUALITY OF LIFE (PROMPT-QOL)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPhantipa.S@chula.ac.th,phantipa.s@pharm.chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.753-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5576220133.pdf10.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.