Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44608
Title: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง
Other Titles: FACTORS ASSOCIATED WITH ADHERENCE TO SECONDARY STROKE PREVENTIONIN STROKE SURVIVORS
Authors: จิราวรรณ วิริยะกิจไพบูลย์
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th,jchanokp@hotmail.com
Subjects: โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง -- การป้องกัน
ผู้ป่วย -- ความร่วมมือในการรักษา
Cerebrovascular disease
Cerebrovascular disease -- Prevention
Patient compliance
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วย ภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และความร่วมมือในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลร้อยเอ็ดและโรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 159 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด แบบสอบถามความรู้ แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วย แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามความร่วมมือในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง ที่แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ความร่วมมือในการรับประทานยาและความร่วมมือในการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงจากแบบประเมินได้เท่ากับ .82, .73, .72, .71, .89, .95, .91 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความร่วมมือในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองด้านการรับประทานยาและด้านการปรับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับสูง (=18.62, SD=2.75 และ = 57.09, SD=11.57 ตามลำดับ) 2. การรับรู้ประโยชน์ การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด การรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วย และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองด้านรับประทานยาของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .351, .344, .341 และ .291 ตามลำดับ) 3. การรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนทางสังคม และความรู้ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองด้านการปรับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.539, .506 และ .274 ตามลำดับ) 4. การรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการปรับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.175) 5. ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองด้านปรับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=-.368)
Other Abstract: This research aimed to investigate relationships among cognitive function, knowledge, perceived benefits, illness perception, depression, social support and secondary stroke prevention behaviors in stroke survivors. One hundred and fifty nine ischemic stroke patients were recruited using a multistage sampling technique from out-patient-departments at Roi-et Hospital and Mahasarakham Hospital. The instruments used for data collection were demographic data form, Mini-Mental State Examination, knowledge questionnaire, perceived benefits questionnaire, the brief illness perception questionnaire, Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale (CES-D), social support questionnaire and adherence to secondary stroke prevention questionnaire, consisted of two parts which were adherence to medication and adherence to health behavior modification .All of the questionnaires were tested for their content validity by a panel of experts. Internal consistency reliability for each questionnaires tested by Cronbach&rsquo;s alpha were . 82, .73, .72, .71, .89, .95, .91 and .86, respectively. Data were analyzed using means, standard deviation, and Pearson&rsquo;s production-moment correlation. The major findings were follows: 1. Stroke survivors had a high level of adherence to secondary stroke prevention in aspect of medication adherence and health behavior modification adherence ( =18.62, SD=2.75 and = 57.11, SD = 11.58). 2. Perceived benefits, cognitive function, illness perception and social support were positively correlated with adherence to medication in stroke survivors (p<.01 : r=351, .344, .341 and .291,respectively). 3. Perceived benefits, social support, and knowledge were positively correlated with adherence to health behavior modification in stroke survivors (p<.01 : r=.539, .506 and .274,respectively). 4. Illness perception was positively correlated with adherence to health behavior modification in stroke survivors (p<.05 : r=.175). 5. Depression was negatively correlated with adherence to health behavior modification (p<.01 : r=-.368).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44608
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.755
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.755
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577160336.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.