Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44611
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราพร เกศพิชญวัฒนาen_US
dc.contributor.authorปิ่นมณี สุวรรณโมสิen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:30:26Z
dc.date.available2015-08-21T09:30:26Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44611
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อความจำของผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องในชุมชน โดยใช้แนวคิดการกระตุ้นการรู้คิดของSpector (2003) ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำ (One-Group Repeated Measures) โดยทำการวัดซ้ำทั้งหมด 8 ครั้ง คือ ทำการวัดก่อนการทดลอง 1 ครั้ง ระหว่างการทดลอง 6 ครั้ง และหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 1 ครั้ง วัดแต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิงที่มีการรู้คิดบกพร่องจำนวน 25 คน ที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนอยู่รวย เขตบางเขน แขวงอนุสาวรีย์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด ดำเนินการวิจัยโดยให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิด สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 45-60 นาที เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 14 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ คู่มือดำเนินโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดสำหรับผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องและแบบบันทึกในการเข้าร่วมโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai 2002) และแบบประเมินพุทธิปัญญาฉบับภาษาไทย (The Montreal Cognitive Assessment: Thai Version)ที่แปลโดยอาจารย์ แพทย์หญิงโสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์ (2550) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measure ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ค่าเฉลี่ยคะแนนความจำภายหลังเสร็จสิ้นการเข้าร่วมโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าเฉลี่ยคะแนนความจำหลังเข้าร่วมกิจกรรมในสัปดาห์ที่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปว่าโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดเพื่อส่งเสิรมความจำสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมความจำของผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to investigate the effects of a cognitive stimulation program on the memory of older persons with mild cognitive impairment living in community. The conceptual framework for this study is based on Specto's concept (Spector, 2003). The sample was comprised of 25 older persons ( 60-80 years) living in a community in Bangkok who were selected in line with this study's inclusion criterion. The study was conducted with one sample group using a One-group Repeated Measures Design and evaluated a total of 8 times as follows : once for pre-experimental evaluation, 6 times for during the experimental evaluation and one more time for post-experimental evaluation, with a one week interval between each evaluation. The 25 older persons participated in the Cognitive Stimulation Program, designed by the researcher, for 45-60 minutes twice a week sessions over 7 weeks. The instruments used in the experiment included The "Cognitive Stimulation Program" for older persons with mild cognitive impairment. The data collection instrument was Barthel Activities of Daily Living (ADL), Mini-mental State Examination-Thai 2002 (MMSE-Thai 2002) and the Montreal Cognitive Assessment (MoCA) (2007). The instrument was tested for content validity by 5 experts with CVI = 0.95. The data were analyzed by using variance with Repeated Measures ANOVA and pairwise comparison. The research findings can be summarized as follows : The memory average scores of older persons with mild cognitive impairment who participated in The Cognitive Stimulation Program were significantly higher than prior to the experiment at the level of .01. Moreover, the mean score of memory was increased significantly at the level of .01 after participation at weeks 1, 2, 3, 4, 5, 6 and 7.In conclusion, this Cognitive Stimulation Program could be use to enhance memory in older persons with mild cognitive impairment.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.758-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความจำ
dc.subjectผู้สูงอายุ
dc.subjectการรู้คิดในผู้สูงอายุ
dc.subjectMemory
dc.subjectOlder people
dc.subjectCognition in old age
dc.subjectMild cognitive impairment
dc.titleผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อความจำของผู้สูงอายุในชุมชนที่มีการรู้คิดบกพร่องen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF COGNITIVE STIMULATION PROGRAM ON MEMORY OF COMMUNITY-DWELLING OLDER PERSONS WITH MILD COGNITIVE IMPAIRMENTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJiraporn.Ke@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.758-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577176436.pdf13.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.