Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44638
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ไตรวิจิตรคุณen_US
dc.contributor.authorอทิติยา อินแก้วen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:30:37Z-
dc.date.available2015-08-21T09:30:37Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44638-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้และมาตรวัดความฉลาดทางสุขภาวะของนักเรียน 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้ความฉลาดทางสุขภาวะของนักเรียนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลตัวบ่งชี้ความฉลาดทางสุขภาวะของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะฯ และกลุ่มไม่ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะฯ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นการศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความฉลาดทางสุขภาวะ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด 10 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และตอนที่ 2 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากนักเรียนจำนวน 702 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดความฉลาดทางสุขภาวะของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย และสถิติเชิงอ้างอิง ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวบ่งชี้ความฉลาดทางสุขภาวะ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ คือ 1) การสืบค้นข้อมูลสุขภาพ และ 2) การเลือกแหล่งข้อมูลสุขภาพ องค์ประกอบที่ 2 ความรู้ความเข้าใจข้อมูลสุขภาพ ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ความรู้ข้อมูลสุขภาพพื้นฐาน และ 2) การตีความข้อมูลสุขภาพ องค์ประกอบที่ 3 การประเมินข้อมูลสุขภาพ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ คือ 1) การตรวจสอบข้อมูลสุขภาพ 2) การวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ และ 3) การตัดสินใจใช้ข้อมูลสุขภาพ องค์ประกอบที่ 4 การนำความรู้เกี่ยวกับสุขภาพไปใช้ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ คือ 1) การวางแผนในการปฏิบัติตนเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี 2) การปฏิบัติตนเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และ 3) การปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติตนให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น และองค์ประกอบที่ 5 การสื่อสารข้อมูลสุขภาพ ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ คือ 1) การเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพ และ 2) การรณรงค์ให้ผู้อื่นเห็นความสำคัญของการปฏิบัติตนเพื่อส่งเสริมสุขภาพ 2. โมเดลตัวบ่งชี้ความฉลาดทางสุขภาวะของนักเรียนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ = 19.254, df = 21, p = .568, AGFI = .983 และ RMR = .009 3. โมเดลตัวบ่งชี้ความฉลาดทางสุขภาวะของนักเรียน มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลและน้ำหนักองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ระหว่างกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะของเด็ก เยาวชน และครอบครัว ด้วยพลังเครือข่ายทางการศึกษาและกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนที่ไม่เข้าร่วมโครงการฯ แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าน้ำหนักขององค์ประกอบหลักทุกองค์ประกอบen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to 1) develop health literacy indicators of students and develop health literacy scale of students 2) validate model health literacy indicators of students and 3) test the invariance of the model heath literacy of student between groups. The method of research was divided into two phases. The first phase focused on factors and indicators of health literacy of students by interview 10 experts participants in the field of study. Tool for the first phase is structured interviews and data analysis was done through content analysis. The second phase researcher collect data from 702 student. Tool for the second phase is health literacy scale of students. Data were analyzed by using descriptive statistics and reference statistics (means, S.D., C.V., skewness and kurtosis) and Pearson’s correlation. Second order confirmatory factor analysis and multiple group structural equation model analysis by LISREL. The result showed as follows 1. The indicators of health literacy of five factors twelve indicators ; the components of health literacy for secondary school consisted of five components twelve indicators; the first access of health information indicator are 1) search health information and 2) the selection of health information. Component 2 cognitive of health information indicators are: 1) basic health knowledge and 2) the interpretation of health information. Component 3 evaluation of health information indicators are: 1) checking health information 2) health information analysis and 3) the decision to use health information. Component 4 apply of health information indicators are: 1) planning for good health 2) practices for good health and 3) change for good health. And Component 5 communication of health information indicators are: 1) the announce of health information and 2) to campaign others for good health. 2. The health literacy indicators model of students founded that the model fit the empirical data (chi-square = 19.254, df = 21, p = .568, AGFI = .983 and RMR = .009) 3. The health literacy indicators model of students indicated invariance and factor loading of each indicators between groups, but the model indicated variance of the factor loading of access of health information, cognitive of health information, evaluation of health information, apply of health information and communication of health information.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนาตัวบ่งชี้และมาตรวัดความฉลาดทางสุขภาวะของนักเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธีen_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF INDICATORS AND HEALTH LITERACY SCALE FOR STUDENTS: MIXED METHODS RESEARCHen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDuangkamol.T@Chula.ac.th,duangkamol.t@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583837527.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.