Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44772
Title: ปัญหาทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.2546 : ศึกษากรณีสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า
Other Titles: Legal problems under the derivertives act b.e.2003 : gold futures contract
Authors: ปวีณา ชาติรังสรรค์
Advisors: ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sanunkorn.S@Chula.ac.th
Subjects: ทอง
ตลาดซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า
พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.2546
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญา
Gold
Commodity futures market
Derivatives Act B.E.2003
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าหรือโกลด์ฟิวเจอร์ เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.2546 มีบริษัทตลาด สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กำกับดูแลตามข้อบังคับและวิธีปฏิบัติของตลาด ลักษณะของสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า ได้แก่ความผูกพันระหว่างผู้เข้าทำสัญญาเพื่อมุ่งประสงค์ถึงส่วนต่างระหว่างราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือตัวแปรที่กำหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าของสินค้าหรือตัวแปรที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต มูลค่าของสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าอยู่ที่ราคาทองคำที่สัญญานั้นอ้างอิงอยู่นั่นเอง จากการศึกษาพบว่า ในประการแรกสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าไม่ใช่สัญญาซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่สามารถนำบทบัญญัติลักษณะซื้อขายมาใช้ได้ ประการที่สอง“แบบ”ของสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าเป็นสัญญามาตรฐาน แต่หากผู้เข้าสัญญาไม่ตกลงหมดทุกข้อผลคือสัญญาไม่เกิด ประการที่สาม การโอนฐานะซื้อขายสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า แม้ว่าอาจทำให้ตามหลักเสรีภาพในการทำสัญญาแต่จากการศึกษาพบว่าไม่เหมาะสมกับกลไกในตลาด ขัดกับสภาพการซื้อขาย และขัดประโยชน์ของนายหน้า ประการสุดท้าย ผลของการล้างสถานะมิได้ทำให้สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้าสิ้นสุดลงหรือเป็นการระงับของสัญญาแต่เป็นการตัดสินใจของผู้เข้าทำสัญญาเพื่อหวังผลกำไรจากการซื้อขายทองคำล่วงหน้าด้วยมองว่าณ ขณะนั้นตนถือครองสัญญามาจนราคาสินค้าที่อ้างอิงเป็นไปตามความมุ่งหมายของตนและทำให้ตนได้กำไรสูงสุดแล้ว ผู้วิจัยจึงขอเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.2546 โดยเปลี่ยนชื่อสัญญาเป็น “สัญญาคาดราคาทองคำ” และคำว่า “ผู้ซื้อ” และ “ผู้ขาย” ในพ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ เป็น “ผู้คาดราคาทองคำสูง” และ “ผู้คาดราคาทองคำต่ำ” และให้สัญญาคาดราคาทองคำ มีนิยามดังต่อไปนี้“สัญญาคาดราคาทองคำ หมายความว่า สัญญาที่กำหนดให้ผู้คาดราคาทองคำสูงหรือผู้คาดราคาทองคำต่ำได้รับชำระเงินหรือต้องชำระเงินให้แก่ผู้คาดราคาทองคำสูงหรือผู้คาดราคาทองคำต่ำเท่ากับจำนวนเงินที่คำนวณไว้จากส่วนต่างระหว่างราคาหรือมูลค่าของทองคำที่กำหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าทองคำที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตตามที่กำหนดไว้ในสัญญา”นิยามนี้นอกจากใช้กับทองคำอันเป็นประเด็นที่ศึกษาในวิทยานิพนธ์นี้แล้วก็อาจใช้กับสินค้าอ้างอิงประเภทอื่นที่ผู้วิจัยไม่ขอกล่าวถึงเนื่องจากมิได้อยู่ในขอบเขตของการศึกษาของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้
Other Abstract: A gold futures contract or a gold futures is a futures contract or derivative under the Derivatives Act B.E.2003, supervised and controlled by the Thailand Futures Exchange Public Company Limited under the exchange rules and general practice. A gold futures is a relationship between the parties on the purpose of the margin between the price or the value of assets or variable agreed in the contract and the price or the value of the same on a future date. The value of the gold futures depends on the price of the gold, the underlying asset in this case. The study finds that, firstly, a gold futures is not a sale contract under the Civil and Commercial Code thus the provisions on the sale contract cannot apply. Secondly, concerning the "form" of the gold futures, every clause needs to be agreed on or it is not traded otherwise, despite the fact that it is a standard form. Thirdly, the transfer of the futures, even if it might be in accordance with the principle of freedom of contract, the study finds that it is inappropriate for the mechanism in the market, it is against the nature of sales and against the broker interest. Finally, the closing out does not terminate the gold futures but it is the decision of a party wishing for the profit from the gold futures considering that the price of the underlying assets reaches his goal and makes him the highest profit. Therefore, the researcher would like to suggest that the Derivatives Act B.E.2546 be amended. The name of the contract should be changed from "gold future 'sale' contract" to "gold price prediction contract," the terms "buyer" and "seller" should be changed to "higher-price taker" and "lower-price taker." Such gold price prediction contract should be defined as "a contract by which the higher-price taker or the lower-price taker is entitled to receive payment or is obligated to pay the other party in the amount calculated from the margin of the price or value of gold agreed in the contract and the price or the value of the same on a future date." Apart from the gold futures, this definition can apply to other underlying asset futures that are not under the scope of this thesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44772
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1623
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1623
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paweena_ch.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.