Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44798
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูล-
dc.contributor.authorณัฐดนัย บุตรพลับ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-08-29T04:39:00Z-
dc.date.available2015-08-29T04:39:00Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44798-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจสภาพปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (2) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของครูและนักเรียนในการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และ (3) ศึกษาผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างครูและนักเรียนในการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจเพื่อสำรวจลักษณะพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต สัมภาษณ์ และเอกสารเชิงประจักษ์ และระยะที่สองใช้ระเบียบวิธีวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษาสองกลุ่มวัดสองครั้ง เพื่อศึกษากระบวนและวิเคราะห์ผลของกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วย สถิติพื้นฐาน และสถิติทดสอบ t-test independent ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียนมี 3 ด้าน ได้แก่ การไม่มีส่วนร่วมในชั้นเรียน พฤติกรรมรบกวนชั้นเรียน และขาดความรับผิดชอบต่อชั้นเรียน โดยพฤติกรรมที่พบมากที่สุด คือ (1) คุยเล่นหยอกล้อกับเพื่อนระหว่างเรียน (2) ใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อการสื่อสาร (3) เล่นเกม ฟังเพลงหรือใช้งานแอพพลิเคชันต่างๆ อาทิ facebook, โปรแกรมสนทนา (line) ฯลฯ (4) อ่านการ์ตูน อ่านหนังสือ หรือทำงานอื่นระหว่างเรียน และ (5) ขออนุญาตออกนอกห้องเรียนโดยไม่มีสาเหตุ หรือขออนุญาตออกนอกห้องเรียนเป็นเวลานานเกินความเหมาะสม ตามลำดับ 2) กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของครูและนักเรียนในการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีกระบวนการดำเนินการวิจัยแบบ PDCA มี 2 วงจรคือ (1) ผู้วิจัยกับครู โดยขั้นตอน P ผู้วิจัยกับครูร่วมกันวางแผนการดำเนินการวิจัยฯ ขั้นตอน D ครูเริ่มดำเนินการวิจัยในวงจรที่ 2 ตามแผนที่วางไว้ และผู้วิจัยเก็บข้อมูลการดำเนินการวิจัยฯของครู ขั้นตอน C ครูและผู้วิจัยตรวจสอบกระบวนการดำเนินการวิจัยฯของครู และขั้นตอน A ครูและผู้วิจัยสะท้อนผลเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินการวิจัยฯของครู (2) ครูกับนักเรียน โดยขั้นตอน P ครูกับนักเรียนร่วมกันวางแผนเพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียน ขั้นตอน D ครูและนักเรียนเริ่มดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ขั้นตอน C ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบพฤติกรรมในชั้นเรียนของนักเรียน และขั้นตอน A ครูและนักเรียนสะท้อนผลเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียน 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียนลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this participatory action research were: 1) to survey the secondary school students’ classroom undesirable behaviors; 2) to study the process of participatory action research for teachers and students in order to reduce the lower-secondary school students’ classroom undesirable behaviors; and 3) to study the effects of participatory action research in reducing the lower-secondary school students student’ classroom undesirable behaviors. This research was divided into two phases: in the first phase, a survey which explores the secondary school students’ classroom undesirable behaviors; and in the second phrase, a quasi-experimental design which consists of the pre-test and post-test design with nonequivalent group was carried out. The data was analyzed using several methods: content analysis, analytic induction, descriptive statistic and t-test independent. The research findings were summarized as follows: 1) The most classroom undesirable behaviors include the following: (1) talking and playing (2) using mobile phones (3) playing games and listening to music on mobile phones game (4) reading comics or doing other work in class and (5) leaving the classrooms without any reason, the students’ classroom undesirable behaviors can be divided into three categories, i.e, class non-participation; class disruption; and class irresponsibility. 2) This participatory action research employed two Plan-Do-Check-Act (PDCA) cycles which involve the following participants; (1) Researcher – Teachers: step P, researcher and teachers jointly plan of research process. Step D, started research in cycle 2 as planned and researcher collected information on the research of teachers. Step C, teachers and researcher monitoring the implementation process PAR of teachers. and step A, teacher and researcher reflect on the PAR of teachers. (2) Teachers – Students: step P, teachers and students together a plan to reduce students’ classroom undesirable behaviors. Step D, teachers and students begin as planned. Step C, teachers and students together determine students’ behaviors in classroom. and step A, teachers and students reflect on the students’ classroom behavior. 3) The experimental group with lower classroom undesirable behaviors lower than that of the control group was statistically significant at .05 after receiving the PDCA treatment.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1627-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษาen_US
dc.subjectการจัดการชั้นเรียนen_US
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนen_US
dc.subjectAction research in educationen_US
dc.subjectClassroom managementen_US
dc.subjectTeacher-student relationshipsen_US
dc.titleการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของครูและนักเรียนในการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในชั้นเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น : การวิจัยกรณีศึกษาen_US
dc.title.alternativeParticipatory action research of teacher and students for reducing students’ classroom undesirable behaviors of lower-secondary school students : a case study researchen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAuyporn.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1627-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natdanai_bu.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.