Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45079
Title: การนำเสนอคู่มือการฝึกซ้อมการบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อพัฒนาทักษะการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ด้วยแซ็กโซโฟนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: A proposed practicing manual for playing the music of his majesty The King Bhumibol Adulyadej to develop saxophone playing skills of secondary school students
Authors: วรินธร สีเสียดงาม
Advisors: ดนีญา อุทัยสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Dneya.U@Chula.ac.th
Subjects: แซกโซโฟน
การแสดงดนตรี
เพลงพระราชนิพนธ์
Saxophone
Music -- Performance
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ และการจัดเรียงลำดับความยากง่ายของการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ด้วยอัลโตแซ็กโซโฟน ของบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทั้งหมด 49 ทำนองเพลง 2) เพื่อนำเสนอคู่มือการฝึกซ้อมการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สำหรับการพัฒนาทักษะการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ด้วยอัลโตแซ็กโซโฟนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบวิเคราะห์ลักษณะของบทเพลงพระราชนิพนธ์ 2) แบบวิเคราะห์หลักการบรรเลง อัลโตแซ็กโซโฟนทางกายภาพ วิเคราะห์ข้อมูลจากการวิเคราะห์บทเพลงพระราชนิพนธ์โดย สถิติเชิงบรรยาย และรายละเอียดเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์การจัดเรียงความยากง่ายประกอบไปด้วย 2 ลักษณะ คือ ลักษณะของบทเพลงพระราชนิพนธ์ พบว่า ทำนองที่มีความยากที่สุดทั้งด้านทำนอง และด้านจังหวะ คือ เมนูไข่ ส่วนทำนองที่ง่ายที่สุด คือ เราเหล่า-ราบ21 และลักษณะการบรรเลงอัลโตแซ็กโซโฟนทางกายภาพ พบว่า ทำนองที่มีความยากที่สุดคือ พระมหามงคล ส่วนทำนองที่มีความง่ายที่สุด คือ เมนูไข่ 2) คู่มือการฝึกซ้อมการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์เพื่อพัฒนาทักษะการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ด้วยอัลโตแซ็กโซโฟน ประกอบไปด้วย คำชี้แจงในการใช้คู่มือ เนื้อหาสาระที่จำเป็นสำหรับการสอนและการฝึกทักษะการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ด้วยอัลโตแซ็กโซโฟน การวัดและการประเมินผล และแหล่งข้อมูล
Other Abstract: The objectives of this research were to analyze 1) the order of difficulty for playing the music of his majesty THE KING BHUMIBOL ADULYADEJ for alto saxophone playing skills and 2) proposed practicing manual for playing the music of his majesty KING BHUMIBOL ADULYADEJ to develop alto saxophone playing skills of secondary school students. Content Analysis was the major research methodology. The research tools were two analysis form; musical analysis form and physical analysis form. Descriptive statistic and qualitative details were presented in the research result. The findings were: 1) Analyzing the order of difficulty found there were two styles. First, musical characteristic (melody and meter) found Menu Kai to be the most difficult composition and Infantry Regiment 21 was found to be the easiest. Secondly, physical performing characteristics found Pra Maha Mongkon to be the most difficult music and Menu Kai was found to be the easiest. 2) A practicing manual for playing the music of his majesty KING BHUMIBOL ADULYADEJ to develop for alto saxophone playing skills consisted of an explanation for using the manual, content, teaching methods of alto saxophone playing skills, measurement and assessment, and reference.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดนตรีศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45079
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.106
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.106
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
warinthorn_si.pdf44.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.