Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45159
Title: การศึกษาอัตลักษณ์และกระบวนการถ่ายทอดการขับร้องเพลงทยอยของครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์
Other Titles: A study of characteristics and transmission process in Surang Duriyapan of Thai traditional singing,‘Thayoi’
Authors: ณัฐพล นาคะเต
Advisors: ณรุทธ์ สุทธจิตต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Narutt.S@Chula.ac.th
Subjects: สุรางค์ ดุริยพันธุ์
อัตลักษณ์
การร้องเพลง
เพลงไทย
Surang Duriyapan
Identity (Philosophical concept)
Singing
Songs, Thai
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์อัตลักษณ์การขับร้องเพลงทยอยของครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์ 2) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดการขับร้องเพลงทยอยของครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตีความ สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย และนำเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. อัตลักษณ์การขับร้องเพลงทยอยของครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์ สามารถสรุปได้ดังนี้ ประการแรก คือ การเอื้อนที่มีความละเอียดลออ มีการเน้นหนัก-เบา เพื่อทำให้เกิดความงามและความไพเราะในการขับร้อง ประการที่ 2 เน้นการหายใจที่ถูกต้องตามวรรคตอน ตรงตำแหน่งที่ควร ซึ่งเป็นผลทำให้ขับร้องได้อย่างราบรื่นและมีความต่อเนื่อง ประการที่ 3 มีการใช้เม็ดพรายที่มีกลวิธีเฉพาะที่ท่านสืบสานมาจากคุณครูแช่มช้อย ดุริยพันธุ์เป็นส่วนมาก และมีการใช้ไหวพริบ ปฏิภาณ ในการประดับประดาการเอื้อนทำนอง เนื้อร้องให้มีความละเอียดได้หลากหลายรูปแบบตามสำเนียงนั้น ๆ ประการสุดท้าย คือ คุณภาพเสียงที่เป็นอัตลักษณ์ของท่าน ซึ่งมีพลังเสียงที่กังวาน และมีกระแสเสียงที่ไพเราะ เน้นการเปล่งเสียงที่ชัดเจน และมีการใส่อารมณ์ความรู้สึกของบทร้องหรือตัวละครในขณะที่ขับร้องทุกครั้ง ซึ่งทำให้เกิดความซาบซึ้งในการฟัง 2. กระบวนการถ่ายทอดการขับร้องเพลงทยอยของครูสุรางค์ ดุริยพันธุ์ สามารถแบ่งได้ 5 ขั้นตอน คือ 1) การพิจารณาทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทร้องหรือบทประพันธ์ก่อน 2) คำนึงการสื่ออารมณ์ความรู้สึกตาม บทร้องให้เหมาะสมกับบทเพลง 3) คำนึงถึงระยะช่องไฟในการหายใจให้ถูกต้องตามวรรคตอน 4) เพิ่มลีลาในการขับร้องเข้าไปทั้งในเสียงเอื้อนทำนองและการผันเสียงของคำร้องให้มีความวิจิตรงดงาม 5) ผู้ขับร้องจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของทฤษฎีและความหมายของศัพท์สังคีตที่เป็นองค์ประกอบของการขับร้องเพลงไทย
Other Abstract: The purposes of this qualitative research were to 1) analyze the characteristics of Surang Duriyapan’s singing of Thayoi, a traditional Thai song, and 2) investigate her transmission process in her singing. The data were collected through literature review and in-depth interviews and were analyzed through interpretation and analysis induction. The data were presented in descriptive form. It was found that 1. Four major characteristics were found in the identity of her singing this song. Firstly, the perfect combination of the rhythm and the word stress patterns that she put in the song, creating beautiful singing. Secondly, the appropriate pause made her singing smooth. Thirdly, the implementation of her unique singing techniques, most of which were passed on from Chamchoi Duriyapan, created various singing styles. Lastly, her unique voice quality which was sweet and powerful deeply moved the audience. 2. Surang Duriyapan’s transmission process involved 5 steps: 1) gaining insight into the song before the performance, 2) applying appropriate feelings to the song, 3) applying appropriate pauses, 4) applying special singing techniques to enliven the song and 5) gaining knowledge about traditional Thai music theory and its terminologies.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดนตรีศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45159
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.22
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.22
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nattapol_na.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.