Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45385
Title: การสร้างสรรค์จิตรกรรมรูปลักษณ์ของมนุษย์ ในผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยของไทย
Other Titles: THE CREATION OF CONTEMPORARY FIGURATIVE PAINTING IN THAILAND
Authors: เด่นพงษ์ วงศาโรจน์
Advisors: ประพล คำจิ่ม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Prapon.K@Chula.ac.th,kumjim@gmail.com
Subjects: จิตรกรรมรูปลักษณ์ -- ไทย
บริบทนิยม
การสร้างสรรค์ (วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ)
Figurative painting -- Thailand
Contextualism (Philosophy)
Creation (Literary, artistic, etc.)
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเพื่อการสร้างสรรค์จิตรกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยที่อาศัยรูปลักษณ์ของมนุษย์เป็นสื่อหลักในการแสดงออก โดยการพิจารณาถึงบริบทแวดล้อมตลอดจนการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ที่มีต่อร่างกายมนุษย์ เพื่อเป้าหมายในการนำมาพัฒนาการสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยในแนวทางของผู้ศึกษาวิจัย เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ทางวิชาการและผลงานสร้างสรรค์ที่มีคุณค่าทางศิลปะ ผู้ศึกษาวิจัยได้นำเอาแนวคิดของทฤษฎีบริบทนิยม การอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ในแบบสัญวิทยา ตลอดจนบริบทที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกด้วยร่างกายของมนุษย์ในด้านต่างๆ มาเพื่อพิจารณาตัวอย่างผลงานจิตรกรรมที่แสดงออกด้วยรูปลักษณ์มนุษย์ของศิลปินต่างชาติและศิลปินไทยที่มีชื่อเสียง ผลการวิจัยได้นำไปสู่การพัฒนาการสร้างสรรค์จิตรกรรมที่สะท้อนเรื่องราวสังคม ความคิด อารมณ์ความรู้สึกของผู้ศึกษาวิจัยที่มีต่อบริบทแวดล้อมในปัจจุบัน ด้วยการใช้รูปลักษณ์ของมนุษย์เป็นสื่อสัญลักษณ์ที่สำคัญในการแสดงออก
Other Abstract: This creative painting research aims to study contemporary painting creation which refers to the appearance of humans as same as the main medium of expression. To consider surrounding contexts including symbolic expression to human body, they are focused on the development of contemporary painting creativity in the way of researcher which can be the cause of academic knowledge and creative artwork with artistic value. In relation to the research's theories, the researcher has applied the concept of contextualism and semiology to explain the meaning of symbols, and including contexts which are about the expression of the human body in ways of painting consideration. Moreover, these theories are used for considering the painting example which expresses the appearance of figurative by famous foreign and Thai artists. As a consequence, the research results in the development of painting creativity that reflects social stories, thoughts, emotions, and feelings of research on many contexts in the present using important human symbols.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45385
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.895
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.895
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5286806335.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.