Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45462
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตน์ศิริ ทาโตen_US
dc.contributor.authorสิทธิศักดิ์ เครือพิมายen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:02:12Z-
dc.date.available2015-09-17T04:02:12Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45462-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ในนักศึกษาชายรักชาย ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV กับความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ในนักศึกษาชายรักชาย และ ศึกษาอำนาจในการทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ในนักศึกษาชายรักชายของปัจจัยทัศนคติต่อการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชายรักชายที่มีอายุระหว่าง 18 – 26 ปี จำนวน 259 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบส่งต่อ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติต่อการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV แบบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV แบบสอบถามการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV และแบบวัดความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV และนำไปหาค่าความเที่ยง ได้เท่ากับ .81, .91, .84 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเข้าพร้อมกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักศึกษาชายรักชาย มีความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.10 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.33 2. ทัศนคติต่อการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อHPV การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ในนักศึกษาชายรักชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .40, .44 และ .66 ตามลำดับ) 3. ทัศนคติต่อการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ของนักศึกษาชายรักชายได้ร้อยละ 43.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทัศนคติต่อการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV (Beta = .109) และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV (Beta = .578) เป็นปัจจัยทำนายที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to identify significant predictors of intention to take human papillomavirus vaccine among men who have sex with men students from attitude toward human papillomavirus vaccine, subjective norms and perceived behavioral control. The participants were 259 students selected from public universities and private universities through snowballing sampling technique. The instruments were demographic data form, the attitude toward human papillomavirus vaccine questionnaire, the subjective norm questionnaire, the perceived behavioral control questionnaire, and the intention to take human papillomavirus vaccine questionnaire. All of the questionnaires were assessed for content validity by a panel of experts. Their Content Validity Index were 1.00, 1.00, .90, and .80, respectively. Their Cronbach's alpha coefficients were 81, .91, .84, and .86, respectively. Data were analyzed using Pearson’s product moment correlation and multiple regressions. The research findings can be summarized as follow: 1. The mean score of intention to take human papillomavirus vaccine was at medium level ( x = 18.10, SD = 3.33). 2. Attitudes toward human papillomavirus vaccine, subjective norms, and perceived behavioral control were significantly and positively related to intention to take human papillomavirus vaccine (r = .40, .44, and .66, p < .05, respectively). 3. Attitudes toward human papillomavirus vaccine, subjective norms, and perceived behavioral control explained 43.7 % of the variance in intention to take human papillomavirus vaccine among men who have sex with men students. Attitudes toward human papillomavirus vaccine (Beta = .109) and perceived behavioral control (Beta = .578) were significant predictors of intention to take human papillomavirus vaccine (p < .05). However, subjective norm was not a significant predictor.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.930-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแปปิลโลมาไวรัส
dc.subjectวัคซีนแปปิลโลมาไวรัส
dc.subjectเกย์
dc.subjectกามโรค -- การป้องกันและควบคุม
dc.subjectPapillomaviruses
dc.subjectPapillomavirus vaccines
dc.subjectGays
dc.subjectSexually transmitted diseases -- Prevention and control
dc.titleปัจจัยทำนายความตั้งใจในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ในนักศึกษาชายรักชายen_US
dc.title.alternativeFACTORS PREDICTING INTENTION TO TAKE HUMAN PAPILLOMAVIRUS VACCINE AMONG MEN WHO HAVE SEX WITH MEN STUDENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRatsiri.T@chula.ac.th,ratsiri99@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.930-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477195236.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.