Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45489
Title: รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานสายอาชีพท่องเที่ยวในประชาคมอาเซียน
Other Titles: A MODEL OF GRADUATES' EMPLOYABILITY ATTRIBUTES DEVELOPMENT FOR TOURISM PROFESSIONALS IN ASEAN COMMUNITY
Authors: ธนาศิริ ชะระอ่ำ
Advisors: ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ
สุกัญญา โฆวิไลกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sornnate.A@Chula.ac.th
sukanya.k@chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- กลุ่มประเทศอาเซียน
สมรรถนะ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาอาชีพ
Tourism -- ASEAN countries
Performance
Human resources development
Career development
Employability
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวโน้มด้านทรัพยากรบุคคลในสาขาการท่องเที่ยวของไทยและต่างประเทศ วิเคราะห์และประเมินแนวโน้มคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานสายอาชีพท่องเที่ยวในประชาคมอาเซียน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวจำนวน 5 คน (2) ผู้บริหารในสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 9 คน (3) ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว จำนวน 20 คน (4) ผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจท่องเที่ยวจำนวน 413 คน และ (5) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการอุดมศึกษาจำนวน 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์สาระ การวิเคราะห์ความต้องการเรียนรู้ และสถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันและแนวโน้มด้านทรัพยากรบุคคลในสาขาการท่องเที่ยว พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบต่อวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและตลาดแรงงานไทยมากที่สุด คือ การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นผลจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยผลกระทบเชิงบวก คือ การจ้างงานประชากรภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น ภาวะการแข่งขันทำให้แรงงานต้องเร่งพัฒนาทักษะ และฝีมือในการทำงาน และ โอกาสของแรงงานที่จะได้รับค่าจ้างสูงขึ้น ส่วนผลกระทบในเชิงลบ คือ ปัญหาสมองไหลออกนอกประเทศ ทำให้ต้องจ้างแรงงานต่างด้าวราคาถูกเข้ามาทำงานในประเทศเพิ่มขึ้น และปัญหาข้อจำกัดด้านทักษะภาษาอังกฤษของแรงงานไทย ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับแรงงานต่างชาติได้ 2. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาการท่องเที่ยวตามทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว พบว่า มี 5 รายการ ประกอบด้วย รักการบริการและรักการเดินทางท่องเที่ยว ปรับตัวได้ดีและเป็นนักแก้ปัญหาในทุกสถานการณ์ ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นำเที่ยว เป็นนักวางแผนเส้นทางการนำเที่ยวและเป็นนักประสานงาน และเป็นนักการสื่อสารที่ดี รักการอธิบาย บรรยายความรู้ต่างๆ 3. คุณลักษณะที่นิสิตนักศึกษาสาขาการท่องเที่ยวของไทยควรได้รับการพัฒนาตามทัศนะของผู้ประกอบการ พบว่า มี 9 รายการ ประกอบด้วย ความรู้ภาษาอาเซียน ทักษะการจัดการอารมณ์และความโกรธ การบริหารเวลา ทักษะภาษาอังกฤษ ความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว การคิดเป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผล การทำงานอย่างมีกลยุทธ์ ความอดทนต่อสภาวะตึงเครียด และการรับผิดชอบต่อความผิดพลาดในงาน 4. การดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาด้านการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพให้กับบัณฑิตสาขาการท่องเที่ยว พบว่า สถาบันอุดมศึกษาสามารถสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอกและผู้ประกอบการ เพื่อการจัดหาแหล่งฝึกประสบการณ์ให้กับนิสิตนักศึกษาได้ดีมาก แต่ควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้มีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตบัณฑิตในด้านอื่นๆให้มากขึ้น เช่น ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการประเมินคุณภาพบัณฑิต 5. รายวิชาในหลักสูตรท่องเที่ยวที่สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้มากที่สุดตามทัศนะของผู้ปฏิบัติงานในธุรกิจนำเที่ยว พบว่า มี 2 รายวิชา คือ วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานบริการ และวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอในธุรกิจการท่องเที่ยว 6. คุณลักษณะที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานสายอาชีพท่องเที่ยว พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ (WISE Model) เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ ลักษณะการทำงาน (W) คุณภาพส่วนบุคคล (I) ทักษะเพื่อการปฏิบัติงาน (S) และบุคลิกผู้มีการศึกษา (E) (ค่าเฉลี่ยองค์ประกอบ 4.28, 4.18, 4.10 และ 4.05 ตามลำดับ) ซึ่งประกอบด้วย 48 รายการคุณลักษณะ 7. รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานสายอาชีพท่องเที่ยวในประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 7.1) คุณลักษณะที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานสายอาชีพท่องเที่ยว 4 องค์ประกอบ (WISE Model) 7.2) กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะ 3 ด้าน คือ การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน การพัฒนานิสิตนักศึกษา และการฝึกประสบการณ์ 7.3) การจัดการเรียนรู้ 3 มิติ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตและอาชีพ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงกับการทำงาน 7.4) การประเมินการเรียนรู้ด้วยผลงานการพัฒนาคุณลักษณะส่วนบุคคล (PAD Profiles) 3 ส่วน คือ ข้อมูลพัฒนาการวิชาชีพ ข้อมูลคุณภาพส่วนบุคคล และข้อมูลประสบการณ์ปฏิบัติงาน
Other Abstract: This research aims to study the current situations and trends of human resources in tourism both in Thailand and other countries, analyze and assess the trend of desirable attributes for tourism professionals, and propose a model of graduates’ employability attributes development for tourism professionals in ASEAN community. Employability framework and CareerEDGE model are used in conducting the component analysis of employability attribute for tourism. Data for the research are collected from the following sample groups: (1) 5 tourism experts who are responsible for tourism policy and planning; (2) 9 university executives who are responsible for employability development of students especially in tourism; (3) 20 entrepreneurs of authorized travel agencies; (4) 413 tourism professionals who are working with travel agencies; and (5) 14 specialists who are administrators and experts in the tourism attribute development for university students and new graduates. Data analysis and learning need analysis are done in the first part of this student, and later statistical analysis using frequency, percentage, means, and standard deviation are applied to define key components of employability attributes. The research results are as follows: 1. The current situations and trends of human resources in tourism: Factors, affecting the competitiveness of Thailand tourism industry the most, are the liberalization of trade and services and the free movement of labor within ASEAN region as a result from ASEAN Economic Community. On one hand, the positive effects are the increase of local labor employment, the need for Thai labors to develop and improve their skills, and the possibility of increasing wage rate. On the other hands, the negative effects are the outflow of local skilled labors, the massive inflow of immigrant labors, and the comparative disadvantage of Thai labor regarding English skills and proficiency. 2. Desirable attributes of tourism graduate: According to the opinion of tourism experts, there are 5 attributes that are important for tourism graduate which are (a) Having service mind and be passionate about travelling (b) Being flexible, capable of self-adjustment and problem solving (c) Enthusiasm about learning and searching information on tourist destinations (d) Capable of planning and organizing travel programs and (e) Being a good communicator who loves explaining and elaborating on places and things. 3. Areas for improvement of Thai tourism graduate’s attributes: According to the opinion of tourism entrepreneurs, there are 9 attributes that are considered to be the weak points of Thai tourism graduate which are (a) ASEAN language knowledge (b) Emotions and anger management skills (c) Time management (d) English skills (e) Knowledge of tourist destinations (f) Systematic and logical thinking (g) Strategic working (h) Stress tolerant and (i) Responsibility taking for mistakes in work. 4. The administrations of higher education institutes regarding occupational preparation for tourism graduates: According to the opinion of tourism entrepreneurs, universities are performing well on building the network and relationship with business units and enterprises in order to arrange work placement and internship for their tourism students. However, much can be improved by allowing business sector to work more closely with university in delivering and developing tourism curriculum. 5. Learning need analysis: According to the opinion of tourism professionals who are working in travel agencies, there are 2 subjects in the tourism curriculum that are most needed for tourism students which are (a) English for Communication in Hospitality Industry and (b) English for Presentation in Tourism business. 6. Graduates’ employability attributes for tourism professionals: There are 4 key components (WISE Model) which are (a) Working characteristics: W (b) Individual quality: I (c) Skills for working: S and (d) Educated personality: E (Component mean value 4.28, 4.18, 4.10, and 4.05 accordingly) 7. Graduates’ employability attributes development model for tourism professionals in ASEAN community: There are (a) 4 components of WISE Model (b) Attribute development strategies (c) Learning arrangement according to the Learning ladder and (d) Learning assessment using the Personal Attribute Development Profiles (PAD Profiles).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45489
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.945
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.945
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5484212327.pdf12.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.