Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/454
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัญญา โฆวิไลกูล-
dc.contributor.advisorสำราญ มีแจ้ง-
dc.contributor.authorผ่องลักษม์ จิตต์การุญ, 2493--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-22T09:42:20Z-
dc.date.available2006-06-22T09:42:20Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745315567-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/454-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ที่ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดลักษณะ การคิดวิจารณญาณตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ และเพื่อวิเคราะห์ลักษณะการคิดวิจารณญาณตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำแนกตามเพศ สาขาวิชา และชั้นปี ประชากรที่ทำการศึกษา ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ภาคปกติ ปีการศึกษา 2547 จำนวน 800 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในงานวิจัย คือ "แบบวัดลักษณะการคิดวิจารณญาณตามหลักโยนิโสมนสิการ" ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 11.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่ม (t-test Independent), การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (two-way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ได้แบบวัดลักษณะการคิดวิจารณญาณตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏที่เป็นปรนัย จำนวน 40 ข้อคำถาม คำถามละ 3 ตัวเลือก ค่าความเที่ยงใช้วิธีการหาสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ .7980 2. ได้ผลการวิเคราะห์ลักษณะการคิดวิจารณญาณของนักศึกษา ดังนี้ 2.1 ลักษณะการคิดวิจารณญาณตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามในภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และลักษณะการคิดรายด้านก็อยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน เมื่อพิจารณาแยกเป็นสาขาวิชานักศึกษ๋าสาขาวิชาครุศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีลักษณะการคิดอยู่ในระดับมากใกล้เคียงกัน ซึ่งสูงกว่าลักษณะการคิดของนักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจกับนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศาสตร์ที่มีลักษณะการคิดอยู่ในระดับปานกลางใกล้เคียงกัน 2.2 นักศึกษาชายมีลักษณะการคิดวิจารณญาณตามหลักโยนิโสมนสิการแตกต่างกับนักศึกษาหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยของลักษณะการคิดของนักศึกษาหญิงสูงกว่านักศึกษาชาย 2.3 นักศึกษาสาขาวิชาครุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ และสาขาวิชาศิลปศาสตร์ มีลักษณะการคิดวิจารณญาณตามหลักโยนิโสมนสิการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาสาขาวิชาครุศาสตร์แตกต่างจากนักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจ และสาขาวิชาศิลปศาสตร์ และนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์แตกต่างจากนักศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจและสาขาวิชาศิลปศาสตร์ 2.4 นักศึกษาทุกชั้นปีมีลักษณะการคิดวิจารณญาณตามหลักโยนิโสมนสิการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยลักษณะการคิดของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 3 2.5 นักศึกษาทุกสาขาวิชาและทุกชั้นปีมีลักษณะการคิดวิจารณญาณตามหลักโยนิโสมนสิการด้านการคิดมีเหตุผลอยู่ในระดับต่ำกว่าลักษณะการคิดด้านอื่น ๆ 2.6 มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างสาขาวิชาและชั้นปีที่ส่งผลต่อลักษณะการคิดวิจารณญาณตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThis study was a descriptive research study the main method of which was quantitative. The purposes of the research were to develop a test for critical thinking characteristics according to Yonisomanasikara principles of Rajabhat University Students and to analyzes critical thinking characteristics according to Buddhistic Yonisomanasikara principles of Pibulsongkram Rajabhat University students classified by gender, field of study and year of study. The population was 5,653 Pibulsongkram Rajabhat students of 2004 academic year, 800 students were sampled by stratified random sampling method. Tools was "Critical Thinking Characteristics of Rajabhat University students according to Yonisomanasikara Principles Test" developed in this study. The SPSS Program version 11.5 was used for statistical analysis which were [Mean], S.D., frequency, percent, t-test (Independent), one-way and two-way ANOVA. The major firdings were as follows: 1. "Critical Thinking Characteristics according to Yonisomanasikara Principles Test" was developed and there are 40 objectives situational questionnaires with one question and three choices for each. The reliability of this test estimated by Cronbach's Alpha coefficient was .7980. 2. The main results in analyzing Pibulsongkram Rajabhat University students' critical thinking characteristics according to Yonisomanasikara Principles were : 2.1 Most students’ critical thinking characteristics considered for all or separated aspects were in the middle level. The Scientific and Educational students' critical thinking were in the same high level, higher than both Business and Artistic students'. 2.2 Male and female students' critical thinking characteristics were different at .05 level of significance, and female students' mean was higher. 2.3 Educational, Scientific, Business and Artistic critical thinking were different at .05 level of significance which Educational students' were different from Business and Artistic students' while Scientific students' were different from Business and Artistic students. 2.4 Students in every year of study were different at .05 level of significance which the second year's characteristics were higher than the first's and the third's. 2.5 Students in every field and year of study were at least rational. 2.6 There was an interaction between field of study and year of study upon students' critical thinking characteristics according to Yonisomanasikara principles at .05 level of significance. Department Educational Policy, Management and Leadership Student's signature.en
dc.format.extent4861159 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1501-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม--นักศึกษาen
dc.subjectความคิดอย่างมีวิจารณญาณen
dc.subjectโยนิโสมนสิการen
dc.titleการสืบสอบลักษณะการคิดวิจารณญาณตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏen
dc.title.alternativeAn inquiry into critical thinking characteristics according to Yonisomanasikara principles of Rajabhat University studentsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาเอกen
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSukanya.K@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.1501-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phongluck.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.